หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-5-023ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163  นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายความรู้และทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคนิคเบื้องต้น เพื่อผลิตผ้าถักจากแนวคิดการออกแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1012301 ตรวจสอบเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตผ้าถัก 1 ทดสอบงานสิ่งทอเพื่อพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าถัก 1012301.01 72320
1012301 ตรวจสอบเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตผ้าถัก 2 จับคู่เทคนิคที่มีประสิทธิภาพ เข้ากับแนวคิดงานสิ่งทอ 1012301.02 72321
1012301 ตรวจสอบเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตผ้าถัก 3 ใช้เทคนิคที่แตกต่างในการผลิตผ้าถักเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย 1012301.03 72322
1012302 ทบทวนผลงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก 1 วิเคราะห์ผลงานสิ่งทอเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก 1012302.01 72323
1012302 ทบทวนผลงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก 2. บันทึกสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิคการผลิตผ้าถักต่อไปในอนาคต 1012302.02 72324
1012302 ทบทวนผลงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก 3 พิจารณาข้อติชมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อระบุสิ่งที่ควรปรับปรุง 1012302.03 72325

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบสิ่งทอ

2. ปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตผ้าถัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้เกี่ยวกับการทดสอบเส้นใย ผ้าถัก และผ้า

2. รู้เทคนิคเพื่อการผลิตผ้าถัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์เทคนิคการสร้างผ้าถักต้นแบบ และการระบุขั้นตอนและเทคนิคการผลิตผ้าถักต้นแบบ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการตรวจสอบเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตผ้าถัก และ การทบทวนผลงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกใช้เทคนิคการผลิตผ้าถัก

     (ก) คำแนะนำ

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับสมบัติผ้าถักและขั้นตอนการผลิตผ้าถักเพื่อวิเคราะห์และกำหนดขั้นตอนการผลิตผ้าถักตัวอย่าง ตามข้อมูลการออกแบบ และทำการทดสอบผ้าถักตัวอย่างที่ทดลองผลิตขึ้น

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. เทคนิคการผลิตผ้าถัก อาทิเช่น การผลิตผ้าถักแนวนอน การผลิตผ้าถักแนวดิ่ง เป็นต้น

          2. ขั้นตอนการผลิตผ้าถัก อาทิเช่น การขึ้นผ้าใหม่สำหรับต่อผ้าบนเครื่องถัก  การร้อยเส้นด้าย  การป้อนเส้นด้าย  การเชื่อมต่อหัวผ้า  การเปิดสวิทช์เครื่องถัก  การปรับวัดความตึงเส้นด้าย  การตั้งรอบม้วนผ้า เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ