หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงคุณภาพผ้าทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-5-061ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงคุณภาพผ้าทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ รวมถึงการเลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ และการทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030701 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 1. ระบุปัญหาของผ้าทอจากข้อมูลที่รับ 1030701.01 72627
1030701 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 2. ระบุแนวทางการแก้ปัญหาการปรับปรุงผ้าทอ 1030701.02 72628
1030701 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 3. รายงานผลแนวทางในการปรับปรุงผ้าทอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1030701.03 72629
1030702 เลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 1. เตรียมวัตถุดิบให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตผ้าทอ 1030702.01 72630
1030702 เลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 2. เตรียมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตผ้าทอ 1030702.02 72631
1030702 เลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ 3. ใช้เทคนิคให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตผ้าทอ 1030702.03 72632
1030703 ทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 1. ระบุตัวอย่างทดสอบของผ้าทอตามขั้นตอนในการทดสอบ 1030703.01 72633
1030703 ทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 2. ประเมินคุณภาพของผ้าทอตัวอย่างที่ทดสอบโดยเทียบกับผลการปรับปรุง 1030703.02 72634
1030703 ทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 3. รายงานผลการทดสอบการปรับปรุงผ้าทอเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1030703.03 72635

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ

2. ทักษะการจัดทำข้อมูลเพื่อบันทึกข้อบกพร่องของผ้าสิ่งทอ

3. ทักษะการประเมินแนวทางการแก้ปัญหา

4. ปฏิบัติการทดสอบผ้าทอต้นแบบตามขั้นตอนในการทดสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้ข้อกำหนดมาตรฐานของผ้าทอ

2. รู้กระบวนการทดสอบผ้าทอเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ รวมถึงการเลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ และการทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ

(ง) วิธีการประเมิน

                   พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ  เลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอ และ ทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกผ้าทอตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผ้าทอได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถทดสอบผ้าทอตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ข้อบกพร่องของผ้าทอ ผ้าทอที่บกพร่องหรือมีตำหนิ จะมีสาเหตุมาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย ความบกพร่องจากคุณภาพของผ้าทอ และความบกพร่องจากสมบัติ   ผ้าทอ  

                              1.1 ความบกพร่องจากคุณภาพของผ้าทอ หมายถึง ความบกพร่องของผ้าทอที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต อาทิเช่น

                                        - ความบกพร่องจากการลงแป้ง

                                        - ความบกพร่องจากด้ายยืน

                                        - ความบกพร่องจากด้ายพุ่ง

                                        - ความบกพร่องจากการทอ

                              1.2 ความบกพร่องจากสมบัติของผ้าทอ หมายถึง ความบกพร่องที่เกิดขึ้นจาก สมบัติของผ้าทอไม่ตรงกับพฤติกรรมที่ต้องการในการใช้งาน เช่น ผ้าที่จะใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุนต้องเลือกเส้นใยที่มีความแข็งแรงสูงอันดับแรก ต่อมาเลือกดูโครงสร้างเส้นด้ายที่จะช่วยเพามความแข็งแรงให้เส้นด้ายมากขึ้น และเลือกโครงสร้างผ้าที่เหมาะสม ให้สามารถทนแรงที่ลูกกระสุนทะลุทะลวงผ้าได้ดี รับแรงกระแทกต่อผืนผ้าได้ดี มีการยุบตัวของผ้าต่ำ ในทางตรงกันข้าม หากเลือกเส้นใยถูกต้อง ที่มีความแข็งแรงสูง แต่ถ้าโครงสร้างเส้นด้าย และผ้าไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ผ้าชนิดนั้นมีสมบัติด้อยลงจากเดิมได้

                    2. การทดสอบสิ่งทอ หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพของผ้าทอตามมาตรฐานการทดสอบสากล อาทิเช่น ISO ASTM USTER ที่สอดคล้องกับคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการของแต่ละสถานประกอบการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ