หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-3-038ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8152 ผู้ควบคุมเครื่องจักรทอผ้าและเครื่องจักรนิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ  การลำดับแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ และ การดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1021501 ควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 1 เลือกใช้เทคนิคในการผลิตผ้าทอให้สอดคล้องกับสมบัติของผ้าทอชนิดพิเศษที่กำหนด 1021501.01 72442
1021501 ควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 2 ระบุขั้นตอนการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษตามใบสั่งผลิต 1021501.02 72443
1021501 ควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 3 ระบุวัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 1021501.03 72444
1021501 ควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 4. ระบุเครื่องจักรในการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ ได้สอดคล้องกับข้อมูลจำเพาะของงานผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 1021501.04 72445
1021502 ดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 1.เลือกเครื่องจักรในการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษเพื่อสะดวกในการใช้งาน 1021502.01 72446
1021502 ดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 2. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรก่อนการใช้งาน 1021502.02 72447
1021502 ดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 3 ตั้งค่าเครื่องจักรผลิตผ้าทอชนิดพิเศษได้สอดคล้องกับข้อมูลจำเพาะของงาน 1021502.03 72448
1021502 ดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 4. ใช้อุปกรณ์เสริมตามใบสั่งผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ 1021502.04 72449

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ปฏิบัติการตรวจสอบการทำงานตามใบสั่งผลิต

2.ปฏิบัติการเตรียมอุปกรณ์เสริมตามคู่มือการใช้งานเครื่องจักรผลิตผ้าทอ

3.ปฏิบัติการประเมินงานตามมาตรฐานคุณภาพข้อกำหนดด้านการผลิตผ้าทอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการทดสอบ ทีมีอิทธิพลในการผลิตผ้าทอ

2. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ

3. เทคนิคเพื่อการผลิตผ้าทอ

4. กำหนดการผลิตผ้าทอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ รวมถึงการลำดับแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ และ การดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ  การลำดับแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ และ การดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถลำดับแผนงานการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถดำเนินการผลิตผ้าทอชนิดพิเศษได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ผ้าทอชนิดพิเศษ หมายถึง ผ้าทอที่มีการนำนวัตกรรม เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งในส่วนของวัตถุดิบและเทคนิคการผลิต อาทิเช่น การเติมสารพิเศษ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับผ้าทอ หรือผ้าทอลายแจ็คการ์ด (jacquard) ผ้าด็อบบี้ (dobby) อาทิเช่น

                    - ผ้าที่ต้องการความพองฟูนุ่มต่อการสัมผัส

เป็นผ้าฝ้ายทอชนิดพิเศษที่ต้องการความนุ่มนวลต่อการสัมผัสสูง เหมาะสำหรับตัดเย็บทำเครื่องนอนหรือชุดผ้าสำหรับเด็กอ่อน ผ้าที่ทอมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูงเพราะใช้เทคนิคพิเศษในการเตรียมก่อนและหลังการทอผ้า ลักษณะพิเศษในโครงสร้างคือจะได้ผ้าทอด้วยเส้นด้ายใยฝ้ายที่ไม่มีเกลียว เป็นลักษณะของเส้นใยฝ้ายขัดกันอยู่ในโครงสร้างผ้าทอ ตามภาพ ที่แสดงโครงสร้างของผ้าทอพิเศษ(ซ้าย)เปรียบเทียบกับผ้าทอปกติ(ขวา)





 



                    - ผ้าทอขน (Pile Fabric) เป็นผ้าทอที่ทอด้วยลายขัดหรือลายทแยง โดยเพิ่มเส้นด้ายชุดพิเศษสำหรับทอให้เกิดเป็นขนหรือเป็นห่วงบนผืนผ้า

                    - ผ้าสองชั้น (Double Fabric) คือผ้าที่ทอเป็นผ้าสองชั้นในครั้งเดียวกัน จะเป็นชนิดที่มีด้ายยืน 1 ชุด ด้ายพุ่ง 2 ชุด หรือ ด้ายยืน 2 ชุด ด้ายพุ่ง 1 ชุด เป็นต้น

                    2. เทคนิคในการผลิตผ้าทอ หมายถึง การใช้เครื่องจักรทอผ้าที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย เครื่องทอกระสวย เป็นเครื่องทอผ้าที่ใช้หลอดกระสวยเป็นตัวส่งเส้นด้ายพุ่ง และเครื่องทอไร้กระสวย

                    - เครื่องทอผ้าที่ใช้หลอดกระสวยเป็นตัวส่งเส้นด้ายพุ่ง อาทิเช่น เครื่องทอที่ใช้ระบบลูกเบี้ยว  ระบบด๊อบบี้ ระบบแจ๊คการ์ด เป็นต้น

                    - เครื่องทอไร้กระสวย ประกอบด้วย เครื่องทอไร้กระสวยระบบของแข็ง และ เครื่องทอไร้กระสวยระบบของไหล

                    - เครื่องทอไร้กระสวยระบบของแข็ง อาทิเช่น เครื่องทอระบบเรเปียร์ เครื่องทอระบบกระสุน เป็นต้น

                    - เครื่องทอไร้กระสวยระบบของไหล อาทิเช่น เครื่องทอระบบแอร์เจ็ต เครื่องทอระบบวอเตอร์เจ็ต เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสัมภาษณ์

18.3 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ