หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพการทำงานของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-5-034ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพการทำงานของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ในการควบคุมคุณภาพการทำงานของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน โดยการเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน และควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1021101 เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 1. ระบุเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อนได้ถูกต้องตามคุณสมบัติของเส้นด้ายที่จะทำการผลิต 1021101.01 72409
1021101 เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 2. ตรวจสอบความพร้อมก่อนการใช้งานของเครื่องจักรได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนดขององค์กร 1021101.02 72410
1021101 เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 3. จำแนกความเสี่ยงในการใช้งานเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อนได้ถูกต้องตามข้อจำกัดและหลักการการใช้เครื่องจักรแต่ละประเภท 1021101.03 72411
1021102 ควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนดขององค์กร 1021102.01 72412
1021102 ควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 2. ควบคุมบุคลากรผู้ใช้งานเครื่องจักรได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดขององค์กร 1021102.02 72413
1021102 ควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 3. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรได้ถูกต้องตามหลักการใช้เครื่องจักรแต่ละประเภท 1021102.03 72414
1021102 ควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน 4. แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรได้ถูกต้องหลักการการใช้เครื่องจักรแต่ละประเภท 1021102.04 72415

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ปฏิบัติการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรผลิตเส้นด้าย

2.ปฏิบัติการตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์เส้นด้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

เทคนิคเพื่อการผลิตเส้นด้าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                   1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                   ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน และ การควบคุมการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน

 (ง) วิธีการประเมิน

                   พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน และควบคุมการใช้งานเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน

          (ก) คำแนะนำ

                   1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อนได้

                   2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมการใช้งานเครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อนได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                   1. เครื่องจักรสำหรับการผลิตเส้นด้ายที่ซับซ้อน หมายถึง เครื่อง Ring Spinning ที่มีการ

                       ดัดแปลง (modify) และเครื่องจักรที่ผลิตโดยเฉพาะ

                             - เครื่อง Ring Spinning ที่มีการดัดแปลง อาทิเช่น

                   การดัดแปลงเพื่อการผลิต Slub Yarn มีการติดตั้งอุปกรณ์ในการควบคุมความเร็วของ back roller ให้มีความเร็วที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะได้เป็นเส้นด้ายที่ไม่สม่ำเสมอ

                   การดัดแปลงเพื่อการผลิต Core Yarn มีการติดตั้งอุปกรณ์ในการป้อน Spandex เพื่อเป็นแกนกลางของเส้นด้าย ผลผลิตเส้นด้ายจะมีความยืดหยุ่นสูง เป็นต้น

                             - เครื่องจักรที่ผลิตโดยเฉพาะ ผลผลิตที่ได้ คือ Texture Yarn ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเส้นด้ายจำพวก Polyester’ Filament อาทิเช่น

                   P-DTY – Draw Texturised Yarn 100% Polyester

                   P-POY – Partially Oriented Yarn 100% Polyester

                   P-FDY – Filament Yarn 100% Polyester

                   P-HTY – High Tenacity Yarn 100% Polyester เป็นต้น

                   2. มาตรฐาน USTER คือ มาตรฐานที่ใช้ในการกำหนดข้อมูลจำเพาะของเส้นใยและเส้นด้าย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ