หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-066ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตกล้าปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันและการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สมบูรณ์ โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ประวัติ คุณลักษณะของสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี เมล็ดงอกที่มีลักษณะสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ ขั้นตอนการผลิตและแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ถูกต้อง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน และมีทักษะระดับฝีมือ มีเทคนิคในการปฎิบัติงาน ได้แก่ สามารถเลือกใช้วิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีมาตราฐาน สามารถจำแนกและคัดเลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ได้ ตลอดจนสามารถเลือกและระบุลักษณะบรรจุภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ที่ดีได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25352) พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 1. อธิบายประวัติคุณลักษณะของสายพันธุ์ และที่มาของแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ P111.01 70026
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 2. มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 P111.02 70027
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3. มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ได้ P111.03 70028
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 4. บอกที่มาของแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พรัอมทั้งระบุขั้นตอนการผลิตได้ P111.04 70029
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 5. คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ที่มีมาตรฐาน P111.05 70030
P111 คัดเลือกแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 6. ระบุลักษณะของบรรจุภัณฑ์ของเมล็ดพันธุ์ที่ดีได้ P111.06 70031
P112 คัดเลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์ 1.อธิบายเมล็ดงอกที่มีลักษณะสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ได้ P112.01 70032
P112 คัดเลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์ 2. จำแนกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ได้ P112.02 70033
P112 คัดเลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์ 3. เลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ P112.03 70034

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


              1) มีทักษะในการจำแนกยอดและรากเพื่อลดความเสียหายในขั้นตอนของการปลูก




              2) มีทักษะในการแยกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ได้




              3) มีทักษะในการเลือกเมล็ดงอกที่สมบูรณ์ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


              1) มีความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ แหล่งที่มา สายพันธุ์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์




              2) มีความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์




              3) มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของเมล็ดงอก




              4) มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ดี




              5) มีความรู้เกี่ยวกับ พรบ. กักพืช




              6) หลักฐานวุฒิการศึกษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน




              2) หนังสือรับรองคุณวุฒิ/เอกสารการผ่านการอบรม (ไทย, ต่างประเทศ)




              3) ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมทางด้านพันธุ์พืช/พรบ. ที่เกี่ยวข้อง




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




              1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)




              2) หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์




              3) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน




              4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน



              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ อาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน



              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด



          (ง) วิธีการประเมิน



              1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง



              2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

              1) บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม คือ บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเมล็ดปาล์มน้ำมันสามารถลดการเสียหายของเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เมล็ดช้ำ หรือลดการเสียหายจากการขนส่ง ซึ่งบรรจุภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรง น้ำหนักเบา เช่น กล่องโฟม



              2) เมล็ดงอกที่สมบูรณ์ คือ เมล็ดที่มีการเจริญเติบโตในส่วนของรากและตาชัดเจน ซึ่งเมล็ดงอกที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบของเมล็ดที่สำคัญ 4 ส่วน คือ ส่วนยอด (plumule) ส่วนราก (radicle) ส่วนสะสมอาหารเพื่อการเจริญเติบโตในระยะแรกของต้น (endosperm หรือ kernel) และส่วนกะลา (shell) ซึ่งส่วนยอดและรากที่จะเจริญเติบโตต่อไปจะเชื่อมติดกับส่วนสะสมอาหารในช่วง 10 สัปดาห์แรกของการพัฒนา ถ้าส่วนดังกล่าวหลุดออกจากกันจะทำให้ต้นกล้าตายได้ หลังจากเมล็ดเริ่มงอก จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ระยะการพัฒนาที่เหมาะสมต่อการนำเมล็ดงอกลงปลูก คือระยะ 10 - 14 วัน หลังจากเริ่มงอก



              3) เมล็ดงอกที่ไม่สมบูรณ์ คือ เมล็ดที่มีการเจริญเติบโตในส่วนของรากและตาผิดปกติ โดยเมล็ดมีส่วนยอด (plumule) ส่วนราก (radicle) ส่วนสะสมอาหารเพื่อการเจริญเติบโตในระยะแรกของต้น (endosperm หรือ kernel) และส่วนกะลา (shell) ไม่ครบ หรือเมล็ดอาจมีความผิดปกติทางพันธุ์กรรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2. แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3. แบบการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน/สถานการณ์จำลองโดยการดูวีดีโอ




          4. รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ