หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก (pre-nursery)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-067ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก (pre-nursery)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตกล้าปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันตลอดจนการวางระบบน้ำสำหรับโรงเรือน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักพื้นฐานเกี่ยวกับ การออกแบบโรงเรือนที่ถูกต้อง การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมและวัสดุที่ดีสำหรับการสร้างโรงเรือน ปัจจัยที่จำเป็นในการสร้างโรงเรือน และมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันที่ดี และมีทักษะกึ่งฝีมือ ได้แก่ สามารถคิด ดัดแปลง และเลือกใช้วิธีการสร้างโรงเรือนได้อย่างเหมาะสม สามารถเลือกและติดตั้งอุปกรณ์ระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าสำหรับปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก (Pre-nursery) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
P121 ออกแบบโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 1. ออกแบบโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน P121.01 70035
P121 ออกแบบโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 2. ระบุปัจจัยที่จำเป็นในการสร้างโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน P121.02 70036
P121 ออกแบบโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 3. เลือกพื้นที่สร้างโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน P121.03 70037
P121 ออกแบบโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 4. เลือกวัสดุสำหรับสร้างโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน P121.04 70038
P122 สร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก 1. อธิบายลักษณะของโรงเรือนที่ดีสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก P122.01 70039
P122 สร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก 2. อธิบายลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงเรือน P122.02 70040
P122 สร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก 3. สร้างโรงเรือนตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ P122.03 70041
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 1. มีความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำภายในโรงเรือนแต่ละแบบ P123.01 70042
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 2. เลือกระบบน้ำที่เหมาะสมของแต่ละโรงเรือนได้ P123.02 70043
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 3. ออกแบบระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน P123.03 70044
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 4. เลือกอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือน P123.04 70045
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 5. ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมันได้ P123.05 70046
P123 ติดตั้งระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน 6. ตรวจสอบระบบน้ำในโรงเรือนเพาะกล้าปาล์มน้ำมันหลังการติดตั้ง P123.06 70047

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


              1) มีทักษะในการออกแบบเบื้องต้น




              2) มีทักษะในการคำนวณเบื้องต้น




              3) มีทักษะในการสร้างโรงเรือน




              4) มีทักษะในการติดตั้งระบบน้ำภายในโรงเรือน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


              1) มีความรู้ในเรื่องการสร้างโรงเรือน




              2) มีความรู้ในเรื่องการเลือกพื้นที่สร้างโรงเรือน




              3) มีความรู้ในการเลือกวัสดุสำหรับสร้างโรงเรือน




              4) มีความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำภายในโรงเรือน




              5) มีความรู้ในการเลือกระบบน้ำที่เหมาะสม




              6) มีความรู้ในการตรวจสอบระบบน้ำภายในโรงเรือน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




         (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน




              2) หนังสือรับรองคุณวุฒิ/เอกสารการผ่านการอบรม (ไทย, ต่างประเทศ)




              3) ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมทางด้านพันธุ์พืช/พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่เกี่ยวข้อง




         (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




              1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)




              2) หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์




              3) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน




              4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




         (ค) คำแนะนำในการประเมิน



              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน



              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ อาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน



              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด


15. ขอบเขต (Range Statement)

              1) โรงเรือนสำหรับเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน สำหรับวางกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก (Pre-nursery) มีการก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่เหมาะสมและหาได้ในท้องถิ่น รวมทั้งมีทำเลที่ตั้งที่ดี มีการให้น้ำและดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ



              2) ระบบให้น้ำ ระบบให้น้ำนับเป็นหัวใจสำคัญของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มาก ดังนั้นการบริหารจัดการระบบน้ำที่ถูกต้อง จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากปริมาณน้ำไม่สัมพันธ์กับความต้องการและการจัดการระบบน้ำที่ดียังช่วยไม่ให้พืชขาดน้ำในหน้าแล้ง ประหยัดแรงงานและเวลา ทำให้ได้คุณภาพและปริมาณของผลผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งระบบการให้น้ำในระยะอนุบาลแรกมี 2 แบบ คือ ระบบ mini sprinkler และระบบให้คนรดน้ำ



              3) การให้น้ำกล้าปาล์มน้ำมันในระยะอนุบาลแรก (Pre-nursery) คือ การให้น้ำกับต้นกล้าปาล์มน้ำมันซึ่งในระยะอนุบาลแรกต้นกล้าปาล์มน้ำมันต้องการน้ำ 0.20-0.30 ลิตรต่อต้นต่อวัน หรือประมาณ 125 ลิตรต่อ 500 ต้นต่อวัน ควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น ถ้ามีปริมาณฝนตกมากกว่า 10 มิลลิลิตร สามารถงดการให้น้ำในวันที่ฝนตกได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงานหรือสถานการณ์จำลองโดยการดูวีดีโอ




          4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ