หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินลักษณะดินที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราและวินิจฉัยสถานะธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-053ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินลักษณะดินที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราและวินิจฉัยสถานะธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินลักษณะดินที่เหมาะในการปลูกยางและสถานะธาตุอาหารที่ยางต้องการ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะดินที่เหมาะในการปลูกยาง ได้แก่ กลุ่มดินร่วนเหนียว กลุ่มดินร่วนทราย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุที่ยางต้องการ รวมทั้งสามารถสังเกตอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพาราจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          - พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A211 ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ 1. อธิบายลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา A211.01 69632
A211 ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ 2. ประเมินเลือกพื้นที่ที่มีเนื้อดินที่เหมาะสมในการปลูกยางได้เป็นอย่างดี A211.02 69633
A211 ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ 3. ระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางพาราต้องการ A211.03 69634
A212 สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา 1. อธิบายลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา A212.01 69635
A212 สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา 2. อธิบายลักษณะอาการความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา A212.02 69636
A212 สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา 3. สังเกตและวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา A212.03 69637
A212 สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา 4. สังเกตและวินิจฉัยความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา A212.04 69638

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการประเมินและเลือกพื้นที่ที่มีเนื้อดินที่เหมาะสมในการปลูกยาง




2) มีทักษะในการสังเกตและวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา




3) มีทักษะในการสังเกตและวินิจฉัยความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมกับการปลูกยาง




2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารที่ยางต้องการ




3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) แฟ้มสะสมงาน




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




                    1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมกับการปลูกยาง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารที่ยางต้องการและการสังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางเพื่อวิเคราะห์การขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหาร โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้




                    2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 






  • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง





  • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง





  • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง






          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) การสอบข้อเขียน




                    2) การสอบสัมภาษณ์




                    3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ 




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ