หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างระบบและกระบวนการคุณภาพ

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-ZZZ-6-051ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างระบบและกระบวนการคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

2149 วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเทคโนโลยีไฟฟ้า) ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

- วิศวกรชีวการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการสร้างกระบวนการและระบบคุณภาพของการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและงานบำรุงรักษา ซึ่งจะรวมถึงการมีส่วนร่วมในการรักษาและการปรับปรุงคุณภาพในการทำงาน ช่วยในการวางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ การรายงานปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพและดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3030401 สร้างข้อกำหนดคุณภาพและผลลัพธ์สำหรับการให้บริการ 1.1 ระบุการจัดการการให้บริการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ระบุความต้องการ และระบุมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ 3030401.01 69216
3030401 สร้างข้อกำหนดคุณภาพและผลลัพธ์สำหรับการให้บริการ 1.2 พัฒนาข้อกำหนดด้านคุณภาพ 3030401.02 69217
3030401 สร้างข้อกำหนดคุณภาพและผลลัพธ์สำหรับการให้บริการ 1.3 ปรับปรุงข้อกำหนดคุณภาพเมื่อมีความจำเป็น 3030401.03 69218
3030402 ระบุจุดอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (บริหารความเสี่ยง) 2.1 ระบุจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม(Critical Control Point) ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ 3030402.01 69219
3030402 ระบุจุดอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (บริหารความเสี่ยง) 2.2 กำหนดระดับความเสี่ยงสำหรับแต่ละอันตราย 3030402.02 69220
3030402 ระบุจุดอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (บริหารความเสี่ยง) 2.3 จัดทำเอกสารตามขั้นตอนที่มีคุณภาพขององค์กร 3030402.03 69221
3030403 วางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ 3.1 วางแนวทางการประกันคุณภาพ 3030403.01 69222
3030403 วางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ 3.2 วางแนวทางการจัดการความเสี่ยง 3030403.02 69223
3030403 วางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ 3.3 กำหนดตัวชี้วัด 3030403.03 69224
3030403 วางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ 3.4 พัฒนากระบวนการในการประกันคุณภาพ 3030403.04 69225
3030404 ดำเนินงานตามระบบคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ 4.1 กำหนดความรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการตามขั้นตอนให้แก่เจ้าหน้าที่ 3030404.01 69226
3030404 ดำเนินงานตามระบบคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ 4.2 นำข้อกำหนดคุณภาพและการประกันคุณภาพมาดำเนินการตามโปรแกรมการประกันคุณภาพขององค์กร 3030404.02 69227
3030404 ดำเนินงานตามระบบคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ 4.3 สื่อสาร/ฝึกอบรม เกี่ยวกับนโยบายการประกันคุณภาพ 3030404.03 69228
3030405 ตรวจติดตามคุณภาพของผลลัพธ์ (Outcome) ของงาน 5.1 ระบุข้อกำหนดคุณภาพ 3030405.01 69229
3030405 ตรวจติดตามคุณภาพของผลลัพธ์ (Outcome) ของงาน 5.2 ตรวจสอบปัจจัยขาเข้าเพื่อยืนยันความสามารถในการตอบสนองข้อกำหนดคุณภาพ 3030405.02 69230
3030405 ตรวจติดตามคุณภาพของผลลัพธ์ (Outcome) ของงาน 5.3 ดำเนินการทำงานเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ 3030405.03 69231
3030405 ตรวจติดตามคุณภาพของผลลัพธ์ (Outcome) ของงาน 5.4 ตรวจสอบกระบวนการทำงานเพื่อยืนยันคุณภาพของระบบบริการ 3030405.04 69232
3030405 ตรวจติดตามคุณภาพของผลลัพธ์ (Outcome) ของงาน 5.5 ปรับกระบวนการเพื่อรักษาผลลัพธ์ให้อยู่ในข้อกำหนด 3030405.05 69233
3030406 กำกับดูแลและการปรับปรุงคุณภาพงาน 6.1 กำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดคุณภาพ 3030406.01 69234
3030406 กำกับดูแลและการปรับปรุงคุณภาพงาน 6.2 ระบุและรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตภัณฑ์ และ/หรือ บริการที่ไม่สอดคล้อง ตามข้อกำหนดการรายงานสถานที่ทำงาน 3030406.02 69235
3030406 กำกับดูแลและการปรับปรุงคุณภาพงาน 6.3 นำการดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในระดับที่รับผิดชอบเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพ 3030406.03 69236
3030406 กำกับดูแลและการปรับปรุงคุณภาพงาน 6.4 พิจารณาปัญหาคุณภาพร่วมกับบุคลากรที่ได้รับมอบหมาย 3030406.04 69237
3030407 รายงานปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ 7.1 ระบุปัญหาคุณภาพที่มีอยู่ 3030407.01 69238
3030407 รายงานปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ 7.2 ระบุกรณีของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพจากข้อกำหนดหรือจากคำแนะนำในการทำงาน 3030407.02 69239
3030407 รายงานปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ 7.3 รายงานการเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บังคับบัญชาระดับสูง 3030407.03 69240

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการตรวจสอบคุณภาพของการทำงาน

- ทักษะการมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและการปรับปรุงคุณภาพของการทำงาน

- ทักษะการระบุอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการบริหารจัดการการให้บริการ

อุปกรณ์ชีวการแพทย์และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ชีวการแพทย์

- ทักษะการให้ความช่วยเหลือในการวางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ

- ทักษะการรายงานปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพ

- ทักษะการดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล

- การบริหารจัดการการให้บริการอุปกรณ์ชีวการแพทย์และวิธีการประกันคุณภาพการบำรุงรักษา

- การเข้าถึงและการใช้ระบบการจัดการการเก็บและรักษาระเบียนที่ถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คําแนะนํา

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข้อกำหนดความปลอดภัย (Safty requirement)

- สภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัยในการใช้วัสดุ

- ขั้นตอนความปลอดภัยสำหรับการจัดการการให้บริการและงานบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

- การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

- สภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัยในการใช้วัสดุตามข้อกำหนดความปลอดภัยที่ออกแบบไว้สำหรับงาน

- นโยบาย ระเบียบ กฎหมาย กฎและวิธีการ สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

- การสัมภาษณ์/การตอบคำถามปากเปล่า/การสอบข้อเขียน

- การสังเกต/การสาธิต

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ใน

- การตรวจสอบคุณภาพของการทำงาน

- การสร้างกระบวนงานที่มีคุณภาพสำหรับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ชีวการแพทย์

- มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและการปรับปรุงคุณภาพในการทำงาน

- ระบุอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการบริหารจัดการการให้บริการอุปกรณ์

ชีวการแพทย์และคุณภาพของงานบำรุงรักษา

- ให้ความช่วยเหลือในการวางแผนขั้นตอนการประกันคุณภาพ

- รายงานปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพ

- การดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพ



ยินดีต้อนรับ