หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SOL-5-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ชั้น 5 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยต้องมีทักษะการเลือกใช้อุปกรณ์ตามความเหมาะสมตามแบบ การอ่านและการวิเคราะห์แบบ ซึ่งต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ความรู้ทางไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ เพื่อออกแบบระบบให้ได้ตามการประเมิน สามารถเลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม และกำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง1) กระทรวงมหาดไทย- พระราชบัญญัติการผังเมือง- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร- อื่น ๆ2) กระทรวงอุตสาหกรรม- พระราชบัญญัติกรมโรงงาน- อื่น ๆ3) กระทรวงพลังงาน- พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน- พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน- อื่น ๆ4.) พระราชบัญญัติวิศวกร10.2 ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP)1) ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก ที่เข้าข่ายต้องได้ รับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า10.3 ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง1) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย2) ระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขออนุญาตเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า3) ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV20131 ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน 1.1 ทบทวนความต้องการของลูกค้า หรือโครงการ PV20131.01 68602
PV20131 ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน 1.2 เลือกภาระไฟฟ้าที่เหมาะสม PV20131.02 68603
PV20131 ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน 1.3 กำหนดพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน PV20131.03 68604
PV20131 ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน 1.4 กำหนดการสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ PV20131.04 68605
PV20131 ออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน 1.5 การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ PV20131.05 68606
PV20132 เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 2.1 เลือกระบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานของโครงการ PV20132.01 68607
PV20132 เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 2.2 เลือกชนิดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ PV20132.02 68608
PV20132 เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 2.3 เลือกอินเวอร์เตอร์ ให้เหมาะสมกับระบบ PV20132.03 68609
PV20132 เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 2.4 เลือกแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับระบบ PV20132.04 68610
PV20132 เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 2.5 เลือกเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ให้เหมาะสมกับระบบ PV20132.05 68611
PV20133 กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม 3.1 ทบทวนพื้นที่สำหรับการติดตั้งโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ประกอบ PV20133.01 68612
PV20133 กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม 3.2 ทบทวนแหล่งรับ-จ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า (กฟภ. กฟน. และ กฟผ.) PV20133.02 68613
PV20133 กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม 3.3 กำหนดตำแหน่งการวางโครงสร้างรองรับและแผงเซลล์แสงอาทิตย์อย่างเหมาะสม PV20133.03 68614
PV20133 กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม 3.4 กำหนดตำแหน่งการวางอุปกรณ์ประกอบ อุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันระบบอย่างเหมาะสม PV20133.04 68615
PV20133 กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม 3.5 กำหนดตำแหน่งการเชื่อมต่อระบบทั้งหมดอย่างเหมาะสม PV20133.05 68616

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะด้านวิศวกรรมไฟฟ้า :




1.1 การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์




1.2 การใช้โปรแกรมในการออกแบบ หรือ สร้างแบบจำลอง




1.3 การเลือกใช้อุปกรณ์ตามความเหมาะสมตามแบบ




1.4 การอ่านและการวิเคราะห์แบบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา :




1.1 การเลือกใช้ฐานราก




1.2 ถนนและแนวรั้วของโครงการ




1.3 ระบบน้ำเพื่อใช้ในการทำความสะอาดภายใน




2. ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า :




2.1 ความรู้ทางไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ




2.2 ระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์




2.3 ระบบจ่ายไฟฟ้าแรงสูง




2.4 ระบบตรวจวัด




2.5 การทำงานของระบบ




2.6 ส่วนประกอบของชุดโครงสร้างจับยึดแผงเซลล์แสงอาทิตย์




2.7 อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบ




2.8 ข้อมูลแหล่งรับ-จ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า (กฟภ. กฟน. และ กฟผ.)




2.9 การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา และแบบติดตั้งบนพื้นดิน)




2.10 การคำนวณหาระยะห่างระหว่างแถว




2.11 การเลือกใช้และจัดวางตำแหน่งอินเวอร์เตอร์




3. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง :




3.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินแบบผลึกซิลิคอน




– คุณลักษณะการออกแบบและการรับรอง มอก. 1843 หรือ IEC 61215 3.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงภาคพื้นดิน แบบฟิล์มบาง




– คุณลักษณะการออกแบบและการรับรองแบบ มอก. 2210 หรือ IEC 61646 3.3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 61727 3.4 อื่น ๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ




2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ




3. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ




4. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน 




      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 




1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ 




2. หลักฐานการศึกษา หรือ




3. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ




4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ




5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือ 




6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน 




 (ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมิน การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน




1) ข้อสอบข้อเขียนวัดความรู้ เช่น การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน




2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ตามการประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมิน เลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม 




1) ข้อสอบข้อเขียนวัดความรู้ เช่น การเลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม




2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการเลือกระบบและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม




18.3 เครื่องมือประเมิน กำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม




1) ข้อสอบข้อเขียนวัดความรู้ เช่น การกำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม




2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการกำหนดตำแหน่งระบบและอุปกรณ์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม




หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



ยินดีต้อนรับ