หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมระบบกันสะเทือนรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-ZZZ-3-124ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมระบบกันสะเทือนรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างซ่อมระบบส่วนควบรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
100111 เปลี่ยนชุดแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 1.1 ติดตั้งแหนบรองรับได้ตำแหน่งตามคู่มือซ่อม 100111.01 67299
100111 เปลี่ยนชุดแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 1.2 ติดตั้งชุดยึดหูแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 100111.02 67300
100111 เปลี่ยนชุดแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 1.3 ติดตั้งบู๊ทยางพร้อมสลักยึดได้ตามคู่มือซ่อม 100111.03 67301
100111 เปลี่ยนชุดแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 1.4 ตรวจสอบและทดสอบการทำงานของระบบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 100111.04 67302
100111 เปลี่ยนชุดแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 1.5 ปฏิบัติตามคู่มือซ่อมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 100111.05 67303
100112 ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 2.1 วางเสื้อเพลาได้ตรงตำแหน่งตามคู่มือซ่อม 100112.01 67304
100112 ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 2.2 ขันยึดเสื้อเพลาได้ตามคู่มือซ่อม 100112.02 67305
100112 ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 2.3 ตรวจสอบและทดสอบความตึงของเสื้อเพลาได้ตามคู่มือซ่อม 100112.03 67306
100112 ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 2.4 ปรับตั้งขาหม้อลมเบรคพร้อมต่อสายลมได้ตามคู่มือซ่อม 100112.04 67307
100112 ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับได้ตามคู่มือซ่อม 2.5 ปฏิบัติตามคู่มือซ่อมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 100112.05 67308

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบกันสะเทือนของรถบัสและรถบรรทุกและการใช้เครื่องมือในการถอดประกอบและความปลอดภัยในการทำงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    การซ่อมเปลี่ยนระบบรองรับพร้อมการตรวจสอบและการใช้เครื่องมือในการถอดประกอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    ชิ้นส่วนและการทำงานพร้อมทั้งการประกอบและการตรวจสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

        3. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์ หรือ

        3. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ติดตั้งแหนบ ชุดยึดหูแหนบ บู๊ทยาง วางเสื้อเพลา ขันยึดเสื้อเพลา ความตึงของเสื้อเพลา หม้อลมเบรกพร้อมต่อสายลม

    (ก) คำแนะนำ

        ขณะใส่บู๊ท หูแหนบ ต้องระวังรอยกระแทกบริเวณขอบบู๊ท และต้องมีการหล่อลื่นบู๊ทเสมอทุกครั้ง และต้องใช้เครื่องมือต่อบู๊ทเท่านั้น การต่อสายลมเบรกต้องระวังเรื่องการพับงอ

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        สายลมเบรกชนิดที่ต้องใช้ตาไก่ ต้องตรวจสอบตำแหน่งตาไก่ ต้องมีสายยางโพล่ออกมา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน เปลี่ยนชุดแหนบรองรับรถบรรทุกและรถบัส

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ พร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตั้งเสื้อเพลาเข้ากับแหนบรองรับรถบรรทุกและรถบัส

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ พร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ