หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย
สาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | RAI-MAI-4-040ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ทุกอาชีพในอุตสาหกรรมระบบราง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานในที่อับอากาศ การกรอกเอกสารแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การทำความสะอาดและการออกจากพื้นที่ โดยเป็นไปตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
1323 ผู้จัดการด้านการก่อสร้าง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 2) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 1) บอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ | 00003.1.01 | 66548 |
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 2) ระบุขีดความสามารถของร่างกายตนเองว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่ | 00003.1.02 | 66549 |
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 3) จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทำงานในที่อับอากาศได้เหมาะสมและเพียงพอ | 00003.1.03 | 66550 |
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 4) ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาได้ | 00003.1.04 | 66551 |
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 5) ตรวจสอบ/ทดสอบไฟฟ้า แสงสว่าง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย | 00003.1.05 | 66552 |
00003.1 เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 6) ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงาน | 00003.1.06 | 66553 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 1) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มขออนุญาตปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | 00003.2.01 | 66554 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 2) ระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนดได้ | 00003.2.02 | 66555 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 3) ปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ตามขั้นตอนที่ระบุในใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด | 00003.2.03 | 66556 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 4) ระบุวิธีการสื่อสาร/การให้สัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างการปฏิบัติงานได้ | 00003.2.04 | 66557 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 5) บอกวิธีอพยพออกจากที่อับอากาศในทันทีเมื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณ | 00003.2.05 | 66558 |
00003.2 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | 6) บอกวิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายในระหว่างการปฏิบัติงานได้ | 00003.2.06 | 66559 |
00003.3 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ | 1) อธิบายวิธีใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในที่อับอากาศได้ | 00003.3.01 | 66560 |
00003.3 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ | 2) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศได้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่ | 00003.3.02 | 66561 |
00003.3 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ | 3) จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธี | 00003.3.03 | 66562 |
00003.4 ดำเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน | 1) ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมทุกครั้งก่อนออกจากพื้นที่การปฏิบัติงาน | 00003.4.01 | 66563 |
00003.4 ดำเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน | 2) ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาได้ | 00003.4.02 | 66564 |
00003.4 ดำเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน | 3) แจ้งผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาทันทีที่งานเสร็จสมบูรณ์ | 00003.4.03 | 66565 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก1) การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (ก2) การตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ (ก3) การให้สัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือ (ก4) การดับเพลิงขั้นต้น (ก5) การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องตน (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข1) ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานระบบรางขั้นพื้นฐาน (ข2) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (ข3) ความหมาย ชนิด ประเภทและอันตรายในที่อับอากาศ (ข4) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (ข5) วิธีปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (ข6) อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (ข7) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาต (ข8) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (ข9) เทคนิคการระบายอากาศ (ข10) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้ วิธีการประเมิน - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น - การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น ให้พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ และมีทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัว ปลอดภัย และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) ขอบเขตของงาน: - ก่อนปฏิบัติงานต้องขออนุญาตปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ตามแบบฟอร์มขออนุญาตให้ทำงานในสถานที่อับอากาศ - ต้องตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมี ฝุ่นละออง ไอ ฟูม ค่า LEL ของสารเคมีต่างๆ ให้ค่าต่างๆ อยู่ภายใต้เกณฑ์ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะปฏิบัติงาน และบันทึกลงในแบบฟอร์มแบบตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน - ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา - ตรวจสอบ/ทดสอบไฟฟ้า แสงสว่าง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนเข้าไปปฏิบัติงาน - ตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน - ห้ามปฏิบัติงานตามลำพังคนเดียว ต้องมีผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง และผู้ควบคุมงาน คอยสังเกตและตรวจสอบการทำงานอยู่ตลอดเวลา - หากอากาศมีการถ่ายเทไม่เหมาะสม ควรใช้พัดลมเป่าช่วยระบายอากาศขณะปฏิบัติงาน - ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมงานทุกครั้งทั้งก่อนและหลังปฏิบัติงาน - หลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้วทุกครั้ง ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา - หากเครื่องช่วยหายใจ (SCBA) ถูกนำไปใช้งานจนอากาศภายในถังหมดแล้วหรือเหลือน้อยกว่าที่จะนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ ให้ทำการแยกออกจากจุดเก็บหรือติดป้ายบ่งชี้ว่า “ถังเก็บอากาศหมดแล้ว รอส่งไปเติม” - ให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ (ข2) สภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น: - ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ปฏิบัติงาน - สภาพโครงสร้าง - ภัยภิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น (ข3) เอกสาร/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง เช่น: - แบบฟอร์มใบอนุญาตให้ทำงานในสถานที่อับอากาศ - แบบฟอร์มตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน (ข4) อุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ/อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล: - เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) - เชือกนิรภัย - หมวกนิรภัย - แว่นตานิรภัย - Ear Plugs/Ear Muffs - ถุงมือ - รองเท้านิรภัย (ข5) ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง: - คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ - คู่มือความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ - คำแนะนำด้านเทคนิค - คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน - เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1 เครื่องมือประเมินการเตรียมก่อนการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ 1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) 2. เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ 1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) 3. เครื่องมือประเมินการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ 1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) 4. เครื่องมือประเมินการดำเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
|