หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-MAI-4-038ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ทุกอาชีพในอุตสาหกรรมระบบราง


1 3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การดำเนินการขอเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง การดำเนินการออกจากพื้นที่หลังจากเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง โดยให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง และกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1323 ผู้จัดการด้านการก่อสร้าง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2554 2) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554    

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 1) ระบุประเภทและขอบเขตการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าได้ 00001.1.01 66511
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 2) บ่งชี้สัญลักษณ์เตือนอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.1.02 66512
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 3) ปฏิบัติตามมาตรการ Lockout /Tagoutได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง 00001.1.03 66513
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 1) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มขอเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอน/กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 00001.2.01 66514
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 2) ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 00001.2.02 66515
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 3) ตรวจสอบได้ว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 00001.2.03 66516
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 4) ปิดกั้นพื้นที่ทำงาน และติดตั้ง Safety System บริเวณที่มีการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.2.04 66517
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 5) ตรวจสอบการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าปกติและการต่อลงดินเพื่อความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม 00001.2.05 66518
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 1) บอกวิธีใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.3.01 66519
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 2) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงได้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ 00001.3.02 66520
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 3) จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธี 00001.3.03 66521
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 1) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน 00001.4.01 66522
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 2) ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางวิ่งรถไฟฟ้าที่มีไฟฟ้าแรงสูงตามวิธีการและข้อกำหนดความปลอดภัย 00001.4.02 66523
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 3) เลือกใช้เครื่องมือดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมสำหรับบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้า 00001.4.03 66524
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 1) ถอดเก็บ SafetySystem ออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน 00001.5.01 66525
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 2) ทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานตรวจสอบและจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ 00001.5.02 66526
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 3) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มออกจากพื้นที่ และยืนยันสิ้นสุดการปฎิบัติงานได้ตามขั้นตอน/กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 00001.5.03 66527

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000  ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

       (ก1)   การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน                  

       (ก2)   การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล                                                   

       (ก3)   การดับเพลิงขั้นต้น                                                                           

       (ก4)   การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องต้น                                                     


(ข) ความต้องการด้านความรู้

       (ข1)   ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานระบบรางขั้นพื้นฐาน                                       

       (ข2)   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า                                                           

       (ข3)   สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า                                                   

       (ข4)   อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้า                                               

       (ข5)   ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานในบริเวณที่มีสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง            

       (ข6)   การใช้เครื่องมือดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมสำหรับบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้า                   

       (ข7)   ระบบล็อคและระบบป้ายทะเบียน (Lockout/Tagout)                                    



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       (ก1)   หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ                                 

       (ก2)   แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                         

       (ก3)   แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ                                                         

       (ก4)   หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ       

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       (ข1)   ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                                 

       (ข2)   ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า                                                      

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้                         

 วิธีการประเมิน

       - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น              

       - การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)              



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

       (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย การประเมินสภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่การทำงาน และมีทักษะในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงตามมาตรฐานความปลอดภัย เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งใช้และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัว ปลอดภัย และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

       (ก2)  สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

       (ข1)  ขอบเขตของงาน:

               -  จัดทำและปฏิบัติตามมาตรการ Lockout /Tagout ก่อนทำการตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงเพื่อความปลอดภัย

               -  ตรวจสอบการตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

               -  ปิดกั้นพื้นที่และติดตั้ง Safety System บริเวณที่มีการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า

               -  ตรวจสอบการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

               -  ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

               -  ถอดเก็บป้ายเตือนและแผงกั้น/เครื่องกั้นออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน

               -  ทำความสะอาดพื้นที่การปฏิบัติงาน

               -  กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน

       (ข2)  เอกสาร/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง เช่น

               -  แบบฟอร์มระบุขอบเขตการปฏิบัติงาน 

               -  เอกสารเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ 

       (ข3)  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้า เช่น

               -  ถุงมือยาง/ถุงมือหนัง

               -  แขนเสื้อยาง 

               -  แผ่นยาง/ผ้าห่มยาง 

               -  ฉนวนครอบลูกถ้วย ฉนวนหุ้มสาย 

               -  หมวกแข็งกันไฟฟ้า 

               -  เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt)

               -  รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้น

               -  ฯลฯ

       (ข4)  Safety System เช่น

               -  ป้ายเตือน

               -  แผงกั้น/เครื่องกั้น

               -  ไฟสัญญาน

               -  ธงสีแดง

               -  เทปสีแดง

       (ข5)  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้:

               -  อุปกรณ์ทดสอบไฟ

               -  อุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า

               -  ชุดต่อลงดินเพื่อความปลอดภัย

       (ข6)  ข้อมูล/เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง:

               -  คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

               -  คู่มือความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

               -  มาตรการล็อคและแขวนป้ายอุปกรณ์ (Lockout/Tagout)

               -  เอกสาร/แบบฟอร์มการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า

               -  คำแนะนำด้านเทคนิค

               -  คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

               -  เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1  เครื่องมือประเมินการระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

        1)  ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

        2)  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

2  เครื่องมือประเมินการดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

        1)  ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

        2)  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

3  เครื่องมือประเมินการเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง

        1)  ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

        2)  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

4  เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

        1)  ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

        2)  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

5.  เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดและออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

        1)  ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

        2)  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

 

 




ยินดีต้อนรับ