หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุ (ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ)

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-3-050ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุ (ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05102.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน 1.ปฏิบัติตามคู่มือการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (EmergencyResponse Guidebook) และบ่งชี้อันตราย และวิธีการสกัดกั้น 05102.01.01 66105
05102.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน 2.ปฏิบัติตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SafetyData Sheet-SDS) และรหัสปฏิบัติการฉุกเฉิน (EmergencyAction Code-EAC) 05102.01.02 66106
05102.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน 3.ระบุสมบัติของสารอันตรายและอธิบายระดับการรับสัมผัสสารเคมีที่มีผลต่อความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัย 05102.01.03 66107
05102.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน 4.ระบุมาตรการในการป้องกัน สกัดกั้นการรั่วไหล ควบคุมการแพร่กระจายและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ 05102.01.04 66108
05102.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน 5.ระบุรัศมีอันตรายเพื่อการอพยพ หรือ การหลบภัย (shelter-in-place) ให้แก่พนักงานหรือประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง 05102.01.05 66109
05102.02 ระบุคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในทุกระดับ 1. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในทุกระดับ และรู้ข้อจำกัดของอุปกรณ์และร่างกายของตน 05102.02.01 66110
05102.02 ระบุคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในทุกระดับ 2. เก็บรักษาและดูแลอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลตามคำแนะนำของผู้ผลิตให้มีสภาพพร้อมใช้งานรวมทั้งตรวจสอบสภาพและอายุการใช้งาน 05102.02.02 66111
05102.02 ระบุคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในทุกระดับ 3.ป้องกันตัวเองจากการเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (Heatstress) และภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heat stroke) 05102.02.03 66112
05102.03 ตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) 1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม 05102.03.01 66113
05102.03 ตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) 2.วิเคราะห์ความเสี่ยง และบ่งชี้อันตรายและระบุมาตรการลดความเสี่ยงจากค่าที่ตรวจวัด 05102.03.02 66114
05102.04 สำรวจพื้นที่และจัดตั้งโซนต่างๆ 1. ใช้ข้อมูลการตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศและข้อมูลพื้นที่ในการจัดตั้งพื้นที่เขตอันตราย (Hot/Exclusion Zone)เขตลดการปนเปื้อน (Warm/Contamination ReductionZone-CRZ) และ เขตสนับสนุน (Cold/Support Zone) 05102.04.01 66115
05102.05 ดำเนินการเข้าระงับภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ (ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ) 1.ดำเนินการป้องกันและสกัดกั้นการรั่วไหลป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายของสารเคมีอันตรายและปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) 05102.05.01 66116
05102.05 ดำเนินการเข้าระงับภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ (ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ) 2.ดำเนินการชำระล้างความปนเปื้อนจากตัวนักปฏิบัติการ ผู้ประสบภัยและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ 05102.05.02 66117
05102.05 ดำเนินการเข้าระงับภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ (ไม่ใช่จุดเกิดเหตุ) 3.กำจัดความปนเปื้อนจากการชำระล้างและของเสียที่รั่วไหล 05102.05.03 66118
05102.06 ปฏิบัติตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) 1.ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมาย ประสานงานและแจ้งข้อมูลตามลำดับขั้นในระบบบัญชาการเหตุการณ์ 05102.06.01 66119
05102.06 ปฏิบัติตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) 2. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 05102.06.02 66120

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องอยู่ในที่แคบ เช่น ในชุดป้องกันสารเคมีที่มีวิสัยการมองเห็นที่จำกัด

  2. ทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

  2. ผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

  3. การจำแนกชนิดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในระดับต่างๆ พร้อมการเลือกใช้อย่างเหมาะสม

  4. หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม

  5. มาตรการด้านความปลอดภัยของการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. ใบผ่านการอบรมOSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

  3. ใบผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การปฏิบัติงานของผู้มีระดับคุณวุฒิที่ 3 จะเป็นการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินสารเคมีที่เน้นการตั้งรับด้วยการ สกัดกั้น กักกัน กักเก็บ และป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีอันตรายในบริเวณที่เกิดเหตุแต่ไม่ใช่จุดเกิดเหตุไม่ให้ออกไปนอกพื้นที่และสร้างความเสี่ยงต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม



(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการระบุมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีและของเสียอันตรายออกนอกพื้นที่

  2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม เพื่อทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง

  3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการในระดับความเสี่ยงต่างๆ โดยพิจารณาจากค่าที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลเฉพาะของพื้นที่

  4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Guidebook) หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการเลือกวิธีการในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินสารเคมี เนื่องมาจากอุบัติเหตุในการขนส่ง รวมทั้งข้อแนะนำในการอพยพประชาชน จัดทำโดย US Department of Transportation

  2. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet หรือ SDS) หมายถึง เอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละชนิด ที่เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

  3. รหัสปฏิบัติการฉุกเฉิน (Emergency Action Code หรือ EAC หรือ Hazchem code) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการสื่อสารที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินทราบถึงอันตรายที่ควรระวัง หรือการปฏิบัติในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินสารเคมี เช่น การรั่วไหล หรือไฟไหม้

  4. มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP) หมายถึง คำสั่งหรือวิธีปฏิบัติงานที่ระบุอย่างเป็นขั้นตอน และมีรายละเอียดชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

  5. การอบรมตามข้อกำหนดของ OSHA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่อง       อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยสารเคมี ซึ่งกำหนดให้รับการการอบรม Hazardous Waste Operations and Emergency Response (HAZWOPER) ในระดับที่เหมาะสม และมีการอบรมทบทวนทุกปี

  6. การอบรมตามข้อกำหนดของ US EPA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่องคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสารเคมีอันตรายเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเทียบเท่า HAZWOPER คือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15)

  7. เครื่องมือตรวจวัดวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) ได้แก่ เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ปริมาณออกซิเจน) เครื่องมือตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมี เช่น Dräger Tube  Photo Ionization Detector  Combustible Gas Indicator  Carbon monoxide detector  LEL meter และ Geiger counter

  8. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนด

  9. ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System, ICS) หมายถึง ระบบที่ใช้เพี่อการสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัย ระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น รวมทั้งการลดความเสี่ยงของชุมชน




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.2.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุคุณสมบัติและข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในทุกระดับ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.3.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.4.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุระดับการแจ้งเหตุภัยสารเคมี




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.5.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดำเนินการเข้าระงับภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​​​​​​​​18.6.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ปฏิบัติตามระบบบัญชาการเหตุการณ์




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ