หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-3-040ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการรับจัดหา (Broker) ของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถระบุลักษณะทางกายและทางเคมี และบันทึกข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับจัดการของเสียอุตสาหกรรมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04102.01 ระบุลักษณะทางกาย และทางเคมี และบันทึกข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม 1.บ่งชี้ ชนิด และลักษณะของเสียอุตสาหกรรมตามฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ หรือคู่มือฯ(บัญชีกากอุตสาหกรรม:Wasteprofile)เพื่อนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญในอาชีพในการจัดหาทางเลือกของเสียอุตสาหกรรมที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้า 04102.01.01 66046
04102.01 ระบุลักษณะทางกาย และทางเคมี และบันทึกข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม 2.จดบันทึกข้อมูลและจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดของเสียอุตสาหกรรมให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ เพื่อประเมินวิธีการจัดการของเสีย 04102.01.02 66047
04102.02 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม 1. จัดเตรียมรายละเอียดข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียตามกฎหมายกำหนดให้แก่ลูกค้า 04102.02.01 66048
04102.02 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม 2. แนะนำการจัดเตรียมเอกสารกำกับการขนส่งของเสียให้แก่ลูกค้า 04102.02.02 66049

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการให้บริการลูกค้า มีความรับฟัง และเข้าใจความต้องการของลูกค้า

  2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ข้อบังคับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety requirement)

  2. กฎระเบียบ และมาตราการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

  3. การจำแนกชนิด และลักษณะของของเสียอุตสาหกรรม

  4. การจัดการของเสียอุตสาหกรรมพื้นฐาน

  5. บัญชีกากอุตสากรรม (Waste profile)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

       การเตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรมในระดับคุณวุฒิที่ 3 เป็นการระบุลักษณะทางกายภาพ และทางเคมี และการเตรียมข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้เสนอแก่ระดับคุณวุฒิที่ 4 เพื่อพิจารณาประเมินทางเลือก จากนั้นจัดทำรายงานและนำเสนอทางเลือกให้แก่ลูกค้า และประสานงานเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

  2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า

  3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถจดบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ลูกค้า เช่น หน่วยงานราชการ บริษัท และโรงงานอุตสาหกรรม

  2. ความประสงค์/ความต้องการของลูกค้า นอกจากทราบได้จากการสนทนา ยังสามารถทราบได้จากเอกสารต่างๆ เช่น บันทึกข้อความ สัญญาจ้าง จดหมาย เอกสารรับรองคุณภาพ เอกสารจัดซื้อจัดจ้าง (Tender document) เอกสารขั้นตอนดำเนินการ และในที่นี้หมายรวมถึง การรักษาความลับของลูกค้า (Confidentiality requirement)

  3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น การบริการจัดการของเสีย การลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste minimization) การปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon emission) ราคาการบริการ ผลกระทบของของเสียต่อสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิล กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ

  4. กฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal :BASEL)

  5. ลักษณะของเสียอุตสาหกรรม (Waste Characteristics) เช่น ความหนาแน่น ระดับการปนเปื้อน คุณภาพ รูปร่าง ขนาด ปริมาณ และน้ำหนัก

  6. ชนิดของเสียอุตสาหกรรม (Waste types) หมายถึง ของแข็ง (ที่ไม่เป็นอันตราย) เช่น วัสดุก่อสร้าง ของเสียจากการรื้อถอน ของเหลว (ที่ไม่เป็นอันตราย) เช่น สารเคมี หรือ สารละลาย สารอันตราย ของเสียอันตรายที่มีการปนเปื้อนสารอันตรายที่มีการควบคุมตาม พรบ. วัตถุอันตราย และวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

  7. วิธีการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น การเก็บกัก ณ แหล่งกำเนิด การเก็บรวบรวมและขนส่ง การบำบัด/การกำจัด

  8. ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ เช่น หัวหน้างาน หรือบุคคลที่อยู่ในระดับคุณวุฒิที่สูงกว่าที่มีอำนาจในการประเมินวิธีการจัดการของเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุลักษณะทางกาย และทางเคมี และบันทึกข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม



     1.ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



     2.ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



     3.ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.2.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ