หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) และบันทึกค่า

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-015ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) และบันทึกค่า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เก็บตัวอย่างน้ำเสีย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) และบันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือตรวจวัดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2. ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02104.01 ตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก (เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO) ที่จุดเก็บตัวอย่าง 1. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจวัด 02104.01.01 65841
02104.01 ตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก (เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO) ที่จุดเก็บตัวอย่าง 2. ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก 02104.01.02 65842
02104.01 ตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก (เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO) ที่จุดเก็บตัวอย่าง 3. แก้ปัญหาในกรณีที่เกิดการเบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 02104.01.03 65843
02104.02 บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 1. อ่านค่าจากเครื่องมือตรวจวัด 02104.02.01 65844
02104.02 บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 2. บันทึกค่าลงในแบบฟอร์ม 02104.02.02 65845
02104.02 บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 3.บันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 02104.02.03 65846

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO ที่จุดเก็บตัวอย่าง บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด



2. ทักษะการสื่อสาร สามารถแจ้งชื่อเครื่องมือตรวจวัด ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับการตรวจวัดให้ผู้ร่วมงานได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความหมายและวิธีการตรวจวัดพารามิเตอร์หลักของน้ำเสีย ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis)



2. หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน



2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) และบันทึก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง ณ จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) และบันทึกค่าของอาชีพพผู้เก็บตัวอย่างน้ำเสีย ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 เป็นการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจวัดและตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO ที่จุดเก็บตัวอย่าง (on-site analysis) บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนดขณะเก็บตัวอย่างน้ำเสีย และเก็บตัวอย่างน้ำเสียรักษาสภาพ เคลื่อนย้าย และส่งมอบตัวอย่างให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 2 (01101 รับและจัดการตัวอย่าง) และส่งต่อให้นักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 เพื่อเตรียมตัวอย่างของเสียและทดสอบต่อไป



(ก) คำแนะนำ



         1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการตรวจวัดตัวอย่างน้ำเสีย การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเก็บตัวอย่างและมาตรการด้านความปลอดภัยของบริเวณที่เก็บตัวอย่าง



         2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจวัดตัวอย่างน้ำเสียโดยคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือที่ใช้ และการปรับเทียบเครื่องมือตรวจวัด



         3. ผู้เข้ารับการประเมินควรศึกษาเอกสารคู่มือการเก็บตัวอย่างมลพิษ (น้ำ อากาศ ดิน กากอุตสาหกรรม) จัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



         1. พารามิเตอร์หลัก หมายถึงค่าที่แสดงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเบื้องต้นของตัวอย่าง เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO



         2. เครื่องตรวจวัด หมายถึงเครื่องมือตรวจวัดสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำเสีย ที่สามารถแสดงผลทันที ณ เวลาที่ทำการตรวจวัด



         3. คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการตรวจวัดน้ำเสีย ณ จุดเก็บตัวอย่าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจวัดพารามิเตอร์หลัก (เช่น อุณหภูมิ, pH, conductivity, DO) ที่จุดเก็บตัวอย่าง



       1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



       2. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​​​​​​​​18.2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บันทึกค่าพารามิเตอร์จากเครื่องมือตรวจวัดและบันทึกข้อมูลที่เบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด



       1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



       2. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 



ยินดีต้อนรับ