หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียด้วยวิธีอย่างง่ายและด้วยเครื่องมือขั้นสูง จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-006ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียด้วยวิธีอย่างง่ายและด้วยเครื่องมือขั้นสูง จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียด้วยวิธีอย่างง่ายและด้วยเครื่องมือขั้นสูง จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไมใชแล้ว พ.ศ. 25482. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 25563. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25584. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทํารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01106.01 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) 1. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบ 01106.01.01 65781
01106.01 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) 2. ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานเพื่อทดสอบตัวอย่างด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ(classical methods) เช่น การไทเทรตการทดสอบโดยการชั่งน้ำหนัก 01106.01.02 65782
01106.01 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) 3. แก้ปัญหาในกรณีที่เกิดการเบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 01106.01.03 65783
01106.01 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) 4. บันทึกผลลงในแบบฟอร์มคำนวณผลและแปลผลการทดสอบและจัดทำรายงานผลการทดสอบ 01106.01.04 65784
01106.02 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยเครื่องมือขั้นสูง 1. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทดสอบ 01106.02.01 65785
01106.02 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยเครื่องมือขั้นสูง 2. ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานเพื่อทดสอบตัวอย่างด้วยเครื่องมือขั้นสูงได้แก่ เครื่องมือทางโครมาโทกราฟี เครื่องมือทางสเปกโทรสโกปีเครื่องมือทางเคมีไฟฟ้าเครื่องมือการวัดทางความร้อน (thermal analysis)หรือเครื่องมืออื่น ๆ 01106.02.02 65786
01106.02 ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยเครื่องมือขั้นสูง 3. แก้ปัญหาในกรณีที่เกิดการเบี่ยงเบนไปจากวิธีที่กำหนด 01106.02.03 65787
01106.03 สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 1. สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 01106.03.01 65788
01106.03 สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2. แก้ปัญหาและปรับแก้เครื่องมือในกรณีที่ผลการการสอบเทียบเบี่ยงเบนไปจากคำแนะนำการใช้เครื่องมือหรือคู่มือของบริษัทผู้ผลิต 01106.03.02 65789
01106.03 สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3. บันทึกผลการสอบเทียบและการปรับแก้ (ถ้ามี)ในแบบควบคุมการใช้งานเครื่องมือ (log book) 01106.03.03 65790
01106.04 บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) 1. บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) 01106.04.01 65791
01106.04 บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) 2. แก้ปัญหาหรือซ่อมแซมเครื่องมือในกรณีที่เครื่องมือไม่พร้อมใช้งาน 01106.04.02 65792
01106.04 บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) 3. เขียนคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง 01106.04.03 65793
01106.05 บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 1. บันทึกผลลงในแบบฟอร์ม 01106.05.01 65794
01106.05 บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 2. คำนวณผลและแปลผลการทดสอบ 01106.05.02 65795
01106.05 บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดทำรายงานผลการทดสอบ 01106.05.03 65796
01106.05 บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 4. ตรวจการสอบรายงานผลการทดสอบ 01106.05.04 65797
01106.05 บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 5. ชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 01106.05.05 65798

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถ



- ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) และด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ (analytical instruments) และจัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบได้



- สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้



- บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการของวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods)



2. หลักการเครื่องมือวิเคราะห์ (analytical instruments)



3. การคำนวณผลและแปลผลการทดสอบ



4. ข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน



2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตปฏิบัติงาน



3. ใบแสดงผลการศึกษาที่แสดงว่าผ่านการเรียนรายวิชาปฏิบัติการเคมีและรายวิชาปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ (instrumental analysis)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม



3. ใบแสดงผลการเรียนที่แสดงว่ามีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียด้วยวิธีอย่างง่ายและด้วยเครื่องมือขั้นสูง จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบ โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

        การทดสอบและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสียด้วยวิธีอย่างง่ายและด้วยเครื่องมือขั้นสูงของอาชีพนักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับชั้นคุณวุฒิที่ 4 ประกอบด้วยการทดสอบตัวอย่างด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) การทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยเครื่องมือขั้นสูง สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance) และจัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบ



(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. วิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods) หมายถึงวิธีทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ใช้สารเคมีเครื่องแก้วและอุปกรณ์ และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ เช่น การไทเทรต การวิเคราะห์โดยการชั่งน้ำหนัก การสกัดด้วยตัวทำละลายและวัดปริมาณสาร

  2. เครื่องมือขั้นสูง (advanced instruments) หมายถึงเครื่องมือวิเคราะห์ (analytical instruments) ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน มีสภาพไว ที่ใช้เพื่อ (ก) ทดสอบสมบัติทางกายภาพของตัวอย่าง เช่น เครื่องวัดจุดวาบไฟ เครื่องวัดความดันไอ (ข) จำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่าง ได้แก่ เครื่องมือทางโครมาโทกราฟี เครื่องมือทางสเปกโทรสโกปี เครื่องมือทางเคมีไฟฟ้า เครื่องมือการวัดทางความร้อน (thermal analysis) และเครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องอะตอมมิกแอบซอร์ปชันสเปกโทรมิเตอร์ (AAS) เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ (GC) เครื่องไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟ (HPLC) แคลอริมิเตอร์ เครื่อง GC-MS เครื่อง LC-MS

  3. การสอบเทียบเครื่องมือ (calibration) หมายถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และการปรับแก้เครื่องมือในกรณีที่ผลการการสอบเทียบเบี่ยงเบนไปจากคำแนะนำการใช้เครื่องมือหรือคู่มือของบริษัทผู้ผลิต

  4. การบำรุงรักษาเครื่องมือ (maintenance) หมายถึงการดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพได้ แก้ปัญหาหรือซ่อมแซมเครื่องมือในกรณีที่เครื่องมือเสียหรือให้ผลการสอบเทียบเบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การถอดและล้างชิ้นส่วนของเครื่องมือ การเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง (consumable parts) การทำความสะอาดเครื่องมือทั้งภายนอกและภายใน

  5. เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึงเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับของเสียอุตสาหกรรม เช่น ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไมใชแล้ว พ.ศ. 2548

  6. คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานในการทดสอบตัวอย่าง วิธีการใช้เครื่องมือ สอบเทียบเครื่องมือและบำรุงรักษาเครื่องมือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยวิธีทดสอบแบบฉบับ (classical methods)



1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



2. ข้อสอบอัตนัย



3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ทดสอบตัวอย่างของเสียด้วยเครื่องมือขั้นสูง



1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



2. ข้อสอบอัตนัย



3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สอบเทียบเครื่องมือและดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



2. ข้อสอบอัตนัย



3. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.4 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้นด้วยตนเอง (self-maintenance)



1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



2. ข้อสอบอัตนัย



3. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​​​​​​​​18.5 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย บันทึก จัดทำและตรวจสอบรายงานผลการทดสอบและชี้แจงข้อกำหนด และ/หรือเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



2. ข้อสอบอัตนัย



3. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ