หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-3-045ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายทดสอบและควบคุมคุณสมบัติเชื้อเพลิงชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ  โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 1)มีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 10706.01.01 64700
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 2)จัดทำแผนการตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพเพื่อควบคุมคุณภาพก่อนเข้าระบบเผาไหม้ 10706.01.02 64701
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 3) ตรวจสอบอัตราการผลิตก๊าซมีเทนและองค์ประกอบก๊าซชีวภาพ 10706.01.03 64702
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 4) ตรวจสอบการทำงานของเทคโนโลยีการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ 10706.01.04 64703
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 5) มีความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดองค์ประกอบก๊าซชีวภาพ 10706.01.05 64704
10706.01 ตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ 6) วิเคราะห์และบันทึกผลการตรวจวัดคุณภาพก๊าซชีวภาพ 10706.01.06 64705
10706.02 ปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและควบคุมให้มีคุณภาพ 1)มีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงก๊าซชีวภาพ 10706.02.01 64706
10706.02 ปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและควบคุมให้มีคุณภาพ 2) ปรับปรุงและควบคุมก๊าซชีวภาพให้มีคุณภาพ 10706.02.02 64707
10706.02 ปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและควบคุมให้มีคุณภาพ 3) ควบคุมประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (H2S) 10706.02.03 64708
10706.02 ปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและควบคุมให้มีคุณภาพ 4) ประสานกับฝ่ายตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างการย่อยสลายและการหมักเพื่อควบคุมเชื้อจุลินทรีย์และประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบและคุณภาพของก๊าซชีวภาพ 10706.02.04 64709
10706.03 ประสานกับฝ่ายควบคุมการปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อควบคุมปริมาณและตรวจสอบองค์ประกอบไม่พึงประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ 1)ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ 10706.03.01 64710
10706.03 ประสานกับฝ่ายควบคุมการปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อควบคุมปริมาณและตรวจสอบองค์ประกอบไม่พึงประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อจ่ายก๊าซชีวภาพ 10706.03.02 64711
10706.03 ประสานกับฝ่ายควบคุมการปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อควบคุมปริมาณและตรวจสอบองค์ประกอบไม่พึงประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพี่อควบคุมการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ และองค์ประกอบอื่น ๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของก๊าซชีวภาพ 10706.03.03 64712
10706.03 ประสานกับฝ่ายควบคุมการปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อควบคุมปริมาณและตรวจสอบองค์ประกอบไม่พึงประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ 4) บันทึกและรายงานผลการตรวจวัดก๊าซชีวภาพ 10706.03.04 64713

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

  2. มีทักษะในการจัดทำแผนการตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ

  3. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัดองค์ประกอบก๊าซชีวภาพ การตั้งค่า การอ่านข้อมูล และการบันทึกผลการตรวจวัดคุณภาพก๊าซชีวภาพ

  4. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  5. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านระบบการผลิตและจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า/ความร้อน

  2. มีความรู้ด้านองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ

  3. มีความด้านระบบบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายและการหมัก การควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย

  4. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ เทคโนโลยีกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เทคโนโลยีการกำจัดความชื้น และอื่น ๆ

  5. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น





 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับ การตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ดำเนินงานด้านการตรวจสอบคุณภาพก๊าซชีวภาพ จะต้องตรวจสอบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และการทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ




  • คุณภาพก๊าซชีวภาพ หมายถึง การควบคุมโดยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซมีเทน ส่งผลให้ลดปัญหาการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หรือเปลวไฟไม่นิ่ง หรือไฟดับ

  • การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (H2S) หมายถึง การทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยี Bio-scrubber เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซมีเทน

  • การวิเคราะห์องค์ประกอบก๊าซชีวภาพ หมายถึง การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือวัด ได้แก่ Gas Analyzer


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย





 



ยินดีต้อนรับ