หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-3-042ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายทดสอบและควบคุมคุณสมบัติเชื้อเพลิงชีวมวล/ชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ  โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในด้านของเครื่องมือทดสอบ สารเคมี และวัตถุอันตราย ในห้องปฏิบัติการ วิธีการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคหรือมาตรฐานการทดสอบ และเป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10703.01 จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ 1)มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในห้องทดสอบ 10703.01.01 64675
10703.01 จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ 2)มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบ 10703.01.02 64676
10703.01 จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ 3) จัดเตรียมอุปกรณ์และสารเคมีให้เหมาะสมกับการทดสอบคุณภาพของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ 10703.01.03 64677
10703.01 จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ 4) มีทักษะในจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 10703.01.04 64678
10703.01 จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ 5) เตรียมพื้นที่ทดสอบและเก็บรักษาสารเคมีแต่ละประเภทที่ใช้ในการทดสอบอย่างเหมาะสม 10703.01.05 64679
10703.02 ใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง 1)มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ทดสอบในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง 10703.02.01 64680
10703.02 ใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง 2)มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพื่อป้องกันสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ 10703.02.02 64681
10703.02 ใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง 3) จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น 10703.02.03 64682
10703.03 จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบ 1)ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังเสร็จสิ้นการทดสอบ 10703.03.01 64683
10703.03 จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบ 2) จัดเก็บอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามหลักการเก็บในห้องทดสอบ 10703.03.02 64684
10703.03 จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบ 3) ดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้มีความปลอดภัย 10703.03.03 64685

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบ

  2. มีทักษะในจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

  3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

  2. มีความรู้เรื่องสารเคมีและเก็บรักษาสารเคมีแต่ละประเภท ที่ใช้ในการทดสอบอย่างปลอดภัย

  3. มีความรู้ด้านการทำความสะอาดอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคการทดสอบ

  4. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับ การเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ผู้ดำเนินงานด้านการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ เครื่องมือทดสอบ สารเคมี และวัตถุอันตราย ในห้องปฏิบัติการ วิธีการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคหรือมาตรฐานการทดสอบ และเป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ




  • ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ หมายถึง ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี การใช้เครื่องมือทดสอบ และการเตรียมพื้นที่ทดสอบเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การเก็บรักษาสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันหน้า ตา มือ เท้า ร่างกาย การได้ยิน และระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ