หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจและตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-4-048ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจและตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานด้านควบคุมระบบผลิตก๊าซชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการสำรวจ ตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก โดยต้องมีความรู้ด้านองค์ประกอบทางเคมี และการประเมินปริมาณผลผลิต และทักษะในการสำรวจ ตรวจสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการย่อยสลายและการหมัก รวมถึงการติดต่อประสานงานส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานด้านการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 1)มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบ่อยสลายและการหมัก 20203.01.01 64751
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 2)มีความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาชีวเคมีของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.01.02 64752
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 3)มีความรู้เกี่ยวกับสมบัติของผลที่ได้จากแต่ละขั้นของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.01.03 64753
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 4) สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.01.04 64754
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 5) วิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดปัญหา 20203.01.05 64755
20203.01 สำรวจและตรวจสอบปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 6) จัดทำแผนเพื่อหาแนวทางการป้องกัน 20203.01.06 64756
20203.02 ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก 1)มีความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับการคงอยู่และการทำงานของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายและการหมัก 20203.02.01 64757
20203.02 ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก 2) ตรวจสอบ Activity ของจุลินทรีย์ในกระบวนการ 20203.02.02 64758
20203.02 ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก 3) วิเคราะห์ค่าคงที่และรวบรวมปัญหาของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.02.03 64759
20203.02 ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก 4)วิเคราะห์และปรับภาระโหลดตามตัวแปรที่มีผลต่อค่าคงที่กระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.02.04 64760
20203.02 ตรวจสอบค่าคงที่ความปลอดภัยของในกระบวนการย่อยและการหมัก 5) รายงานผลและประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 20203.02.05 64761
20203.03 จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน 1)มีความรู้ในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 20203.03.01 64762
20203.03 จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน 2) รวบรวมปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.03.02 64763
20203.03 จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน 3) วิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาส และผลกระทบ 20203.03.03 64764
20203.03 จัดทำแผนงานปฏิบัติและแผนงานป้องกัน 4)จัดทำแผนการปฏิบัติการเชิงป้องกันสำหรับกระบวนการย่อยสลายและการหมัก 20203.03.04 64765

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการอ่านและแปรผลข้อมูลหรือผลทางวิทยาศาสตร์

  2. มีทักษะด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์

  3. มีทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

  2. มีความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพ ของผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

  3. มีความรู้ด้านองค์ประกอบ สภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายในสภาวะไม่ใช้อากาศ และระบบที่เกี่ยวข้องของการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือเสนอแนะการดำเนินงาน

  4. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการสำรวจ ตรวจสอบ ประสิทธิภาพการย่อยสลายและการหมัก โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. ผลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ผลและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายแต่ละขั้นตอน ได้แก่



ขั้น1 ไฮโดรลิซิส (Hydrolysis)



ขั้น2 แอซิดิฟิเคชั่น หรือ แอซิโดเจเนซิส (Acidification/ Acidogenesis)



ขั้น3 อะซิโตเจเนซิส (Acetogenesis) และ



ขั้น4 เมทาไนเซชั่น หรือ เมทาโนเจเนซิส (Methanization/Methanogenesis)




  1. ค่าคงที่ของกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง การทำงาน ของจุลินทรีย์ และผลที่เกิดขึ้นตามขึ้นตอนของการย่อยสลายและการหมัก ต้องมีค่าเป็นไปตามแผนประเมิน และกระบวนการสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

  2. ภาระโหลดตามตัวแปรที่มีผลต่อค่าคงที่ หมายถึง การปรับ เติม หรือลด ปริมาณองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อกระบวนการตามตัวแปรต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง หรือสารอาหาร ให้เหมาะสมกับกระบวนการแต่ละขั้นตอน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิตตามเป้าหมาย

  3. ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้ปฏิบัติ ส่วนงาน ที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก ได้แก่ งานควบคุมกระบวนการ งานวิเคราะห์และควบคุมองค์ประกอบ ฝ่ายจัดเก็บ และฝ่ายปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ที่จำเป็นต้องทราบหรือใช้ข้อมูลในการประเมินผลร่วมกับการทำงาน

  4. ปัญหาในกระบวนการย่อยสลายและการหมัก หมายถึง ข้อผิดปกติทั้งด้านการผลิต และเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิต ความต่อเนื่อง ผลคุณภาพของผลผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ