หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุงในกระบวนปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-4-031ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุงในกระบวนปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานด้านการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุง โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในวิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลการดำเนินงาน และปัญหา สามารถตัดสินใจ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง วางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อน สรุปผลการซ่อมบำรุง และการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ วิเคราะห์สรุปงบประมาณในการจัดซื้อชิ้นส่วนเครื่องจักรและอุปกรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวล และก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 1)มีความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตก๊าซชีวภาพ การย่อยสลาย และการหมัก 10610.01.01 64501
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 2) มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดการปรับแก้ไขและการติดตั้งเครื่องมือวัด 10610.01.02 64502
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 3) มีความรู้ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและเครื่องมือซ่อมบำรุง 10610.01.03 64503
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 4)ตรวจสอบและประเมินความเสียหายของเครื่องจักรในระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 10610.01.04 64504
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 5) ออกแบบจัดทำแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร 10610.01.05 64505
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 6) ประสานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เจ้าของพื้นที่ในการเข้าซ่อมบำรุง 10610.01.06 64506
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 7) ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรและซ่อมบำรุงตามแผน 10610.01.07 64507
10610.01 ออกแบบจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 8) รายงานผลหลังการซ่อมบำรุงรักษา 10610.01.08 64508
10610.02 บำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) 1)จัดทำแผนการบำรุงรักษา (ประจำโรงงาน) 10610.02.01 64509
10610.02 บำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) 2) ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ภาคสนาม 10610.02.02 64510
10610.02 บำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) 3) ออกแบบ และจัดทำแบบบันทึกการบำรุงรักษา 10610.02.03 64511
10610.02 บำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) 4) บำรุงรักษาเครื่องจักรตาม PM 10610.02.04 64512
10610.03 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ 1)สามารถอ่านและเข้าใจคู่มือการซ่อมปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 10610.03.01 64513
10610.03 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ 2) จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 10610.03.02 64514
10610.03 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ 3)ประสานเจ้าหน้าฝ่ายผลิตในการเข้าปรับเปลี่ยน/ซ่อมบำรุงเครื่องจักร 10610.03.03 64515
10610.03 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ 4) จัดทำรายการวัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง 10610.03.04 64516
10610.04 จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure manual) 1)รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ 10610.04.01 64517
10610.04 จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure manual) 2) จัดทำคู่มือปฏิบัติการควบคุมเครื่องจักรครอบคลุมขั้นตอนวิธีการ และรายละเอียดเครื่องจักรในระบบ 10610.04.02 64518
10610.04 จัดทำคู่มือปฏิบัติ (Procedure manual) 3) ทบทวนและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน 10610.04.03 64519

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารเชิงช่าง

  2. มีทักษะในการอ่าน และการใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  3. มีทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะ และเหตุผลในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อน และสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกระบวนการผลิตพลังงานความร้อน และไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล และชีวภาพ

  2. มีความรู้ด้านสมบัติทางเครื่องกล การอ่านแบบหรือด้านไฟฟ้า

  3. มีความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics)  และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น

  4. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการกระบวนการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล

  5. มีความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

  6. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุง หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสม โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์ และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ผู้ดำเนินการเจ้าหน้าที่ควบคุมการย่อยสลายและการหมัก ชั้น3 จะต้องทบทวนข้อมูลการดำเนินงาน และปัญหา สามารถตัดสินใจ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง วางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อน สรุปผลการซ่อมบำรุง และการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ วิเคราะห์สรุปงบประมาณในการจัดซื้อชิ้นส่วนเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยต้องมีทักษะความรู้ที่จำเป็น ดังนี้




  1. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการย่อยสลายและการหมัก

  2. มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัด หมายถึง เข้าใจและใช้เครื่องมือวัดด้านการย่อยสลายและการหมักขั้นต้น เช่นการวัดคุณลักษณะของน้ำ ก๊าซ ที่ได้จากการย่อยสลายและการหมัก

  3. มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการซ่อมบำรุง หมายถึง เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรในส่วนการย่อยสลายและการหมัก เช่น ปั๊มประเภทต่างๆ ในการส่งน้ำเสียเข้าสู้ระบบหมัก หรือก๊าซที่ได้จากการหมัก

  4. สามารถประสานเจ้าหน้าฝ่ายผลิตในการเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักร หมายถึง การประสานแจ้งเจ้าหน้าที่หน้างานเพื่อเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยอาจจะต้องหยุดระบบหรือปรับเปลี่ยนโหมดสายการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย





 



ยินดีต้อนรับ