หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-4-021ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจวัด เก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงาน และจัดทำรายงานการจัดการพลังงานตามรูปแบบของกฎกระทรวงการอนุรักษ์พลังงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (Energy Conservation Promotion Act B.E 2550 (2007))

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 1)มีความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าตลอดกระบวนการผลิตไฟฟ้า 10504.01.01 64345
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 2) มีความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดในระบบผลิตไฟฟ้า 10504.01.02 64346
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 3) ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตไฟฟ้า 10504.01.03 64347
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 4) ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า 10504.01.04 64348
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 5) จัดทำบัญชีรายการกระบวนการผลิตย่อยเครื่องจักรหรือระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 10504.01.05 64349
10504.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้า 6) ประเมินพื้นที่ที่มีนัยสำคัญของการใช้พลังงานไฟฟ้า 10504.01.06 64350
10504.02 วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงาน 1)กำหนดหน่วยการทำงานหรือหน่วยการผลิต (Functional Unit)ที่ตกลงเป็นมติของโรงงานหรือบริษัทเพื่อใช้ในการคำนวณดัชนีการใช้พลังงาน 10504.02.01 64351
10504.02 วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงาน 2)วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตจากข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า 10504.02.02 64352
10504.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 1)สำรวจความเป็นไปได้ในการดำเนินมาตรการด้านไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ที่มีนัยสำคัญและพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ 10504.03.01 64353
10504.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 2) กำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 10504.03.02 64354
10504.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 3) จัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 10504.03.03 64355
10504.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 4)ดำเนินการจัดทำแผนฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 10504.03.04 64356
10504.04 จัดทำรายงานการจัดการพลังงานพลังงานตามรูปแบบของกฎกระทรวงการอนุรักษ์พลังงาน 1)จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน (Energy Management Report)ทั้ง 8 ขั้นตอน ตาม พ.ร.บ. การสงเสริมการอนุรักษพลังงานพ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 อย่างถูกต้องและครบถ้วน 10504.04.01 64357
10504.04 จัดทำรายงานการจัดการพลังงานพลังงานตามรูปแบบของกฎกระทรวงการอนุรักษ์พลังงาน 2)นำส่งรายงานต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามกำหนดระยะเวลา 10504.04.02 64358
10504.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานไฟฟ้าให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ 1)ควบคุมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 10504.05.01 64359
10504.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานไฟฟ้าให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ 2) ติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานตามมาตรการอนุรักษ์พลังงาน 10504.05.02 64360
10504.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานไฟฟ้าให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ 3)ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพตามหลักการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า 10504.05.03 64361
10504.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานไฟฟ้าให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ 4)บันทึกผลการดำเนินงานและจัดประชุมรายงานผลการเนินงานต่อผู้บริหารและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 10504.05.04 64362

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด และตรวจประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้า

  2. มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

  3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม

  4. มีทักษะในการวิเคราะห์หรือตีความเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน

  5. มีทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

  6. มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการพลังงานสู่ผู้ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

  7. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

  2. มีความรู้ด้านกระบวนการผลิต การใช้พลังงาน และเครื่องจักรในกระบวนการ

  3. มีความรู้ด้านเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า การตั้งค่า การอ่านข้อมูล และการบันทึกผล และสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

  4. มีความรู้ด้านสมบัติของเชื้อเพลิง พลังงาน หน่วยวัด การแปลงค่า และการใช้ตารางสถิติพลังงานต่าง ๆ ในการคำนวณด้านพลังงาน

  5. มีความรู้ด้านวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และการใช้เครื่องมือนำเสนอผลงานเชิงสถิติ

  6. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์/ธุรกิจด้านพลังงาน สภาวะด้านการตลาด การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในประเทศและการนำเข้าพลังงาน

  7. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน หรือจัดการพลังงาน หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ผู้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อกำหนด และนโยบายของบริษัท ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า ประกอบด้วยมาตรการวิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ การลงทุน และการประเมินศักยภาพ



1. พื้นที่ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง การจดทำสถิติการใช้ไฟฟ้าแยกรายการเพื่อดูถึงความสิ้นเปลืองในแต่ละรายการในแต่ละพื้นที่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ