หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-3-019ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำรายงานประจำวัน การติดตามสถานะระบบจ่ายไฟฟ้า และมีทักษะในการประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 1)มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้า 10502.01.01 64303
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 2) มีความรู้เกี่ยวกับระบบสั่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 10502.01.02 64304
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 3) สามารถอ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 10502.01.03 64305
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 4) ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 10502.01.04 64306
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 5) ตรวจสอบการทำงานของระบบสั่งจ่ายไฟฟ้า 10502.01.05 64307
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 6) บันทึกค่าการสั่งจ่ายไฟฟ้า 10502.01.06 64308
10502.01 ควบคุมระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้า ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 7) รายงานผลการสั่งจ่ายไฟฟ้า 10502.01.07 64309
10502.02 ติดตามสถานะของระบบจ่ายไฟฟ้า 1)บันทึกผลการเริ่มส่งจ่ายไฟฟ้า และค่าวัดในระบบคอมพิวเตอร์ 10502.02.01 64310
10502.02 ติดตามสถานะของระบบจ่ายไฟฟ้า 2) ตรวจสอบค่าไอเสียที่เกิดขึ้นในระบบผลิตไฟฟ้า 10502.02.02 64311
10502.02 ติดตามสถานะของระบบจ่ายไฟฟ้า 3) ติดตามสถานะ ความสม่ำเสมอ ความถี่สัญญาณของระบบส่งจ่ายไฟฟ้า 10502.02.03 64312
10502.02 ติดตามสถานะของระบบจ่ายไฟฟ้า 4)รายงานปริมาณเชื้อเพลิงที่เข้าสู่ระบบผลิตไฟฟ้าให้สมดุลกับการสั่งจ่ายไฟฟ้า 10502.02.04 64313
10502.03 ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม วิศวกร ในการแจ้งคำสั่งในการเดินระบบผลิตไฟฟ้า 1)ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เพื่อเตรียมพร้อมระบบผลิตไฟฟ้า 10502.03.01 64314
10502.03 ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม วิศวกร ในการแจ้งคำสั่งในการเดินระบบผลิตไฟฟ้า 2) บันทึกการเริ่มเดินระบบผลิตไฟฟ้า 10502.03.02 64315
10502.03 ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม วิศวกร ในการแจ้งคำสั่งในการเดินระบบผลิตไฟฟ้า 3) ควบคุมสั่งการเดินเครื่องระบบผลิตไฟฟ้า 10502.03.03 64316
10502.03 ประสานงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม วิศวกร ในการแจ้งคำสั่งในการเดินระบบผลิตไฟฟ้า 4) ปฏิบัติตามคำสั่งการเดินระบบไฟฟ้า 10502.03.04 64317
10502.04 จัดทำรายงานประจำวัน (Daily report) ในการเชื่อมระบบไฟฟ้า 1)จัดทำรายงานประจำวัน 10502.04.01 64318
10502.04 จัดทำรายงานประจำวัน (Daily report) ในการเชื่อมระบบไฟฟ้า 2) บันทึกค่าวัดที่เกี่ยวข้องในการผลิตไฟฟ้า 10502.04.02 64319
10502.04 จัดทำรายงานประจำวัน (Daily report) ในการเชื่อมระบบไฟฟ้า 3) บันทึกสถิติค่าไอเสียที่เกิดขึ้นในระบบผลิตไฟฟ้า 10502.04.03 64320
10502.04 จัดทำรายงานประจำวัน (Daily report) ในการเชื่อมระบบไฟฟ้า 4) รายงานผลการดำเนินงานประจำวัน 10502.04.04 64321

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร การใช้วิทยุสื่อสาร

  2. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  3. มีทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

  5. มีความรู้ในการใช้ระบบควบคุมผ่านระบบโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ หรือการใช้งานในระบบ SCADA

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าและหม้อไอน้ำ

  2. มีความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

  3. มีความรู้ด้านสมบัติทางด้านการผลิตไฟฟ้า หรือไฟฟ้ากำลัง

  4. มีความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์

  5. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งจ่ายไฟฟ้าหรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการควบคุมการส่งจ่ายไฟฟ้าโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ผู้ดำเนินการด้านควบคุมการส่งจ่ายไฟฟ้า จะต้องมีความรู้ระบบการสั่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์อ่านและเข้าใจคู่มือปฏิบัติ ดังนี้




  1. ควบคุมระบบสั่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การปฏิบัติงานในห้องควบคุม (Control room) ที่สั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์

  2. ติดตามสถานะ ความสม่ำเสมอของระบบจ่ายไฟฟ้า หมายถึง การตรวจติดตาม (Monitor) ผ่านหน้าจอระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพของระบบผลิตไฟฟ้าทั้งระบบ

  3. ค่าวัดในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ค่ามาตรวัดต่าง ๆ ที่ต่อเชื่อมกับระบบผลิตไฟฟ้า เช่น อุณหภูมิ ความดันไอน้ำหรือก๊าซ อัตราไหลของไอน้ำหรือก๊าซ ค่าระดับน้ำในหม้อไอน้ำ ค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้า กำลังผลิตเป็นเมกกะวัตต์ เป็นต้น

  4. ค่าไอเสีย หมายถึง ค่าวัดปริมาณไอเสียที่เกิดขึ้นภายหลังกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่เกิดขึ้น และถูกปล่อยออกสู่ปล่องไอเสีย ได้แก่ ปริมาณองค์ประกอบออกไซด์ของคาร์บอน ปริมาณองค์ประกอบของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ปริมาณองค์ประกอบของก๊าซไนโตรเจน จัดทำเป็นสถิติเพื่อรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ