หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-4-016ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจวัด เก็บข้อมูลการใช้พลังงานความร้อน วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงาน และจัดทำรายงานการจัดการพลังงานตามรูปแบบของกฎกระทรวงการอนุรักษ์พลังงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

1) มีความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตความร้อนตลอดกระบวนการผลิต

10411.01.01 148161
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

2) มีความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดในระบบผลิตความร้อน

10411.01.02 148162
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

3) ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตพลังงานความร้อนตลอดกระบวนการผลิต

10411.01.03 148163
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

4) ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานความร้อนตลอดกระบวนการผลิต

10411.01.04 148164
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

5) จัดทำบัญชีรายการกระบวนการผลิตย่อย เครื่องจักรหรือระบบที่ใช้พลังงานความร้อน

10411.01.05 148165
10411.01 ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการผลิตและใช้พลังงานความร้อน

6) ประเมินพื้นที่หรือเครื่องจักรมีนัยสำคัญของการใช้พลังงานความร้อน

10411.01.06 148166
10411.02 วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานความร้อน

1) กำหนดหน่วยการทำงานหรือหน่วยการผลิต (Functional Unit) ที่ตกลงเป็นมติของโรงงานหรือบริษัทเพื่อใช้ในการคำนวณดัชนีการใช้พลังงาน

10411.02.01 148167
10411.02 วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานความร้อน

2) วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตจากข้อมูลการใช้พลังงานความร้อน

10411.02.02 148168
10411.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

1) สำรวจความเป็นไปได้ในการดำเนินมาตรการด้านความร้อนสำหรับพื้นที่ที่มีนัยสำคัญ และพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้

10411.03.01 148169
10411.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

2) กำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

10411.03.02 148170
10411.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

3) จัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานด้านความร้อน 

10411.03.03 148171
10411.03 จัดทำเป้าหมายและแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

4) ดำเนินการจัดทำแผนฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

10411.03.04 148172
10411.04 จัดทำรายงานการจัดการพลังงานพลังงานตาม พ.ร.บ. การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550

1) จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน (Energy Management Report

10411.04.01 148173
10411.04 จัดทำรายงานการจัดการพลังงานพลังงานตาม พ.ร.บ. การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550

2) นำส่งรายงานต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามกำหนดระยะเวลา

10411.04.02 148174
10411.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานความร้อนให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ

1) ควบคุมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

10411.05.01 148175
10411.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานความร้อนให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ

2) ติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานตามมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

10411.05.02 148176
10411.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานความร้อนให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ

3) ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพตามหลักการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

10411.05.03 148177
10411.05 ควบคุมการดำเนินงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานความร้อนให้เป็นไปตามกฎหมาย/กฎระเบียบ

4) บันทึกผลการดำเนินงานและจัดประชุมรายงานผลการเนินงานต่อผู้บริหารและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

10411.05.04 148178

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด และตรวจประเมินการใช้พลังงานความร้อน

  2. มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน

  3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม

  4. มีทักษะในการวิเคราะห์หรือตีความเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน

  5. มีทักษะในการใช้ตรรกะและเหตุผลในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนและสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

  6. มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการพลังงานสู่ผู้ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

  7. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

  2. มีความรู้ด้านกระบวนการผลิต การใช้พลังงาน และเครื่องจักรในกระบวนการ

  3. มีความรู้ด้านเครื่องมือวัดด้านความร้อน การตั้งค่า การอ่านข้อมูล และการบันทึกผล และสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

  4. มีความรู้ด้านสมบัติของเชื้อเพลิง พลังงาน หน่วยวัด การแปลงค่า และการใช้ตารางสถิติพลังงานต่าง ๆ ในการคำนวณด้านพลังงาน

  5. มีความรู้ด้านวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และการใช้เครื่องมือนำเสนอผลงานเชิงสถิติ

  6. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์/ธุรกิจด้านพลังงาน สภาวะด้านการตลาด การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในประเทศและการนำเข้าพลังงาน

  7. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน หรือจัดการพลังงาน หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    • o ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    • o วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    • o ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ผู้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานความร้อน จะต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงานความร้อน แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจวัด เก็บข้อมูลการใช้พลังงานความร้อน วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงาน และจัดทำรายงานการจัดการพลังงานตามรูปแบบของกฎกระทรวงการอนุรักษ์พลังงานได้




  1. ดัชนีการใช้พลังงาน (Specific Energy Consumption: SEC) หมายถึง การใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตความร้อน

  2. การอนุรักษ์พลังงาน หมายถึง การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย การสร้างนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

  3. รายงานการจัดการพลังงาน (Energy Management Report) หมายถึง การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน ตาม พ.ร.บ. การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 อย่างถูกต้องและครบถ้วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตความร้อนและไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุง เจ้าหน้าที่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย





 



ยินดีต้อนรับ