หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-3-010ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้ โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการควบคุมระบบห้องเผาไหม้ สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ซ่อมบำรุงเบื้องต้น และปรับแต่งการเผาไหม้ให้สมบรูณ์อยู่เสมอ รวมถึงรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหา และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรายงานต่อหน่วยงานตามแผน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 กฎกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ.2554 ประกาศกรมภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

1) มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดในระบบการเผาไหม้

10404.01.01 148070
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

2) สามารถใช้เครื่องมือวัดในระบบการเผาไหม้ได้เป็นอย่างดี

10404.01.02 148071
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

3) มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเผาไหม้

10404.01.03 148072
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

4) มีความรู้ในการตรวจวัดองค์ประกอบหลังจากการเผาไหม้

10404.01.04 148073
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

5) วิเคราะห์ผลการตรวจวัด เพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้

10404.01.05 148074
10404.01 ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

6) บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

10404.01.06 148075
10404.02 ควบคุม/ปรับแต่ง การเผาไหม้ให้สมบูรณ์

1) มีความรู้เกี่ยวกับระบบการเผาไหม้ 

10404.02.01 148076
10404.02 ควบคุม/ปรับแต่ง การเผาไหม้ให้สมบูรณ์

2) มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตความร้อน 

10404.02.02 148077
10404.02 ควบคุม/ปรับแต่ง การเผาไหม้ให้สมบูรณ์

3) มีความรู้ในการควบคุมและปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิง

10404.02.03 148078
10404.02 ควบคุม/ปรับแต่ง การเผาไหม้ให้สมบูรณ์

4) ประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมคุณภาพการเผาไหม้

10404.02.04 148079
10404.03 ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

1) ตรวจสอบระบบห้องเผาไหม้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

10404.03.01 148080
10404.03 ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

2) ซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้และอุปกรณ์เบื้องต้น

10404.03.02 148081
10404.03 ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

3) ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุง ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพื่อให้ระบบเผาไหม้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

10404.03.03 148082

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการควบคุมระบบห้องเผาไหม้จากเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ หรือจากแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ

  2. มีทักษะทางวิศวกรรมและสามารถซ่อมบำรุงเบื้องต้น

  3. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกระบวนการเผาไหม้จากเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

  2. มีความรู้ความเข้าใจการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีและความร้อนของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบในระบบการเผาไหม้

  3. มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านเครื่องจักรกลเบื้องต้น

  4. มีความรู้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

  5. มีความรู้เรื่องกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

  6. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    • o ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    • o วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    • o ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ดำเนินงานด้านการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้ สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ซ่อมบำรุงเบื้องต้น และปรับแต่งการเผาไหม้ให้สมบรูณ์อยู่เสมอ รวมถึงรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหา และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรายงานต่อหน่วยงานตามแผน




  1. เทคโนโลยีผลิตความร้อน หมายถึง เทคโนโลยี Gas burner และเทคโนโลยี Hot oil

  2. การควบคุมคุณภาพการเผาไหม้ในเตาเผาและปรับแต่งการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ หมายถึง การควบคุม เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา อุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ และส่วนผสมระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศ ควบคุมการเติมออกซิเจน (O2) ได้แก่ เติม O2 ไม่เกินร้อยละ 3 สำหรับก๊าซชีวภาพ และเติม O2 ร้อยละ 5 สำหรับชีวมวล

  3. การตรวจสอบระบบเผาไหม้ หมายถึง การตรวจวัดองค์ประกอบของเชื้อเพลิง ไอเสียและผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการเผาไหม้ เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้

  4. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
เจ้าหน้าที่ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ