หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลการผสมวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-3-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลการผสมวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการดูแลการผสมวัตถุดิบ โดยต้องมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ กระบวนการป้อนวัตถุดิบ และประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมและป้อนวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

1) มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตความร้อน

10401.01.08 149283
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

2) มีความรู้เกี่ยวกับระบบป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

10401.01.09 149284
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

3) มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้นของวัตถุดิบ

10401.01.10 149285
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

4) วิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ

10401.01.11 149286
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

5) กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับการเผาไหม้

10401.01.12 149287
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

6) บันทึกผลการวิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ

10401.01.13 149288
10401.01 การป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

7) วางแผนการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการเผาไหม้

10401.01.14 149289
10401.02 ประสานงานกับฝ่ายจัดการคลังวัตถุดิบ

1) ประเมินความต้องการวัตถุดิบในการผลิตความร้อน

10401.02.04 149290
10401.02 ประสานงานกับฝ่ายจัดการคลังวัตถุดิบ

2) ประสานงานฝ่ายบริหารจัดการคลังวัตถุดิบ 

10401.02.05 149291
10401.02 ประสานงานกับฝ่ายจัดการคลังวัตถุดิบ

3) จดบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุดิบ

10401.02.06 149292

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อป้อนสู่กระบวนการผลิตความร้อน

  2. มีทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

  3. มีทักษะในการวิเคราะห์องค์ประกอบวัตถุดิบเบื้องต้น

  4. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านกระบวนการเผาไหม้และการผลิตความร้อนจากพลังงานชีวมวล

  2. มีความรู้ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบวัตถุดิบ

  3. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่ง

  4. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมด้านการจัดทำบัญชี เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการดูแลการผสมวัตถุดิบ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการดูแลการผสมวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    • o ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    • o วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    • o ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ดำเนินงานด้านการดูแลการผสมวัตถุดิบ ต้องมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบการเตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการเผาไหม้




  1. การเตรียมการป้อนวัตถุดิบ หมายถึง การลดขนาดวัตถุดิบให้เหมาะสม เช่น การบด การสับ และการร่อนแยกขนาด เป็นต้น การลดความชื้น การคัดแยกสิ่งเจอปน การผสมวัตถุดิบตามสัดส่วนการวิเคราะห์

  2. ระบบป้อนวัตถุดิบ หมายถึง ระบบลำเลียงแบบต่าง ๆ เข้าสู่ถังเก็บวัตถุดิบ (Silo) และกระบวนการผลิตความร้อน เช่น ระบบลำเลียงโดยลม (Pneumatic Conveyor) ระบบลำเลียงโดยสายพาน (Belt Conveyor) ระบบลำเลียงโดยโซ่ (Chain Conveyor) ระบบลำเลียงโดยกระพ้อ (Bucket Elevator) และ ระบบลำเลียงโดยเกลียวลำเลียง (Screw) เป็นต้น คุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้น ได้แก่ ค่าความชื้น (Moisture Content) ในวัตถุดิบ ค่าความร้อน (Calorific Value) สัดส่วนของคาร์บอนคงที่และสารระเหย (Proportion of Fixed Carbon and Volatile) สัดส่วนเถ้า (Ash/Residue Content) สัดส่วนโลหะอัลคาไล (Alkali metal) อัตราส่วนเซลลูโลส/ลิกนิน (Cellulose/Lignin Ratio)  และ ขนาดและความหนาแน่นรวม (Size and bulk density)

  3. เทคโนโลยีการเผาไหม้ หมายถึง เทคโนโลยี Gas burner และ Gas engine


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคลังวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการผลิต

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ