หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบขั้นต้นหลังการใช้งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-WOM-1-003ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบขั้นต้นหลังการใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรไอน้ำและหม้อน้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถบำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบขั้นต้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02203.01 ตรวจสอบระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 1. ดูระบบสูบน้ำดิบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02203.01.01 63302
02203.01 ตรวจสอบระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 2. ระบุความผิดปกติของระบบสูบน้ำดิบได้อย่างละเอียดครบถ้วน 02203.01.02 63303
02203.01 ตรวจสอบระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 3. ระบุสิ่งที่ต้องแก้ไขและซ่อมบำรุงระบบสูบน้ำดิบได้อย่างละเอียดครบถ้วน 02203.01.03 63304
02203.02 ทำความสะอาดระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 1. ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดได้อย่างถูกต้อง 02203.02.01 63305
02203.02 ทำความสะอาดระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 2. ทำความสะอาดได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ปฏิบัติงาน 02203.02.02 63306
02203.02 ทำความสะอาดระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน 3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนดความปลอดภัย 02203.02.03 63307
02203.03 หยอดน้ำมันหล่อลื่นหลังการใช้งาน 1. ใช้น้ำมันหล่อลื่นได้ถูกประเภทตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02203.03.01 63308
02203.03 หยอดน้ำมันหล่อลื่นหลังการใช้งาน 2. ใช้เครื่องมือในการหยอดน้ำมันหล่อลื่นได้ถูกต้อง 02203.03.02 63309
02203.03 หยอดน้ำมันหล่อลื่นหลังการใช้งาน 3. หยอดน้ำมันหล่อลื่นหรืออัดจาระบีที่จุดหมุนของระบบสูบน้ำดิบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02203.03.03 63310
02203.04 ยึดน็อตและสกรู ที่หลวมคลอนให้แน่น 1. ใช้เครื่องมือขันรั้งน็อตสกรู ได้อย่างถูกต้อง 02203.04.01 63311
02203.04 ยึดน็อตและสกรู ที่หลวมคลอนให้แน่น 2. ขันน็อตและสกรู ที่หลวมให้ครบทุกจุด 02203.04.02 63312
02203.04 ยึดน็อตและสกรู ที่หลวมคลอนให้แน่น 3. ขันน็อตและสกรูได้พอเหมาะ ไม่ทำลายตัวน็อตและสกรู 02203.04.03 63313
02203.05 เปลี่ยนอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้น 1. ใช้เครื่องมือในการเปลี่ยนอะไหล่ได้อย่างถูกต้อง 02203.05.01 63314
02203.05 เปลี่ยนอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้น 2. ถอดอะไหล่ที่สึกหรอได้อย่างถูกต้อง 02203.05.02 63315
02203.05 เปลี่ยนอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้น 3. ใส่อะไหล่ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02203.05.03 63316

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของเครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2) ทักษะในการ คาดการณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

3) ทักษะการใช้งานและซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้การใช้งานและซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น พื้นฐานช่าง

2) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบขั้นต้นหลังการใช้งาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การบำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบ คือ การตรวจสอบแก้ไขระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งานให้มีความพร้อมในการใช้งาน โดยหากเกิดมีความผิดปกติ ต้องดำเนินการ แก้ไขซ่อมบำรุงรักษาตามวิธีที่กำหนด ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัย

1) การตรวจความผิดปกติของระบบสูบน้ำดิบเบื้องต้น และวิธีการใช้อุปกรณ์ในการตรวจสอบความผิดปกติของระบบสูบน้ำดิบ มีดังนี้

1.1) ความดันด้านดูดและความดันด้านจ่าย โดยใช้เกจวัดความดันบวกและเกจวัดความดันลบ

1.2) การรั่วจากส่วนอัดที่กันรั่ว โดยการสังเกตด้วยสายตา

1.3) กระแสไฟฟ้าที่เข้ามอเตอร์ โดยใช้แอมมิเตอร์

1.4) การสั่นสะเทือนและเสียง โดยการจับด้วยมือหรือใช้หูฟัง

1.5) ปริมาณน้ำหล่อลื่นในเสื้อของรองลื่น โดยการสังเกตด้วยสายตาและการหมุนของแหวนน้ำมัน

2) ลักษณะของเครื่องสูบน้ำ

2.1) เครื่องสูบน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จาก ตำแหน่งหนึ่งไป ยังอีก ตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่า หรือในระยะทางที่ไกลออกไป เครื่องปั๊มน้ำในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากเดิม ที่ใช้พลังงานจาก แหล่งธรรมชาติมาเป็น การใช้พลังงานจากไอน้ำ จากเครื่องยนต์ และที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

ลักษณะของเครื่องสูบน้ำ และระบบการควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำ มีดังนี้

2.2) ลักษณะของเครื่องสูบน้ำแรงดันต่ำแบบ Horizontal pump (หัวปั๊มไม่เปียกน้ำ) และ Vertical (หัวปั๊มเปียกน้ำ) เป็นต้น

2.3) เครื่องสูบน้ำแรงดันต่ำแบ่งตามรอบการหมุน Fix speed pump (ปรับรอบการหมุนไม่ได้) และ Variable speed pump (ปรับรอบการหมุนได้)

2.4) อุปกรณ์วัดระดับน้ำประเภท Ultrasonic Level Detector และประเภท Electrical Floating Level Switch

2.5) การควบคุมการทำงานเครื่องสูบน้ำ แบบ Automatic – (ควบคุมการเดินและหยุดด้วยลูกลอยไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณถังเก็บน้ำใส) และแบบ Manual – (สั่งทำงานและหยุดเครื่องสูบน้ำได้อย่างอิสระจากลูกลอยไฟฟ้า)

3) อุปกรณ์ในการทำความสะอาดมีดังนี้ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดก้านมะพร้าว ที่โกยผง ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดไม้ถูพื้น แปรงสำหรับปัด/ขัดทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น

4) การหยอดน้ำมันหล่อลื่นหรืออัดจาระบีหลังการใช้งาน โดยการเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นให้ถูกประเภทตามข้อกำหนด และหยอดน้ำมันหล่อลื่นหรืออัดจาระบีที่จุดหมุนของระบบสูบน้ำดิบได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วน มีอุปกรณ์เบื้องต้น เช่น น้ำมันหล่อลื่น จาระบี อุปกรณ์การชั่ง ตวง เป็นต้น

5) การขันน็อตและสกรูที่หลวมคลอนให้แน่น และการเปลี่ยนอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้น โดยการใช้เครื่องมือในการขันน็อตและการเปลี่ยนอะไหล่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับงาน เครื่องมือที่ใช้สำหรับขันและไข มีดังนี้

5.1) ประแจ เป็นเครื่องมือในการขันหัวสกรูหรือนอต ประแจมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ เช่น ประแจปากตาย ประแจขอม้า ประแจแหวน ประแจบล็อก ประแจเลื่อน เป็นต้น

5.2) ไขควง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันหรือคายตระปูเกลียว ไขควงแต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายๆกัน คือ มีส่วนที่เป็นด้ามจับทำด้วยไม้หรือพลาสติก ส่วนที่เป็นไขควงจะเป็นเหล็กกลมหรือสี่เหลี่ยม เช่น ไขควงแบน ไขควงแฉก ไขควงบล็อก เป็นต้น  

6) การอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้นในระบบสูบน้ำดิบ โดยมีอะไหล่ดังนี้

6.1) ชุดปะเก็น โดยเปลี่ยนวัสดุชุดปะเก็นตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

6.2) ปลอกเพลาใต้ปะเก็น โดยตรวจว่ามีรอยขีดข่วนหรือไม่ ให้เปลี่ยนตามความจำเป็น

6.3) แบริ่ง โดยการตรวจแบริ่งและผิวของเพลาว่ามีการสึกหรือมีการกัดกร่อนหรือไม่ ให้กลับด้านแกนเพลา ถ้าผิวของแบริ่งมีรอยขูดขีด

7) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบสูบน้ำดิบขั้นต้นหลังการใช้งาน ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

8) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวงหรือการประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น

9) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการตรวจสอบระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน

1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดระบบสูบน้ำดิบหลังการใช้งาน

1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ค) เครื่องมือประเมินการหยอดน้ำมันหล่อลื่นหลังการใช้งาน

1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ง) เครื่องมือประเมินการยึดน็อตและสกรูที่หลวมคลอนให้แน่น

1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(จ) เครื่องมือประเมินการเปลี่ยนอะไหล่ที่สึกหรอเบื้องต้น

1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ