หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-065ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    จัดเก็บอุปกรณ์และเตรียมคัดแยกอุปกรณ์ให้ถูกต้องภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30403.01 คัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องคัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ 30403.01.01 63058
30403.01 คัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. คัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆ 30403.01.02 63059
30403.01 คัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. จัดหมวดหมู่ของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วยและอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์แยกบริเวณจัดเก็บเป็นสัดส่วน 30403.01.03 63060
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ 30403.02.01 63061
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. จัดเก็บอุปกรณ์ตามประเภทเป็นระเบียบและหมวดหมู่ 30403.02.02 63062
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. แยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจนในเขตสะอาดและในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ 30403.02.03 63063
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิดไม่ให้เปียกชื้น ใช้ระบบ First-in first-out 30403.02.04 63064
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาด 30403.02.05 63065
30403.02 จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 6. ตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อหากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile) 30403.02.06 63066

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจำแนกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย อุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์

2. การคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

3. การจัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการ

  แพทย์ที่ปราศจากเชื้อ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องคัดแยกอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

2. วิธีการคัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆ

3. วิธีการจัดหมวดหมู่ของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์แยกบริเวณจัดเก็บเป็นสัดส่วน

4. ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ชนิดต่างๆ

5. วิธีการจัดเก็บอุปกรณ์ตามประเภทเป็นระเบียบและหมวดหมู่

6. การแยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจน ในเขตสะอาดและในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ

7. การจัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่ให้เปียกชื้น ใช้ระบบ first-in first-out

8. การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาด  วิธีการตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ที่ปราศจากเชื้อ หากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile)



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการทดสอบความรู้

      (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

       (ง) วิธีการประเมิน

           1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

           2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน



15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

    คัดแยกประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ ชนิดต่างๆได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้กับผู้ป่วย,อุปกรณ์ทางการพยาบาลและทางการแพทย์ ซึ่งประเภทอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ แบ่งตามแนวคิดของ

   Dr. Sparulding ได้ 3 ประเภท ดังนี้

      1. Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาล หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องสอดใส่เข้าสู่เนื้อเยื่อที่ปราศจากเชื้อของร่างกายหรือเข้าสู่กระแสโลหิต อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เครื่องมือผ่าตัด เข็ม อวัยวะเทียม สายสวนหัวใจ สายสวนปัสสาวะ อุปกรณ์เหล่านี้ต้องได้รับการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อนสูงและความร้อนต่ำในอุปกรณ์ที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ เช่น การอบแก๊ส

      2. Semi Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเนื้อเยื่อบุของร่ายกาย (mucous membrane) หรือผิวหนังที่มีบาดแผล มีรอยถลอก อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องไม่มีเชื้อจุลชีพ อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ endoscope และอุปกรณ์ดมยาสลบ ปรอทวัดไข้ การทำลายเชื้อในอุปกรณ์ประเภทนี้ ควรทำลายเชื้อโดยวิธี การทำลายเชื้อระดับสูง (high level disinfection) โดยใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง ได้แก่ 2% glutaraldehyde หรือการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการอบแก๊สอุณหภูมิต่ำ เช่น การอบแก๊สแอทธีลีนออกไชด์ และแก๊สไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

      3. Non Critical items เป็นอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ที่ต้องสัมผัสผิวหนังตามปกติ ผิวหนังไม่มีบาดแผลถลอก ไม่ได้สัมผัสเยื่อบุร่างกาย อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ หม้อนอน เครื่องวัดความดันโลหิต ไม้ค้ำยัน ภาชนะใส่อาหาร โต๊ะข้างเตียง แว่นตา การทำลายเชื้อสามารถทำได้ในหอผู้ป่วยโดยใช้วิธี Low level disinfection   แยกเขตจัดเก็บอุปกรณ์อย่างชัดเจน ในเขตสะอาด และในเขตสะอาดปราศจากเชื้อ ซึ่งเขตสะอาด หมายถึง เขตที่เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลต่างๆประเภทที่ 3 เขตสะอาดปราศจากเชื้อ หมายถึง เขตที่เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลต่างๆประเภทที่ 1 และ 2   จัดเก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่ให้เปียกชื้น ใช้ระบบ   First-in first-out (FIFO) หมายถึง อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อก่อน ควรถูกนำไปใช้ก่อน ซึ่งเป้นการจัดเก็บอุปกรณ์เพื่อสะดวกในการหยิบใช้อาจจัดเป็นระบบซ้ายไปขวา หรือหน้าไปหลัง คือ อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อมาใหม่จัดเรียงไว้ด้านซ้าย หรือด้านหลังของชั้นวางของ เมื่อหยิบอุปกรณ์ไปใช้ให้หยิบด้านขวาก่อน หรือหยิบด้านหน้าก่อน ขึ้นอยู่กับระบบที่จัดวางตามนโยบายของหน่วยงาน จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วยในเขตสะอาดตามนโยบายของหน่วยงาน 

    ซึ่งระบบการเก็บอุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบคือ

        1. Open shelving เป็นวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไป เพราะประหยัด ทำความสะอาดง่าย สะดวกในการหยิบจับอุปกรณ์ และไม่เปลืองพื้นที่ ชั้นวางของควรออกแบบให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 8 นิ้วฟุต และวางให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 2 นิ้วฟุต ห่างจากเพดานอย่างน้อย 18 นิ้วฟุต ชั้นวางของควรอยู่ห่างจากอ่างล้างมือ หน้าต่าง ประตู และช่องระบายอากาศ

        2. Closed shelving ระบบปิดหรือตู้ สามารถเก็บอุปกรณ์จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนได้ดีกว่าชั้นวางของ แต่มีราคาแพงกว่าชั้นวางของ ส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อย บริเวณที่เก็บห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อควรทำความสะอาดให้ดีที่สุดเพราะฝุ่นละออง แมลง และสัตว์กัดแทะอาจนำเชื้อจุลชีพสู่ห่ออุปกรณ์ได้ ควรทำความสะอาดพื้นทุกวัน บริเวณที่ปฏิบัติงานควรเช็ดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ ชั้นและภาชนะบรรจุห่ออุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อ ควรเช็ดให้สะอาดเป็นประจำ ขณะทำความสะอาดชั้นวางของควรหยิบจับห่ออุปกรณ์ให้น้อยที่สุด และเมื่อทำความสะอาดชั้นวางของควรรอให้พื้นแห้งก่อนที่จะนำห่ออุปกรณ์ไปวาง ควรตรวจดูและทำความสะอาดเพดาน ช่องระบายอากาศ หลอดไฟ พัดลมดูดอากาศ เป็นระยะๆ รถที่นำส่งอุปกรณ์ควรล้างทำความสะอาดเป็นประจำ

   บริเวณที่เหมาะสมในการเก็บห่ออุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วมีลักษณะ ดังนี้

    1. เป็นบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีลมพัดผ่าน

    2. ควรอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำให้ปราศจากเชื้อ และควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 18-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพันธ์ 35-70%

    3. อยู่ห่างจากอ่างล้างมือ อ่างล้างเครื่องมือ หรือท่อประปา

    4. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย การทำความสะอาดควรใช้วิธีเช็ดถู  ตรวจสอบวันหมดอายุของอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ปราศจากเชื้อ หากหมดอายุบันทึกจำนวนส่งหน่วยจ่ายกลางเพื่อทำให้ปราศจากเชื้ออีกครั้ง (Re-sterile) วันหมดอายุนี้กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล ซึ่งตามหลักการกำหนดระยะการเก็บวันหมดอายุของอุปกรณ์/เครื่องมือ (เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 18-22 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 35-70% และไม่มีลมพัดผ่าน) โดยกำหนดมาตรฐาน ดังนี้

     1. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำห่อผ้า 2 ชั้น มีกำหนดวันหมดอายุ 14 วัน

     2. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำห่อผ้า 2 ชั้น ใส่ถุงพลาสติก มีกำหนดวันหมดอายุ 45 วัน

     3. วิธีนึ่งด้วยไอน้ำใส่ซองพลาสติกอีกด้านหนึ่งเป็นกระดาษ มีกำหนดวันหมดอายุ 45 วัน

     4. วิธีนึ่งอบแก๊ส EO และ Plasma ใส่ซองพลาสติกอีกด้านหนึ่งเป็นกระดาษ มีกำหนดวันหมดอายุ 1 ปี

   (ก) คำแนะนำ

       ไม่มี

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

       1. เขตเก็บของปราศจากเชื้อ (Sterile storage zone) หมายถึง เขตที่จัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการพยาบาลและการแพทย์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อ

       2. เขตสะอาด (Clean Zone) หมายถึง สำนักงาน ห้องพักบุคลากร ห้องประชุม และบริเวณจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปสำหรับผู้ป่วย



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ