หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-063ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    จัดการอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ได้แก่ จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ จัดลำดับการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ จัดลำดับการเก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ ดูแลวัสดุอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30401.01 จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้เรื่องการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ 30401.01.01 63029
30401.01 จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. จำแนกประเภทอุปกรณ์เป็นหมวดหมู่ 30401.01.02 63030
30401.01 จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. บันทึกข้อมูลอุปกรณ์ 30401.01.03 63031
30401.01 จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. บันทึกการเบิกจ่ายเพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง 30401.01.04 63032
30401.01 จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. บันทึกประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง 30401.01.05 63033
30401.02 จัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้เรื่องการจัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ 30401.02.01 63034
30401.02 จัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. ตรวจสอบประเภทและจำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเบิกจ่าย 30401.02.02 63035
30401.02 จัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. เบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ถูกต้องตามประเภทและจำนวนให้ครบถ้วน 30401.02.03 63036
30401.02 จัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. บันทึกการเบิกจ่ายลงในสมุดทะเบียนเบิกจ่ายได้ถูกต้อง 30401.02.04 63037
30401.03 จัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้เรื่องการจัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ 30401.03.01 63038
30401.03 จัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2.จัดเรียงอุปกรณ์ตามประเภทเป็นหมวดหมู่ คำนึงถึงความสะดวกความถี่ในการใช้งาน และวันหมดอายุ 30401.03.02 63039
30401.03 จัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. ลงรหัส อุปกรณ์เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเบิกจ่าย 30401.03.03 63040
30401.03 จัดลำดับการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4.บันทึกข้อมูลในทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน 30401.03.04 63041
30401.04 ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้เรื่องการดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ 30401.04.01 63042
30401.04 ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. คัดแยกวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมบำรุง 30401.04.02 63043
30401.04 ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. เบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง 30401.04.03 63044
30401.04 ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. ติดตามการซ่อมบำรุงและการเบิกจ่ายทดแทน 30401.04.04 63045
30401.04 ดูแลวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5.บันทึกข้อมูลในสมุดทะเบียนการส่งซ่อมและตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์หลังซ่อม 30401.04.05 63046

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ขั้นตอนในการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์

2. การจัดลำดับการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์

3. การจำแนกประเภทวัสดุอุปกรณ์ทางการพยาบาลและการแพทย์

4. การตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ

5. การคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

6.การลงรหัส บันทึกข้อมูลวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ

7. การประสานงานหน่วยงานที่ส่งซ่อมบำรุงและเบิกจ่ายทดแทนวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ

8. การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ตามหลักความสะดวก ความถี่ในการใช้งาน และวันหมดอายุ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องการจัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

2. การจำแนกประเภทอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆเป็นหมวดหมู่

3. การบันทึกข้อมูลอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

4. การบันทึกการเบิกจ่ายเพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง

5. การบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง

6. ความรู้เรื่องการจัดลำดับการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

7. วิธีการตรวจสอบประเภทและจำนวนอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆที่ต้องเบิกจ่าย

8. วิธีการเบิกจ่ายอุปกรณ์การรักษา พยาบาลชนิดต่างๆถูกต้องตามประเภทและจำนวนให้ครบถ้วน

9. วิธีการบันทึกการเบิกจ่ายลงในสมุดทะเบียนเบิกจ่ายได้ถูกต้อง

10. ความรู้เรื่องการเก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆ

11. ความรู้เรื่องการดูแลอุปกรณ์การรักษา พยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้

12. วิธีการตรวจสอบอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่างๆให้พร้อมใช้งาน

13. วิธีการคัดแยกวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมบำรุง

14. วิธีการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อทดแทนกรณีชำรุดจนไม่สามารถซ่อมบำรุง

15. การติดตามการซ่อมบำรุงและการเบิกจ่ายทดแทน

16. การบันทึกข้อมูลในสมุดทะเบียนการส่งซ่อม



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

       2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

       3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

       4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      ผลการทดสอบความรู้

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน     

      ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

   (ง) วิธีการประเมิน

      1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

     2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน



15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

    จัดทำทะเบียนข้อมูลอุปกรณ์ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ได้แก่ คุณสมบัติ จำนวน วันจัดซื้อ ราคา, วันจำหน่าย ฯลฯ

   (ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        วัสดุอุปกรณ์ทางการพยาบาลและการแพทย์ หมายถึง ครุภัณฑ์การแพทย์, วัสดุการแพทย์, เวชภัณฑ์ มิใช่ยา วัสดุที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้ายางผ้าขวางเตียง ฯลฯ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ