หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-056ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการให้มีความปลอดภัยกับผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ มีการเฝ้าระวังอุบัติเหตุ และภัยต่างๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด 30202.01.01 62942
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. ล้างมือก่อนและหลังดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง 30202.01.02 62943
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. สวมอุปกรณ์หรือใช้เครื่องมือการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างถูกต้อง 30202.01.03 62944
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. หยิบจับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ได้ตามมาตรฐานเทคนิคการปลอดเชื้อ 30202.01.04 62945
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้แล้วกับผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานของหน่วยงานเพื่อส่งต่อไปที่หน่วยจ่ายกลาง 30202.01.05 62946
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 6. คัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อได้ตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด 30202.01.06 62947
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 7. คัดแยกผ้าติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด 30202.01.07 62948
30202.01 ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 8. คัดแยกขยะติดเชื้อได้ตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด 30202.01.08 62949
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 30202.02.01 62950
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. ช่วยจับพยุงผู้ป่วยลุกนั่ง อย่างระวังและจัดท่าทางให้ถูกต้องโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 30202.02.02 62951
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียงที่ช่วยตัวเองไม่ได้หรือผู้สูงอายุและเด็ก 30202.02.03 62952
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. ตรวจตรา หรือสำรวจพื้นบริเวณรอบๆ เตียงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการไม่เปียกน้ำหรือลื่น ต้องทำให้แห้งอยู่เสมอ 30202.02.04 62953
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. แนะนำผู้ป่วยให้กดสัญญาณเรียกพยาบาล เวลาต้องการความช่วยเหลือ 30202.02.05 62954
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 6. สังเกตบุคคลที่มาเยี่ยม และใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นคนแปลกหน้าพร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อเกิดความสงสัย 30202.02.06 62955
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 7. เฝ้าระวังป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายในบริเวณรอบเตียงผู้ป่วย 30202.02.07 62956
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 8. สังเกตสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย 30202.02.08 62957
30202.02 เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 9. สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย 30202.02.09 62958

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การล้างมือให้ถูกวิธี

2. การเตรียมอุปกรณ์ในการเปิดห่อของใช้ที่ปราศจากเชื้อ (Set sterile) ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

3. ปฏิบัติขั้นตอนในการเปิดห่อของเครื่องใช้ที่ปราศจากเชื้อ (Set sterile) ได้ถูกต้อง และตามเวลา ที่กำหนด 

4. การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อ

5. การใช้หยิบจับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ตามมาตรฐานเทคนิคการปลอดเชื้อ

6. การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้แล้วกับผู้ป่วยตามมาตรฐานของหน่วยงาน เพื่อส่งต่อไปที่หน่วยจ่ายกลาง

7. การคัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงาน กำหนด

8. การคัดแยกผ้าติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

9. การเฝ้าระวังภัยต่างๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด

2. หลักการล้างมือก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย

3. เทคนิคการสวมอุปกรณ์หรือการใช้เครื่องมือการแพร่กระจายเชื้อ

4. เทคนิคการหยิบ จับ ส่งต่อ และใช้อุปกรณ์ตามเทคนิคปลอดเชื้อ

5. การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนจัดส่งไปหน่วยจ่ายกลาง

6. หลักการคัดแยกอุปกรณ์ติดเชื้อและวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

7. วิธีการคัดแยกผ้าที่ติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกัน และการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

8. วิธีการคัดแยกขยะติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่หน่วยงานกำหนด

9. ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและภัยที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

10. ความรู้ในการจับพยุงผู้ป่วย ลุก นั่ง และการระวังการตก หรือหกล้ม

11. การระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการตกเตียงโดยยกไม้กั้นเตียงขึ้น

12. การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากพื้นเปียกน้ำหรือลื่น

13. วิธีการใช้สัญญาณเรียกพยาบาล เมื่อต้องการความช่วยเหลือ

14. การแนะนำผู้ป่วยและญาติเฝ้าระวังบุคคลแปลกหน้า

15. การเฝ้าระวังการป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ได้แก่ มด

แมลงสาบ หนู เป็นต้น

16. การตรวจตราเกี่ยวกับไฟฟ้า สายไฟ ปลั๊กไฟ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับบุคคลอื่นๆ

17. รายงานเมื่อพบพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายให้กับพยาบาลทราบ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

      2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

      3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

      4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      ผลการทดสอบความรู้

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน     

       ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

   (ง) วิธีการประเมิน

      1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

     2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน



15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

    มีความรู้ และการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ มีการป้องกันตนเอง โดยการล้างมือก่อน และหลังดูแลผู้ป่วย การใช้สวมอุปกรณ์ หรือใช้เครื่องมือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การขัดแยกขยะติดเชื้อ การเฝ้าระวังอุบัติเหตุ และภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

    สังเกตบุคคลที่มาเยี่ยม และใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นคนแปลกหน้า พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อเกิดความสงสัย โดยการสังเกตท่าทาง บุคลิก และพฤติกรรม ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจมีพิรุธ ให้รีบแจ้งพยาบาลวิฃาชีพทราบทันที

    เฝ้าระวังป้องกันและช่วยกำจัดสัตว์ร้ายหรือแมลงที่เป็นอันตรายในบริเวณรอบเตียงผู้ป่วย โดยการสังเกตมด ยุง แมลงวัน เห็บ เหา ไร เป็นต้น และให้การป้องกันเบื้องต้น คือ การไล่แมลงวัน และมด ไล่ยุงโดยใช้ยากันยุงไฟฟ้า ส่งผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าขวาง เป็นต้นไปทำความสะอาดเพื่อป้องกันมิให้เห็บ เหา ไร ทำอันตรายผู้ป่วย

    สังเกตสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น สารเคมี ไฟฟ้า และอื่นๆ ถ้ามีความผิดปกติ เช่นมีกลิ่นสารเคมี แก๊สรั่ว มีประกายไฟ ให้รีบแจ้งพยาบาลวิฃาชีพทราบทันที

     สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น ภาวะซึมเศร้า เหม่อลอย ไม่พูดไม่จากับใคร เก็บตัวเงียบ หรือเอะอะก้าวร้าว เป็นต้น

     (ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อตามคู่มือที่หน่วยงานกำหนด หมายถึงหน่วยงานกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามาตรฐานการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อ

          2. เฝ้าระวังอุบัติเหตุและภัยต่างๆที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหมายถึง การดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยด้านร่างกาย จิตใจ และภัยจากสิ่งต่างๆ เช่น กำจัดสัตว์แมลงร้าย กำจัดสารเคมี



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ