หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-054ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยเกี่ยวกับการจัดท่านอน การเคลื่อนย้าย และการเปลี่ยนผ้าปูเตียงและเครื่องนอนของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30102.01 ช่วยดูแลการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 1. มีความรู้ที่ถูกต้องในการจัดท่านอนให้ผู้ป่วย 30102.01.01 62910
30102.01 ช่วยดูแลการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. ช่วยเตรียมอุปกรณ์ในการจัดท่านอนได้ถูกต้อง 30102.01.02 62911
30102.01 ช่วยดูแลการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดท่านอนหงายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 30102.01.03 62912
30102.01 ช่วยดูแลการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 4. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดท่านอนหงายศีรษะสูง (Fowler’sposition)ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 30102.01.04 62913
30102.01 ช่วยดูแลการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 5. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดท่านอนตะแคงซ้ายและ/หรือตะแคงขวาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 30102.01.05 62914
30102.02 ช่วยดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 1. มีความรู้ที่ถูกต้องในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 30102.02.01 62915
30102.02 ช่วยดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายจากเตียงนอนไปรถเข็นนอนได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย 30102.02.02 62916
30102.02 ช่วยดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายจากเตียงนอนไปรถเข็นนั่งได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย 30102.02.03 62917
30102.02 ช่วยดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 4. ช่วยเหลือผู้ป่วยเดินโดยการพยุงและหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย 30102.02.04 62918
30102.03 ดูแลเปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนของผู้ป่วย 1. มีความรู้ที่ถูกต้องในการปูเตียงว่าง 30102.03.01 62919
30102.03 ดูแลเปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนของผู้ป่วย 2. จัดเตรียมอุปกรณ์ได้ครบถ้วน 30102.03.02 62920
30102.03 ดูแลเปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนของผู้ป่วย 3. เปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและจัดเครื่องนอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 30102.03.03 62921
30102.03 ดูแลเปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนของผู้ป่วย 4. เก็บผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนที่ใช้แล้วโดยใช้หลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 30102.03.04 62922

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เตรียมอุปกรณ์ปูเตียงว่างและเครื่องนอนได้ถูกต้องครบถ้วน

2. การปฏิบัติการปูเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยได้ถูกต้องและตามเวลาที่กำหนด

3. การช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยเกี่ยวกับการจัดท่านอน การเคลื่อนย้าย และการเปลี่ยนผ้าปูเตียงและเครื่องนอนของผู้ป่วย


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วัตถุประสงค์ในการจัดท่านอน

2. หลักการจัดท่านอน

3. ประเมินผู้ป่วยหลังการจัดท่านอน 

4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดท่านอน

5. วิธีการและขั้นตอนในการจัดท่านอนหงาย

6. วัตถุประสงค์ในการจัดท่านอนหงายศีรษะสูง

7. วิธีการจัดท่านอนหงายศรีษะสูง

8. วิธีการจัดท่านอนตะแคงซ้ายและ/หรือตะแคงขวา

9. หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

10. ขั้นตอนการปฏิบัติการเคลื่อนย้ายจากเตียงสู่รถนอน

11. วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็น

12. หลักการใช้เครื่องพยุง และ/หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน

13. วิธีการใช้เครื่องพยุงเดิน

14. วัตถุประสงค์ในการใช้เตียงว่าง

15. วิธีการทำเตียงว่าง

16. ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเตียงว่าง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

       2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

       3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

       4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       1. ผลการทดสอบความรู้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

   (ง) วิธีการประเมิน

       1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

       2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

       ช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล คือ  การช่วยดูแลการจัดท่านอนหงาย นอนหงายศีรษะสูง นอนตะแคงซ้ายหรือขวาให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย  ช่วยดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมายคือ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนไปรถเข็นนอนเตียงนอนไปรถเข็นนั่ง และการพยุงและหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย ดูแลเปลี่ยนผ้าปูเตียงว่างและเครื่องนอนของผู้ป่วยโดยมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าขวางเตียง ผ้ายาง ผ้าห่ม เป็นต้น

       (ก) คำแนะนำ

           ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

            1. การจัดท่านอนให้ผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขสบาย เพื่อความสะดวกในการดูแลและให้การพยาบาล และเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรพลิกตะแคงตัวหรือเปลี่ยนท่าอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง

           2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หมายถึง การช่วยเหลือผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีการต่างๆ เช่น การพลิก การยก การพยุง และการใช้อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย เป็นต้นโดยจะต้องอาศัยทักษะเพื่อการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายไปได้ในท่าที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ