หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมแซมเครื่องเครื่องมือประมงประเภทอวนลอย (Gill Seine)

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-MFT-2-014ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมแซมเครื่องเครื่องมือประมงประเภทอวนลอย (Gill Seine)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักประมงอวนลอย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอยได้สามารถผูกเงื่อน ต่อเชือก และโซ่ได้ และมีทักษะในการซ่อมแซมอวนลอยได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    - ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล    - ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก    - ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FG11401 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอย 1.1 ระบุอุปกรณ์ช่วยซ่อมแซมอวนลอย FG11401.01 62647
FG11401 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอย 1.2 ระบุชนิด, ขนาดของเนื้ออวนที่ใช้ในอวนลอย FG11401.02 62648
FG11401 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอย 1.3 ระบุชนิด, ขนาดของด้ายและเชือกที่ใช้ในอวนลอย FG11401.03 62649
FG11401 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอย 1.4 ระบุชนิด, ขนาดของทุ่นลอยและตะกั่วถ่วงที่ใช้ในอวนลอย FG11401.04 62650
FG11401 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลอย 1.5 จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ซ่อมแซมเครื่องมือประมงอวนลอย ขณะปฏิบัติงานในทะเล FG11401.05 62651
FG11402 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และโซ่ 2.1 ใช้เงื่อนที่สำคัญในการทำประมง FG11402.01 62652
FG11402 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และโซ่ 2.2 ต่อเชือกด้วยวิธีการแทงเชือก FG11402.02 62653
FG11402 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และโซ่ 2.3 ทำหัวเชือก FG11402.03 62654
FG11402 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และโซ่ 2.4 แทงบ่วงเชือก FG11402.04 62655
FG11403 ซ่อมแซมอวนลอย 3.1 เลือกใช้อุปกรณ์เย็บอวน FG11403.01 62656
FG11403 ซ่อมแซมอวนลอย 3.2 ตัดอวน FG11403.02 62657
FG11403 ซ่อมแซมอวนลอย 3.3 เย็บอวน FG11403.03 62658
FG11403 ซ่อมแซมอวนลอย 3.4 ต่อตาอวน FG11403.04 62659

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    - N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    - ทักษะการซ่อมแซมอวนลอย 

    - ทักษะการใช้เครื่องมือช่าง 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    - เครื่องมือประมงอวนลอยของไทย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การซ่อมแซมเครื่องมือประมงประเภทอวนลอยภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตเริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม  การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม การลงมือซ่อมแซมที่ถูกต้องตามหลักการ ทั้งในเรื่องของการเย็บตาอวน การต่อตาอวน การใช้เงื่อนที่จำเป็นและถูกต้อง รวมไปถึงการต่อเชือก และการแทงเชือก 

(ก) คำแนะนำ 

    - ผู้ปฏิบัติงานควรมีความรู้เรื่องการซ่อมระบบไฟส่องสว่างในการทำประมง

    - ศึกษาและทำความเข้าใจแบบแปลนของเครื่องมืออวนลอยที่ใช้ทำประมง

    - ทำความความเข้าใจเรื่อง การตัดต่อเชือก เนื้ออวน และสลิง

    - ควรรู้จักอุปกรณ์ช่วยนการซ่อมแซมจำพวก ชะโด ไม้ขัดตาอวน คีม และใช้งานได้อย่างปลอดภัย

    - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    - เครื่องมือประมงประเภทอวนลอยเป็นอวนติดตาประเภทหนึ่ง คือเครื่องมือทำการประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการใช้เครื่องมือจะวางอวนขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน การใช้เครื่องมือไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้ทำการประมง ได้หลายสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีหินใต้น้ำหรือพื้นที่ราบเรียบ น้ำลึกและน้ำตื้น ผิวน้ำหรือหน้าดิน และ ใช้ได้ในเวลากลางวันและกลางคืน

    - ในการออกแบบอวนโดยเฉพาะอวนที่มีลักษณะคล้ายถุงซึ่ง จำเป็นต้องใช้เนื้ออวนหลายชิ้นประกอบกัน แต่ละชิ้นก็มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องทราบถึงวิธีการตัดอวนเพื่อให้ได้ลักษณะของอวนตามที่ต้องการ ซึ่งในการตัดอวนนี้มีวิธีการตัดอยู่ 3 วิธีคือ 1) การตัดตา (Mesh cutting) เป็นการตัดครั้งหนึ่ง 2 ขา และสามารถเคลียร์ปมได้ 2) การตัดปม (Point Cutting) เป็นการตัดครั้งหนึ่ง 2 ขา เมื่อเคลียร์ปมแล้วขาอวนจะขาดจากกัน 3. การตัดขา (Bar Cutting) เป็นการตัดครั้งละ 1 ขาอวน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการทำงาน



ยินดีต้อนรับ