หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาส่วนต่างๆ ของเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-FIH-2-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาส่วนต่างๆ ของเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ลูกเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถบำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือและบำรุงรักษาตัวเรือได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.1 จำแนกประเภทและชนิดต่างๆ ของสมอและโซ่สมอ NF20201.01 62308
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.2 ระบุความสำคัญและลักษณะเด่นของฝาระวางแต่ละแบบได้ NF20201.02 62309
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.3 บำรุงรักษาเชือกในการยึดเรือและเข้า-ออกเทียบได้ NF20201.03 62310
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.4 บำรุงรักษากว้านเชือก NF20201.04 62311
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.5 บำรุงรักษากว้านสมอ NF20201.05 62312
NF20201 บำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือ 1.6 บำรุงรักษาพุกในการผูกยึดเรือได้ NF20201.06 62313
NF20202 บำรุงรักษาตัวเรือ 2.1 บอกการสึกกร่อนและวิธีการป้องกันได้ NF20202.01 62314
NF20202 บำรุงรักษาตัวเรือ 2.2 ทาสีบนเรือ NF20202.02 62315

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการใช้เชือก

  • ทักษะในการใช้เครื่องมือช่าง/เครื่องมือบำรุงรักษาพื้นฐาน

  • ทักษะการใช้กว้านเชือกและกว้านสมอ

  • ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • พื้นฐานการกัดกร่อนและการสึกกร่อน

  • โครงสร้างของเรือประมง เช่น ตัวเรือ เสากระโดงเรือ ระวางเรือ เป็นต้น

  • การบำรุงรักษาเรือประมงเบื้องต้น

  • ความรู้ทางด้านกฏความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนเรือประมง โดยกรมสวัสดิการและะฝีมือแรงงาน เป็นต้น  

  • การใช้สี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การบำรุงรักษาภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีความครอบคลุมถึงกิจกรรมหรืองานที่มีเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ บนเรือประมง ทั้งกว้าน สมอเรือ ฝาระวางเรือ ให้อยู่ในสภาพปกติ รวมไปจนถึงงานหรือกิจกรรมในด้านการทําความสะอาด การหล่อลื่น และการเฝ้าติดตาม



คำแนะนำ




  • ศึกษากฎข้อบังคับด้านการบำรุงรักษาและความปลอดภัยของเรือ

  • ในระหว่างการปฏิบัติงานบำรุงรักษา ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล

  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • กว้าน เป็นเครื่องมือสำคัญของเรือประมง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการผ่อนแรงสำหรับการยกอวนพร้อมสัตว์น้ำขึ้นจากทะเล กว้านของเรือประมง แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน กว้านหลักของเรือลากแผ่นตะเฆ่และเรืออวนล้อม จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของเรือ แต่จะมีขนาดและจำนวนที่ต่างกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์

  • การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ