หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้ายามเรือเดิน และยามเรือจอด

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-FIH-3-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้ายามเรือเดิน และยามเรือจอด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ลูกเรือประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถเลือกใช้อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือช่วยจับปลาที่เหมาะสมได้ มีทักษะในการควบคุมอุปกรณ์เดินเรือ อุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องมือช่วยจับปลา สามารถปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจเรียกนักเดินเรือประมงหรือนายเรือหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหาในการเดินเรือได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิขย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
  ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456  หมวดที่ 3 ว่าด้วยหน้าที่นายเรือเมื่อเวลาเรือเข้ามาหรือออกจากน่านน้ำไทย มาตรา 17-28 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปี พ.ศ.2522 หมวด ค. ว่าด้วยโคมไฟและทุ่นเครื่องหมาย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
NF10201 ใช้อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือช่วยจับปลา 1.1 ใช้สัญญานไฟเดินเรือบนสะพานเดินเรือ NF10201.01 62218
NF10201 ใช้อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือช่วยจับปลา 1.2 เปิด / ปิดและใช้งานแผนที่อิเลคทรอนิคส์ในขณะเข้ายาม NF10201.02 62219
NF10201 ใช้อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือช่วยจับปลา 1.3 ใช้งานเรดาร์เพื่อการเข้ายาม NF10201.03 62220
NF10201 ใช้อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือช่วยจับปลา 1.4 ตรวจสอบว่าอุปกรณ์เฝ้าติดตามเรือ (VesselMonitoring System) มีการเปิดและทำงาน NF10201.04 62221
NF10202 ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องมือช่วยจับปลา 2.1 ใช้เครื่องมือสื่อสารกับสถานีชายฝั่งในขณะเข้ายาม NF10202.01 62203
NF10202 ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องมือช่วยจับปลา 2.2 อ่านและเข้าใจทิศหัวเรือจากเข็มทิศแม่เหล็กหรือเข็มทิศไจโร NF10202.02 62204
NF10202 ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องมือช่วยจับปลา 2.3 ควบคุมและเปิด/ ปิดสัญญานไฟเดินเรือบนสะพานเดินเรือ NF10202.03 62205
NF10202 ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องมือช่วยจับปลา 2.4 อ่านและเข้าใจเครื่องมือวัดทางทะเลอื่นๆที่ติดตั้งบนสะพานเดินเรือ NF10202.04 62206
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.1 เข้ายามเรือเดิน-เรือจอดในเวลากลางวัน NF10203.01 62207
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.2 เข้ายามเรือเดิน-เรือจอดในเวลากลางคืน NF10203.02 62208
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.3 ลงบันทึกสมุดปูมเรือ NF10203.03 62209
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.4 ลงบันทึกการจับสัตว์น้ำตามแบบฟอร์มของกรมประมง NF10203.04 62210
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.5 เข้าเวรสมอและลงบันทึกการเปลี่ยนแปลงตำบลที่ในสมุดปูมเรือ NF10203.05 62211
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.6 ประเมินสภาพอากาศและสภาพทะเลจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาและแหล่งข้อมูลอื่นๆในขณะเข้ายาม NF10203.06 62212
NF10203 ปฏิบัติการหลักการพื้นฐานของการเข้ายามเรือเดิน-เรือจอด 3.7 ปฏิบัติตามสัญญาณไฟ ธงทัศนสัญญาณหวูดและแสง NF10203.07 62213
NF10204 ประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจเรียกนายเรือหรือนักเดินเรือประมงหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหาในการเดินเรือ 4.1 ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่มีการจราจรคับคั่งเพื่อตัดสินใจเรียกนักเดินเรือประมงหรือนายเรือหรือไต้ก๋งช่วยในการแก้ปัญหา NF10204.01 62214
NF10204 ประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจเรียกนายเรือหรือนักเดินเรือประมงหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหาในการเดินเรือ 4.2 ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่จับสัตว์น้ำไม่ได้เพื่อตัดสินใจเรียกนักเดินเรือประมงหรือนายเรือหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหา NF10204.02 62215
NF10204 ประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจเรียกนายเรือหรือนักเดินเรือประมงหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหาในการเดินเรือ 4.3 ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่มีสภาพอากาศเลวร้ายเพื่อตัดสินใจเรียกนักเดินเรือประมงหรือนายเรือหรือไต้ก๋งช่วยในการแก้ปัญหา NF10204.03 62216
NF10204 ประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจเรียกนายเรือหรือนักเดินเรือประมงหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหาในการเดินเรือ 4.4 ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆเพื่อตัดสินใจเรียกนักเดินเรือประมงหรือนายเรือหรือไต้ก๋ง ช่วยในการแก้ปัญหา NF10204.04 62217

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

  • ทักษะการใช้อุปกรณ์เดินเรือและอุปกรณ์สื่อสาร

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางทะเลอื่นๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้พื้นฐานการใช้ทัศนสัญญานในการเดินเรือ

  • ความรู้พื้นฐานการใช้งานเข็มทิศ และกำหนดทิศหัวเรือ

  • ความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสาร เช่น การเรืยกสถานีชายฝั่ง การแสดงชื่อเรือของตน

  • วิธีการบันทึกปูมเรือ ของกรมเจ้าท่า

  • วิธีการอ่านแผนที่อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ตีความ ประเมินการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

  • หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

  • แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

  • เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



วิธีการประเมิน




  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           การเข้ายามเรือเดิน และยามเรือจอด (Watch keeping) ครอบคลุมถึง การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมและดูแลการเดินเรือ และตำบลที่เรือในขณะเรือจอด ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย ตามแผนการเดินเรือและข้อบังคับต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ และการปฏิบัติเท่าที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือและชีวิตบนเรือ



คำแนะนำ




  • หลักการเข้าเวรเรือเดิน-เรือจอดให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456




  • ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)



คำอธิบายรายละเอียด




  • ระบบติดตามเรือ (Vessel Monitoring System; VMS) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเรือที่ออกปฏิบัติงานอยู่กลางทะเลกับเจ้าของเรือและศูนย์ปฏิบัติการ VMS ที่อยู่บนฝั่ง ด้วยการส่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเรือประมง (Embedded Tracking Unit - ETU) แล้วส่งสัญญาณมายังหน่วยรับที่ติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ภาครับหรือเครื่องควบคุมระบบที่อยู่บนฝั่งที่ศูนย์ปฏิบัติการ (Monitoring & Controlling Center - MCC) เพื่อบอกให้ทราบถึงตำแหน่งปัจจุบันของเรือ คามเร็วและทิศทางของเรือที่กำลังแล่น และข้อมูลจากเซนเซอร์ ตลอดจนมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ตามเวลาที่ผ่านมาในอดีต โดยเจ้าของเรือหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ตามที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งผ่าน GPRS (General Packet Radio Service) มายังหน่วยรับบนฝั่งผ่านเครือข่าย GSM (Global Service Mobile) โดยปกติจะมีการส่งสัญญาณแบบอัตโนมัติทุกๆ 4 ชั่วโมง รวม 6 ครั้งต่อวัน หรือทุกๆ 6 ชั่วโมง รวม 4 ครั้งต่อวัน ซึ่งข้อมูลหรือสัญาณที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการบนฝั่งจะถูกแปลงมาแสดงบนแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ หรือแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของศูนย์ปฏิบัติการฯ ซึ่งเจ้าของเรือสามารถติดตามดูเรือหรือกลุ่มเรือของตัวเองได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้สามารถเรียกดูย้อนหลังและนำมาพิมพ์เป็นรายงานได้ ผู้ที่สามารถเรียกดูข้อมูลเรือได้ คือ ผู้ที่มี username และ password ของเรือลำนั้นๆเท่านั้น โดยข้อมูลเส้นทางเดินเรือที่ถูกบันทึกจะถูกเก็บเป็นความลับตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540  นอกจากนี้ระบบยังสามารถระบุพื้นที่เฝ้าระวังบนแผนที่และสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีเรือเข้ามาพื้นที่เฝ้าระวังเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเรือ ชาวประมงบนเรือสามารถกดปุ่มฉุกเฉินบนเรือขอความช่วยเหลือมายังศูนย์ปฏิบัติการฯ และเจ้าของเรือ เพื่อติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป อีกทางหนึ่งศูนย์ปฏิบัติการ VMS สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบ SMS (Short Message Service) เพื่อแจ้งข่าวหรือการเตือนภัยให้แก่เรือทุกลำในระบบได้อีกด้วย

  • เข็มทิศแม่เหล็กหมายถึง อุปกรณ์บอกทิศทางซึ่งทํางานโดยอาศัยสนามแม่เหล็กโลก โดยปกติ จะถูกติดตั้งตามแนวกึ่งกลางลําเรือในบริเวณที่มีการรบกวนของอํานาจแม่เหล็กน้อยที่สุด

  • เข็มทิศไจโร หมายถึง เข็มทิศที่มีลักษณะเป็นมวลที่หมุนอยู่บนเฟรมด้วยมอเตอร์ โดยทิศทางการหมุนจะชี้ไปในทิศทางเดียวเสมอ  ถ้าเริ่มต้นให้ไจโรชี้ไปทางทิศเหนือก็จะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ไม่ว่าโครงหรือเฟรมจะบิดไป โดยระบบการทำงานของเข็มทิศไจโรจะมีความเที่ยงตรงสูงมากกว่าเข็มทิศแม่เหล็กและสามารถนำไปใช้กับระบบนำเรือแบบอัตโนมัติได้

  • สมุดปูมเรือ หมายถึง รายละเอียดของเครื่องจักรทุกประเภทที่อยู่บนเรือ ขนาดของเรือที่มีการออกแบบโดยกรมเจ้าท่าในการบังคับใช้กับเรือกลเดินทะเลทุกประเภท ผู้ปฏิบัติงานบนเรือต้องทำการลงบันทคกให้ครบถ้วนและใช้ในการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานตรวจเรือทุก 6 เดือน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • การสัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ