หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ฝึกการออกกำลังกายส่วนบุคคล

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-SPS-5-008ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ฝึกการออกกำลังกายส่วนบุคคล

3. ทบทวนครั้งที่ - /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในการจัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความพร้อม ความแข็งแรง ความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ ของร่างกายให้เหมาะสมกับผู้รับการออกกำลังกายในแต่ละบุคคลให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของร่างกายและการดำเนินชีวิตส่วนบุคคลและเป้าหมายของการออกกำลังกาย สามารถตรวจสอบระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกาย จัดช่วงเวลา ระยะเวลา กำหนดสถานที่และอุปกรณ์ในการนำออกกำลังกายแบบผสมผสานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.01 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย A.จัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกายให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยมีองค์ประกอบตั้งแต่การอบอุ่นร่างกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายและการคลายอุ่นของร่างกาย 10203.01.01 60679
10203.01 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย B.ตรวจสอบระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกายได้ตรงตามเป้าหมายของความต้องการ 10203.01.02 65720
10203.01 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย C.เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความพร้อม 10203.01.03 65721
10203.02 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความแข็งแรง A.จัดเตรียมแบบการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 10203.02.01 60680
10203.02 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความแข็งแรง B.ตรวจสอบระดับความเหนื่อยในการออกกำลัง กายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความแข็งแรงของร่างกายได้ตรงตามเป้าหมายของความต้องการ 10203.02.02 65716
10203.02 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความแข็งแรง C.เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความแข็งแรง 10203.02.03 65717
10203.03 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ A.จัดเตรียมแบบการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 10203.03.01 60681
10203.03 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ B.ตรวจสอบระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้ตรงตามเป้าหมายของความต้องการ 10203.03.02 65718
10203.03 ฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ C.เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจแข็งแรง 10203.03.03 65719

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการอบอุ่นร่างกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย การคลายอุ่นของร่างกายส่วนบุคคล

2. มีทักษะในการจัดเตรียมรูปแบบการฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกายได้อย่างเหมาะสม

3. มีทักษะในการจัดเตรียมรูปแบบการฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างเหมาะสม

4. มีทักษะในการจัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความอดทนของ    ระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม

5. มีทักษะในการจัดช่วงเวลา ความหนักและระยะเวลาการนำออกกำลังกายส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

6. มีทักษะในการตรวจสอบระดับความเหนื่อยในการนำออกกำลังกายส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

7. มีทักษะในการกำหนดสถานที่และและอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำออกกำลังกายส่วนบุคคลตรงตามชนิดของการออกกำลังกาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกาย ความแข็งแรง อดทนของระบบหัวใจและหายใจ การจัดเตรียม การจัดช่วงเวลา ความหนัก ระยะเวลา รวมถึงการกำหนดสถานที่และอุปกรณ์ให้ตรงตามชนิดการฝึกออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมโดยสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของร่างกายและการดำเนินชีวิตส่วนบุคคลและเป้าหมายของการออกกำลังกาย

2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบระดับความเหนื่อยโดยสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของร่างกายและการดำเนินชีวิตส่วนบุคคลและเป้าหมายของการออกกำลังกาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการทดสอบความรู้

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบผ่านการอบรมที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบข้อสอบอธิบายขั้นตอนการฝึกแบบมีอุปกรณ์/ ไม่มีอุปกรณ์ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การฝึกออกกำลังกายส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกาย หมายถึง การออกกำลังกายหรือการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของร่างกายขั้นเริ่มต้นให้มีความพร้อมก่อนการฝึกที่มีความจำเพาะเจาะจงหรือขั้นก้าวหน้า โดยสอดคล้องกับความต้องการ ลักษณะเฉพาะของร่างกายและการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล

2. การตรวจสอบระดับความเหนื่อย หมายถึงการประเมินจากอัตราการเต้นของหัวใจ หรือระดับความเหนื่อยขณะออกกำลังกายโดยใช้ความรู้สึกของผู้ออกกำลังกาย เช่น ระดับความรู้สึกเหนื่อยของบอร์ก (Borg Rating of Perceived Exertion,RPE) หรือประเมินความหนักโดยทดสอบการพูด (Talk test) เช่น เหนื่อยระดับปานกลางคือระดับเหนื่อยที่ผู้ออกกำลังกายยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ