หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำการออกกำลังกายกลุ่มแบบผสมผสาน

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-SPS-5-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำการออกกำลังกายกลุ่มแบบผสมผสาน

3. ทบทวนครั้งที่ - /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในการจัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกาย จัดช่วงเวลา ระยะเวลา กำหนดสถานที่และอุปกรณ์ในการนำออกกำลังกายแบบผสมผสานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10202.01 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ A.จัดเตรียมรูปแบบออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อได้อย่าง 10202.01.01 60677
10202.01 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ B.จัดช่วงเวลา ความหนักและระยะเวลาการนำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อได้อย่างเหมาะสมกับผู้เข้าร่วม 10202.01.02 65693
10202.01 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ C.เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำออกกำลังตรงตามชนิดของออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ 10202.01.03 65694
10202.02 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ A.จัดเตรียมรูปแบบออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสมเช่น การอบอุ่นร่างกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายการคลายอุ่นของร่างกาย เป็นต้น 10202.02.01 60678
10202.02 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ B.จัดช่วงเวลาความหนักและระยะเวลาการนำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสมกับผู้เข้าร่วม 10202.02.02 65695
10202.02 นำออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ C.เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำออกกำลังกายตรงตามชนิดของออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ 10202.02.03 65696

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการอบอุ่นร่างกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย การคลายอุ่นของร่างกาย

2. มีทักษะในการจัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างเหมาะสม

3. มีทักษะในการจัดเตรียมรูปแบบการออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม

4. มีทักษะในการจัดช่วงเวลา ความหนักและระยะเวลาการนำออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบผ่านการอบรมที่เชื่อถือ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การนำออกกำลังกายแบบผสมผสาน หมายถึง การนำออกกำลังกายที่มีการซับซ้อนมากขึ้น อาจมีการใช้อุปกรณ์เข้ามาประกอบ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ

2. การนำออกกำลังกายแบบผสมผสาน หมายถึง การนำออกกำลังกายที่มีการซับซ้อนมากขึ้น เพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ เช่น step aerobic, indoor cycling aerobic


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ