หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CER-CRT-5-077ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก กำหนดมาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ควบคุมสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ควบคุมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก และตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01741 วางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 1. แผนความต้องการวัตถุดิบรายปีถูกกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนการผลิตหลัก 01741.01 59041
01741 วางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 2. แผนความต้องการวัตถุดิบ ถูกดำเนินการกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ฝ่ายจัดซื้อ)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01741.02 59042
01741 วางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายงานการติดตามตรวจสอบการจัดหาวัตถุดิบถูกดำเนินการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 01741.03 59043
01742 กำหนดมาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.ข้อกำหนดมาตรฐานสต็อกวัตถุดิบ ถูกกำหนดได้เหมาะสมกับผลผลิตที่ต้องการ 01742.01 59044
01742 กำหนดมาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.เกณฑ์มาตรฐานของชิ้นส่วนงานระหว่างทำ (WIP-Work in Process) ถูกกำหนดได้เหมาะสมกับผลผลิตที่ต้องการ 01742.02 59045
01742 กำหนดมาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.เกณฑ์มาตรฐานของวัตถุดิบคงเหลือถูกกำหนดได้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตที่กำหนด 01742.03 59046
01743 ควบคุมสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.สต็อกวัตถุดิบ ถูกควบคุมให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01743.01 59047
01743 ควบคุมสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.ชิ้นส่วนของงานระหว่างทำถูกควบคุมให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 01743.02 59048
01743 ควบคุมสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.วัตถุดิบคงเหลือถูกควบคุมตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01743.03 59049
01744 เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.วัตถุดิบ ถูกจัดเตรียมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพของสายการผลิต 01744.01 59050
01744 เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.วัตถุดิบ ถูกจัดเตรียมให้มีปริมาณเพียงพอกับการผลิตในรอบการผลิต (Cycle Time) และผลผลิตที่ต้องการ 01744.02 59051
01744 เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายการการตรวจสอบวัตถุดิบ เตรียมผลิตถูกดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01744.03 59052
01744 เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.รายงานการตรวจสอบวัตถุดิบ ถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01744.04 59053
01745 ควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) ในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.รายการควบคุมปริมาณการใช้วัตถุดิบ ถูกควบคุมการเบิกจ่ายและใช้ในปริมาณที่มีประสิทธิภาพ 01745.01 59054
01745 ควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) ในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.รายการควบคุมต้นทุนการใช้วัตถุดิบ ถูกควบคุมการเบิกจ่ายและใช้ในปริมาณที่มีประสิทธิภาพ 01745.02 59055
01745 ควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) ในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายงานการควบคุมวัตถุดิบ ด้านปริมาณและต้นทุนถูกจัดทำได้อย่างมีถูกต้องมีประสิทธิภาพ 01745.03 59056
01746 ตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 1.เกณฑ์ตรวจสอบคุณสมบัติสำคัญของวัตถุดิบที่จะรับถูกกำหนดได้อย่างถูกต้อง 01746.01 59057
01746 ตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 2.วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติสำคัญของวัตถุดิบ ถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01746.02 59058
01746 ตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 3.รายการตรวจสอบวัตถุดิบ ถูกดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01746.03 59059
01746 ตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก 4.รายงานการตรวจสอบวัตถุดิบ ถูกจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 01746.04 59060

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับบริหารวัตถุดิบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

2. ปฏิบัติการกำหนดมาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

3. ปฏิบัติการควบคุมสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

4. ปฏิบัติการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

5. ปฏิบัติการควบคุมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

6.  ปฏิบัติการตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเซรามิก

2. การบริหารวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน

3. การควบคุมวัตถุดิบ

4. การบริหารต้นทุนวัตถุดิบ

5. การบริหารการจัดเก็บ

6. การพยากรณ์อุปสงค์ (Demand Forecasting)

7. การสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity) หรือ EOQ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับข้อกำหนดและมาตรฐานวัตถุดิบ

2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการบริหารวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)  วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

1. แผนความต้องการวัตถุดิบรายปี ถูกกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนการผลิตหลัก

2. เกณฑ์มาตรฐานสต็อกสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกกำหนดได้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิต

3. เกณฑ์ควบคุมสต็อกวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด

4. รายการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกจัดทำได้ตามมาตรฐานการผลิต

5. รายการควบคุมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกจัดทำได้ตามมาตรฐานการผลิต

6. รายการตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก ถูกจัดทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. วางแผนความต้องการวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย แผนความต้องการวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน ที่ต้องสอดคล้องกับตารางการผลิตหลัก (Master Production Schedule) แฟ้มใบกำกับวัสดุหรือวัตถุดิบ (Bill of Material File) หรือแฟ้ม BOM แฟ้มวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังหลัก (Inventory Master File)  

2.  กำหนดรายการวัตถุดิบที่ใช้ผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก คือ รายการวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน ถูกกำหนดได้สอดคล้องกับสูตรการผลิตในแฟ้ม BOM มีจำนวนที่ใช้ผลิตสอดคล้องกับกับตารางการผลิตในรอบการผลิต (Cycle Time) แต่ละคราว มีการตรวจสอบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วนก่อนการผลิตครบถ้วน เช่น วัสดุ/วัตถุดิบอะไร What (item), ผลิตที่ใด Where (plant), ผลิตอย่างไร How (method), ผลิตเมื่อไร When (manufacture), ปริมาณเท่าไร (Quantity), ล่วงเวลา (Over Time) เป็นต้น

3.  กำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก คือ กำหนดคุณลักษณะ (spec) ของวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน มีการตรวจสอบวัตถุดิบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วนที่รับ ลักษณะสำคัญที่จะตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบ การตัดสินใจว่าผิดปกติหรือไม่ และจัดทำรายงานการตรวจสอบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วนก่อนถูกดำเนินการตรวจสอบ

4.  เตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย การเตรียมวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน เหมาะสมกับสภาพของสายการผลิต (เครื่องจักร วิธีการผลิต) มีปริมาณเพียงพอกับการผลิตในรอบการผลิต (Cycle Time) และผลผลิตที่ต้องการ

5. ควบคุมวัตถุดิบ (Materials Control) ในอุตสาหกรรมเซรามิก ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เป็นการควบคุมปริมาณ และเป็นการควบคุมต้นทุน เป็นต้นว่า ผู้จัดการฝ่ายงานผลิตในกิจการอุตสาหกรรมมีเป้าหมายที่จะต้องทำการควบคุมในเรื่องของปริมาณวัตถุดิบให้มีการเบิกใช้ในจำนวนที่น้อยกว่า และใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า ควรจะต้องใช้จริงต่อหนึ่งหน่วยการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

6.  ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิก มีประกอบด้วย การตรวจสอบรายการวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน เตรียมผลิต และจัดทำรายงานการตรวจสอบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน มีการจัดทำรายการตรวจสอบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน และจัดทำรายงานการตรวจสอบวัตถุดิบ/วัสดุ/ชิ้นส่วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.4 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.5 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    

18.6 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบความรู้โดยวิธีการสัมภาษณ์

    2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน

    3. แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ