หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมความเสี่ยงในกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-GFZF-094B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมความเสี่ยงในกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ / 2568

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1 8212 ผู้ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถอธิบายมาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยอธิบายความสำคัญและรายละเอียดของกฎหมายด้านอาชีวอนามัย เข้าใจในความแตกต่างระหว่างความปลอดภัยกับอาชีวอนามัย สามารถอธิบายระบบควบคุมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้ รวมทั้งสามารถอธิบายลักษณะกระบวนการที่มีความเสียงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
อาชีพนักปฏิบัติการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board Operator)อาชีพช่างเทคนิคเครื่องจักรผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board Technician)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SE121

อธิบายมาตรการควบคุมความเสี่ยง

1) อธิบายความสำคัญและรายละเอียดของกฎหมายด้านอาชีวอนามัย

SE121.01 229571
SE121

อธิบายมาตรการควบคุมความเสี่ยง

2) อธิบายความแตกต่างและความสำคัญของความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

SE121.02 229572
SE121

อธิบายมาตรการควบคุมความเสี่ยง

3) อธิบายความสำคัญของการทำงานที่ปลอดภัย

SE121.03 229573
SE122

อธิบายระบบควบคุมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

1) อธิบายระบบควบคุมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย หรือที่เกี่ยวข้อง

SE122.01 229574
SE122

อธิบายระบบควบคุมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

2) อธิบายลักษณะกระบวนการที่มีความเสี่ยง

SE122.02 229575

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ 

2. สามารถประเมินความเสี่ยงได้

3. สามารถวิเคราะห์ได้

4. สามารถอธิบายได้ 

5. สามารถสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับนิยามของความปลอดภัย

2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัยเบื้องต้น

4. ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) หรือมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Management System – OHSMS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการประกอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร หรือบันทึกการผ่านการอบรม สัมมนาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน และการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย เป็นต้น 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

- วิธีการการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

- มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) เป็นมาตรฐานที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยองค์กรในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมาตรฐานนี้ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ.2018 และเข้ามาแทนที่มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001) โดยความสำคัญของมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) มีรายละเอียด ดังนี้ 

(1) ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงาน คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ส่งผลให้พนักงานมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็ง

(2) ลดต้นทุนจากอุบัติเหตุ โดยการป้องกันอุบัติเหตุช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาล ค่าประกัน และการหยุดชะงักของการดำเนินงาน

(3) เพิ่มความน่าเชื่อถือขององค์กร การได้รับการรับรองจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของคู่ค้าและลูกค้า เนื่องจากองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน



2. เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) คือ สถานะการณ์ที่เกือบทำให้เกิดเป็นอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ (Incident) หรือสาเหตุที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ



3. อันตราย (Hazard) หมายถึง สิ่งหรือเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยโรคจากการทำงาน ความเสียหายต่อทรัพย์สิน สภาพแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน



4. การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง การแจกแจงอันตรายที่มีและที่แอบแฝงอยู่ในทุกงาน ทุกจุดทำงาน ทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอนงาน ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรและสิ่งแวดล้อมการทำงาน เป็นต้น



5. ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ความน่าจะเป็น (Probability) ของการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือสูญเสียอันเนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ



6. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นเหตุทำให้อันตรายที่มีและที่แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย โรคจากการทำงาน หรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดและความรุนแรงของอันตรายเหล่านั้น



7. อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีผลให้เกิดการเสียชีวิต ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ความเสียหาย หรือความสูญเสียอื่น ๆ



8. การบาดเจ็บ หรือความสูญเสีย (Injury / Damages) ความเจ็บป่วยจากการทำงาน หมายถึง ความเจ็บป่วยที่ได้พิจารณาว่า มีสาเหตุจากกิจกรรม การทำงาน หรือสิ่งแวดลอมของที่ทำงาน



9. การชี้บ่งอันตราย แหล่งกำเนิดของอันตรายด้วยหลักการ 4M2E ได้แก่ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) วัสดุ (Material) วิธีปฏิบัติงาน (Method) สภาพแวดล้อม (Environment และ การยศาสตร์ (Ergonomics) เช่น   

- แหล่งที่เป็นเครื่องจักรอุปกรณ์

- แหล่งที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ หรือสารเคมีต่าง ๆ

- พลังงานที่ใช้ เช่น ไฟฟ้า ลม และไอน้ำ เป็นต้น 

- สภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น แสง เสียง และความร้อน เป็นต้น

- การยศาสตร์ (Ergonomics) คือ การเคลื่อนไหวในการทำงาน 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

18.2 การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ