หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-FJNI-092B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ / 2568

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้ เช่น จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินประสิทธิภาพ ประเมินประสิทธิภาพจากข้อมูลการผลิต และปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MA411

จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินประสิทธิภาพ

1) ระบุสมรรถนะของเครื่องจักรและอุปกรณ์จากเอกสารคู่มือได้

MA411.01 229518
MA411

จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินประสิทธิภาพ

2) รวบรวมข้อมูลการผลิตและการใช้ทรัพยากรได้

MA411.02 229519
MA412

ประเมินประสิทธิภาพจากข้อมูลการผลิต

1) ระบุเกณฑ์และตัวชี้วัดของประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้

MA412.01 229520
MA412

ประเมินประสิทธิภาพจากข้อมูลการผลิต

2) ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้

MA412.02 229521
MA413

ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์

1) ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามแผนการปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้

MA413.01 229525
MA413

ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์

2) ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายหลังการปรับปรุงได้

MA413.02 229526
MA413

ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์

3) บันทึกและรายงานผลการปรับปรุงตามขั้นตอนที่กำหนดได้

MA413.03 229527

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับเทคนิค

2. สามารถประสานงานกับบุคลากรหน่วยงานอื่นได้

3. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค (Technical English) เกี่ยวกับคู่มือเครื่องจักรและข้อกำหนดด้านสารเคมี

4. สามารถจัดเตรียมเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Documentation) ได้

5. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารทางเทคนิคของเครื่องจักร (Machine Specification) และคู่มือการบำรุงรักษา (Maintenance Manual)

6. สามารถเตรียมหรือนำออกข้อมูลการผลิตจากเครื่องจักร

7. สามารถใช้โปรแกรมคำนวณข้อมูลการผลิต เช่น ไมโครซอฟท์เอ็กซ์เซล (Microsoft Excel)

8. สามารถคำนวณตัวชี้วัดของประสิทธิภาพของเครื่องจักร

9. สามารถประเมินประสิทธิภาพก่อนและหลังการปรับปรุงเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ตามมาตรฐาน IPC (Institute of Printed Circuits)

2. ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องจักร

3. ความรู้เกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ

4. ความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดหลักของการผลิต เช่น OEE (Overall Equipment Effectiveness)

5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของประสิทธิภาพของเครื่องจักร

6. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยและชีวอนามัยในการติดตั้งและทดสอบเครื่องจักร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายหรือการติดตั้งเครื่องจักร ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร หรือบันทึกการผ่านการอบรม สัมมนาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ตัวชี้วัดของการผลิต การจัดการข้อมูลการผลิตของเครื่องจักร



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

- ประสบการณ์ในการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง

- มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ขอบเขตครอบคลุมการประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่างเป็นระบบ โดยผู้รับการประเมินต้องสามารถดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักการ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) การระบุสมรรถนะของเครื่องจักรและอุปกรณ์จากเอกสารคู่มือ โดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น

- สมรรถนะการผลิต เช่น ขีดความสามารถสูงสุด (Maximum Capacity) ความเร็วในการทำงาน (Operating Speed) ความแม่นยำ (Accuracy) ช่วงการทำงาน (Working Range)

- สมรรถนะด้านคุณภาพ เช่น มาตรฐานคุณภาพที่เครื่องจักรสามารถผลิตได้ ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Tolerance)

- สมรรถนะด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า อัตราการใช้สารเคมี

(2) การรวบรวมข้อมูลการผลิตจากเครื่องจักร โดยมีขอบเขตของข้อมูล เช่น

- อัตราการผลิตจริง (Actual Production Rate)

- เวลาที่เครื่องจักรทำงานจริง (Operating Time)

- เวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงานเนื่องจากเหตุขัดข้อง (Downtime)

- รอบเวลาการผลิต (Cycle Time) ต่อชิ้นงาน

- ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (Electricity Consumption)

- ปริมาณการใช้น้ำ (Water Consumption)

- ปริมาณการใช้สารเคมีและวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ (Chemical and Consumable Usage)

(3) การระบุเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างของตัวชี้วัด เช่น

- ประสิทธิภาพด้านผลผลิต (Output Efficiency) เช่น อัตราการผลิตจริงเทียบกับอัตราการผลิตสูงสุดตามสเปค (% Utilization Rate)

- ประสิทธิภาพด้านเวลา (Time Efficiency) เช่น อัตราการทำงานของเครื่องจักร     (% Availability) เวลาเฉลี่ยระหว่างการขัดข้อง (Mean Time Between Failures - MTBF) เวลาเฉลี่ยในการซ่อมแซม (Mean Time To Repair - MTTR)

- ประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) เช่น อัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิต (Energy Consumption per Unit) อัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิต (Water Consumption per Unit)

(4) การประเมินประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาคำนวณตัวชี้วัดประสิทธิภาพ จากนั้นเปรียบเทียบผลลัพธ์กับเกณฑ์ที่ระบุไว้

(5) การประเมินประสิทธิภาพภายหลังการปรับปรุง โดยมีขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง เช่น

- การรวบรวมข้อมูลการผลิตและการใช้ทรัพยากรอีกครั้งในช่วงเวลาที่กำหนด

- การคำนวณตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้วยวิธีเดิม

- การเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการปรับปรุง

- การจัดทำรายงานสรุปผลการปรับปรุง



2. ตัวอย่างของมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร เช่น

(1) มาตรฐาน IPC-6012 สำหรับข้อกำหนดคุณภาพและความเชื่อถือได้ของแผ่นวงจรพิมพ์

(2) มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001) สำหรับการควบคุมคุณภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ