หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) สำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-TNWF-090B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) สำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

3. ทบทวนครั้งที่ / 2568

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) สำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เช่น ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ประสานงานกับผู้ขายเครื่องจักรเพื่อเตรียมสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MA311

ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

1) ระบุเงื่อนไขของสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกจากเอกสารคู่มือของเครื่องจักรได้

MA311.01 229509
MA311

ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

2) ประเมินความพร้อมของสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ได้

MA311.02 229510
MA312

ประสานงานกับผู้ขายเครื่องจักรเพื่อเตรียมสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก

1) ระบุรายการของสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องปรับปรุงก่อนการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

MA312.01 229511
MA312

ประสานงานกับผู้ขายเครื่องจักรเพื่อเตรียมสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก

2) ประสานงานกับผู้ขายเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นได้

MA312.02 229512

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับเทคนิค

2. สามารถประสานงานกับบุคลากรหน่วยงานอื่นได้

3. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค (Technical English) เกี่ยวกับคู่มือเครื่องจักรและข้อกำหนดด้านสารเคมี

4. สามารถจัดเตรียมเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Documentation) ได้

5. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารทางเทคนิคของเครื่องจักร (Machine Specification) และคู่มือการบำรุงรักษา (Maintenance Manual)

6. สามารถวางแผนพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร 

7. สามารถเลือกใช้เครื่องจักรและสำหรับการเคลื่อนย้ายได้เหมาะสม 

8. สามารถตรวจสอบและเตรียมพื้น ผนัง ทางเดิน และความแข็งแรงของจุดติดตั้ง 

9. สามารถประเมินความพร้อม ความเสี่ยงและจัดมาตรการความปลอดภัยก่อนการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ตามมาตรฐาน IPC (Institute of Printed Circuits)

2. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบทางกลและสัญลักษณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

3. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบไฟฟ้าและสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

4. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบของระบบน้ำและระบบลม

5. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบก่อสร้างและผังวางเครื่องจักร

6. ความรู้เกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ

7. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและข้อจำกัดของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้าย

8. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและข้อกำหนดในการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร

9. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมพื้นที่และสาธารณูปโภคสำหรับการเคลื่อนย้ายและเครื่องจักร

10. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อกำหนด และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางเครื่องจักร

11. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในงานเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย หรือการติดตั้งเครื่องจักร ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร หรือบันทึกการผ่านการอบรม สัมมนาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนในการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องจักร กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผังวางเครื่องจักร ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในการติดตั้งเครื่องจักร



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

- ประสบการณ์ในการเคลื่อนย้าย หรือการติดตั้งเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง

- มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ขอบเขตครอบคลุมการเตรียมการและดำเนินการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่างเป็นระบบ โดยผู้รับการประเมินต้องสามารถดำเนินการอย่างถูกต้องตามคู่มือและมาตรฐานความปลอดภัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การเตรียมการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) การรวบรวมข้อมูลสำหรับเตรียมการ โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น

- เอกสารคู่มือของเครื่องจักร เช่น คู่มือการติดตั้ง (Installation Manual) คู่มือการใช้งาน (Operation Manual) และคู่มือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications)

- แบบก่อสร้างและผังวางเครื่องจักร

- แบบของระบบน้ำ ระบบลม และระบบไฟฟ้า

(2) การระบุรายการที่ต้องปรับปรุง โดยมีขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง เช่น

- ระบุรายการของสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกของพื้นที่

- ระบุรายละเอียดของการปรับปรุงที่จำเป็น

(3) การประสานงานกับผู้ขายเครื่องจักร โดยมีแผนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น

- การวางแผนการเคลื่อนย้าย เช่น พื้นที่ เส้นทาง อุปกรณ์ บุคลากร

- การติดตั้งเครื่องจักร เช่น การเตรียมสาธารณูปโภค เครื่องมือและอุปกรณ์

- การดำเนินการหลังการติดตั้ง เช่น การตรวจสอบเครื่องจักร การทดลองเดินเครื่อง (Commissioning) การอบรมพนักงาน



2. ตัวอย่างของมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร เช่น

(1) มาตรฐาน IPC-6012 สำหรับข้อกำหนดคุณภาพและความเชื่อถือได้ของแผ่นวงจรพิมพ์

(2) มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001) สำหรับการควบคุมคุณภาพ

(3) มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม

(4) มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (ISO 45001) สำหรับ       อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

(5) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

(6) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

(7) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ