หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-NWRV-089B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ / 2568

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถจัดเตรียมสำหรับการซ่อมแซม และซ่อมแซมเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ชำรุดได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MA221

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมแซม

1) ระบุปัญหาและอุปกรณ์ที่เกิดการเสียหายตามเอกสารคู่มือได้

MA221.01 229502
MA221

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมแซม

2) ประเมินความเสียหายและผลกระทบตามเอกสารคู่มือได้

MA221.02 229503
MA221

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมแซม

3) จัดเตรียมการจัดซื้ออุปกรณ์ทดแทนตามขั้นตอนที่เหมาะสมได้

MA221.03 229504
MA221

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมแซม

4) ตรวจสอบอุปกรณ์ที่จัดซื้อมาทดแทนได้

MA221.04 229505
MA222

ซ่อมแซมเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

1) ถอดประกอบเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ตามขั้นตอนที่เหมาะสมได้

MA222.01 229506
MA222

ซ่อมแซมเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

2) ตรวจสอบการทำงานภายหลังการปรับปรุงแก้ไข

MA222.02 229507
MA222

ซ่อมแซมเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

3) บันทึกและรายงานผลการซ่อมแซมตามขั้นตอนที่กำหนดได้

MA222.03 229508

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น

- มีทักษะการสื่อสารกับผู้ร่วมงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับเทคนิค

- มีทักษะในการอ่านและทำความเข้าใจเอกสารภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค (Technical English)เกี่ยวกับคู่มือเครื่องจักรและข้อกำหนดด้านสารเคมี

- มีทักษะในการจัดเตรียมเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Documentation)

- มีทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

- ทักษะการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์

- มีทักษะการใช้เครื่องมือช่างในการติดตั้งและถอดอุปกรณ์



2. ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอ่านแบบทางกลและสัญลักษณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐานและข้อกำหนดคุณภาพในอุตสาหกรรมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับเทคนิค

2. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค (Technical English) เกี่ยวกับคู่มือเครื่องจักรและข้อกำหนดด้านสารเคมี

3. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารทางเทคนิคของเครื่องจักร (Machine Specification) และคู่มือการบำรุงรักษา (Maintenance Manual)

4. สามารถจัดเตรียมเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Documentation) ได้

5. สามารถใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานได้

6. สามารถใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์

7. สามารถใช้เครื่องมือช่างในการติดตั้งและถอดอุปกรณ์ได้

8. สามารถใช้เครื่องมือช่างและเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง

9. สามารถใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือช่างตรวจสอบความผิดปกติได้

10. สามารถถอดประกอบและเปลี่ยนอะไหล่ได้อย่างถูกต้อง

11. สามารถทดสอบและปรับตั้งเครื่องจักรหลังการซ่อมแซม

12. สามารถบันทึกข้อมูลการซ่อมแซมและรายงานผลได้อย่างครบถ้วน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ตามมาตรฐาน IPC (Institute of Printed Circuits)

2. ความรู้เกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของอะไหล่ หรือส่วนประกอบของเครื่องจักร

3. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบทางกลและสัญลักษณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

4. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและข้อกำหนดคุณภาพในอุตสาหกรรมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

5. ความรู้เกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ

6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้และดูแลรักษาเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัด

7. ความรู้เกี่ยวกับขนาดและมิติของเครื่องมือช่างและวัสดุ

8. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการซ่อมแซมตามคู่มือเครื่องจักร

9. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในงานซ่อมบำรุง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักร ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร หรือบันทึกการผ่านการอบรม สัมมนาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในการบำรุงรักษา



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

- ประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง

- มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ขอบเขตครอบคลุมการเตรียมการและดำเนินการซ่อมแซมเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่างเป็นระบบ โดยผู้รับการประเมินต้องสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนและใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องตามคู่มือและมาตรฐานความปลอดภัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การซ่อมแซมเครื่องจักรสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) การระบุปัญหาและอุปกรณ์ที่เกิดการเสียหายตามเอกสารคู่มือ โดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

- คู่มือการใช้งานและคู่มือการซ่อมบำรุง เช่น Operation and Maintenance Manuals, Service Manuals

- การอ่านและการตีความแบบไฟฟ้าและแบบทางกล

- ความรู้เกี่ยวกับอาการเสีย (Symptoms) ที่พบบ่อย

(2) การประเมินความเสียหายและผลกระทบตามเอกสารคู่มือ โดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

- ผลกระทบของความเสียหายต่อกระบวนการผลิต

- การวิเคราะห์สาเหตุของความเสียหาย (Root Cause Analysis) เบื้องต้น

- ข้อควรระวังและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

(3) การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซม โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ เช่น

- การตรวจสอบหมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) และข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์

- การติดต่อแหล่งจัดซื้อและกระบวนการจัดซื้อ

- การตรวจสอบอุปกรณ์ที่ได้รับ

(4) การถอดประกอบเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ตามขั้นตอนที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

- ประเภทและการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเครื่องจักรผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

- สภาพและความพร้อมใช้งานของเครื่องมือ

(5) การถอดประกอบเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ตามขั้นตอนที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

- ขั้นตอนการถอดประกอบที่ถูกต้องตามคู่มือ

- การใช้เครื่องมือในการถอดประกอบอย่างถูกต้องและปลอดภัย

- ขั้นตอนการจัดการชิ้นส่วนที่ถอดออกมา

(6) การตรวจสอบภายหลังการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ เช่น

- การปรับตั้งค่า (Calibration) เบื้องต้น

- การทดสอบการทำงานหลังการซ่อมแซม

(7) การบันทึกและรายงานผลการซ่อมแซมตามขั้นตอนที่กำหนด โดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

- รูปแบบและเนื้อหาของรายงานการซ่อมแซม

- ขั้นตอนการส่งมอบงานซ่อมแซม



2. ตัวอย่างของมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น

(1) มาตรฐาน IPC-A-600 สำหรับการยอมรับแผ่นวงจรพิมพ์

(2) มาตรฐาน IPC-6012 สำหรับข้อกำหนดคุณภาพและความเชื่อถือได้ของแผ่นวงจรพิมพ์

(3) มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม

(4) มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (ISO 45001) สำหรับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

18.3 แฟ้มสะสมผลงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ