หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EET-EJIN-088B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2568

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถวางแผน ดำเนินการ และบันทึกการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MA211

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

1) ระบุขั้นตอนในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันตามเอกสารคู่มือได้

MA211.01 229497
MA211

จัดเตรียมสำหรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

2) จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันตามเอกสารคู่มือได้

MA211.02 229498
MA212

ซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

1) ถอดประกอบอุปกรณ์ตามขั้นตอนที่เหมาะสมได้

MA212.01 229499
MA212

ซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

2) ตรวจสอบและประเมินสถานะของอุปกรณ์ตามเอกสารคู่มือได้

MA212.02 229500
MA212

ซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกของเครื่องจักร

3) บันทึกและรายงานผลการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันตามขั้นตอนที่กำหนดได้

MA212.03 229501

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับเทคนิค

2. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค (Technical English) เกี่ยวกับคู่มือเครื่องจักรและข้อกำหนดด้านสารเคมี

3. สามารถอ่านและทำความเข้าใจเอกสารทางเทคนิคของเครื่องจักร (Machine Specification) และคู่มือการบำรุงรักษา (Maintenance Manual)

4. สามารถจัดเตรียมเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Documentation) ได้

5. สามารถใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานได้

6. สามารถใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์

7. สามารถใช้เครื่องมือช่างในการติดตั้งและถอดอุปกรณ์ได้

8. สามารถใช้เครื่องมือช่างและเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง

9. สามารถตรวจสอบและดำเนินการตามตารางเวลาการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ได้

10. สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ตามรายการบำรุงรักษาได้อย่างเป็นระบบ

11. สามารถจดบันทึกผลการบำรุงรักษาและรายงานสภาพเครื่องจักรได้

12. สามารถประเมินสภาพและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพได้อย่างปลอดภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ตามมาตรฐาน IPC (Institute of Printed Circuits)

2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance Principles)

3. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบทางกลและสัญลักษณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

4. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและข้อกำหนดคุณภาพในอุตสาหกรรมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

5. ความรู้เกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ

6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้และดูแลรักษาเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัด

7. ความรู้เกี่ยวกับขนาดและมิติของเครื่องมือช่างและวัสดุ

8. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดตั้งและถอดชิ้นส่วน เช่น แรงบิด

9. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในงานซ่อมบำรุง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักร (Preventive Maintenance) ได้แก่ หนังสือรับรองการทำงาน หรือใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือหน่วยงานต้นสังกัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศนียบัตร หรือบันทึกการผ่านการอบรม สัมมนาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในการบำรุงรักษา



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

- ประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง

- มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
(ก) คำแนะนำ ขอบเขตครอบคลุมการเตรียมการและดำเนินการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักรและสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่างเป็นระบบ โดยผู้รับการประเมินต้องสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนและใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องตามคู่มือและมาตรฐานความปลอดภัย(ข) คำอธิบายรายละเอียด1. การซ่อมบำรุงเครื่องจักรสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้(1) ขั้นตอนในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เช่น- แผนการซ่อมบำรุงตามช่วงเวลา (Time Based Maintenance)- แผนการซ่อมบำรุงตามสภาพการใช้งาน (Condition Based Maintenance)- ขั้นตอนการขออนุญาตซ่อมบำรุง (Work Permit)- ขั้นตอนการแจ้งเตือนและประสานงานกับแผนกที่เกี่ยวข้อง- ขั้นตอนการล็อค-แท็ก-ทดสอบ (Lock-Out Tag-Out : LOTO) เพื่อความปลอดภัย- ขั้นตอนการบันทึกและรายงานผลการซ่อมบำรุง(2) อุปกรณ์สำหรับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เช่น- เครื่องมือช่างทั่วไป เช่น ประแจ ไขควง คีม - เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป เครื่องวัดความต้านทาน - เครื่องมือวัดทางกล เช่น เวอร์เนียร์ ไมโครมิเตอร์ เกจวัดความดัน- อุปกรณ์หล่อลื่นและน้ำยาทำความสะอาด- อะไหล่สำหรับการเปลี่ยนทดแทนตามแผน- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)- อุปกรณ์สำหรับการบันทึกข้อมูล(3) การถอดประกอบอุปกรณ์ เช่น- การถอดประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Parts)- การถอดประกอบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์- การถอดประกอบระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์- การถอดประกอบอุปกรณ์พิเศษเฉพาะสำหรับเครื่องผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)- ลำดับขั้นตอนการถอดประกอบที่ถูกต้องและปลอดภัย- การทำเครื่องหมายและจัดเก็บชิ้นส่วนระหว่างการถอดประกอบ(4) การตรวจสอบและประเมินสถานะ เช่น- การตรวจสอบการสึกหรอของชิ้นส่วน- การตรวจสอบการรั่วไหลของของเหลวและแรงดัน- การตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันและสารหล่อลื่น- การตรวจวัดค่าทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์- การตรวจสอบความแม่นยำของการเคลื่อนที่และการวางตำแหน่ง- การตรวจสอบระบบความปลอดภัยและสัญญาณเตือน- การตรวจวัดเสียงและการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ- การตรวจสอบอุณหภูมิการทำงานของเครื่องจักร(5) การบันทึกและรายงานผล เช่น- แบบฟอร์มบันทึกการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน- การบันทึกข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์บริหารงานซ่อมบำรุง- การรายงานผลและสิ่งผิดปกติที่พบระหว่างการซ่อมบำรุง- การเสนอแนะการปรับปรุงหรือการซ่อมแซมเพิ่มเติม- การบันทึกการเปลี่ยนอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลือง- การอัปเดตประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักร2. ตัวอย่างของมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เช่น(1) มาตรฐาน IPC-A-600 สำหรับการยอมรับแผ่นวงจรพิมพ์(2) มาตรฐาน IPC-6012 สำหรับข้อกำหนดคุณภาพและความเชื่อถือได้ของแผ่นวงจรพิมพ์(3) มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม(4) มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (ISO 45001) สำหรับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

18.2 การสาธิตปฏิบัติงาน

18.3 แฟ้มสะสมผลงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ