หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมพนักงานรักษาความปลอดภัยการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-PSA-2-005ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมพนักงานรักษาความปลอดภัยการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)
ISCO รหัส 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่พนักงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินของมีค่า จะต้องวางแผนกำลังพลในการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาว่าจ้าง จัดเตรียมพาหนะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาจ้าง และจัดเตรียมข้อกำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่ารายบุคคล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
06111 วางแผนกำลังพลในการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาจ้าง 1. กำหนดจำนวนกำลังพลให้ตรงตามสัญญาจ้างได้ถูกต้องครบถ้วน 06111.01 58219
06111 วางแผนกำลังพลในการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาจ้าง 2. คัดเลือกกำลังพลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับลักษณะงานตามสัญญาจ้าง 06111.02 58220
06112 จัดเตรียมพาหนะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาจ้าง 1ระบุพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามสัญญาจ้าง 06112.01 58221
06112 จัดเตรียมพาหนะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ตรงตามสัญญาจ้าง 2บำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 06112.02 58222
06113 กำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า รายบุคคล 1 อธิบายขอบเขตการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการทำงานในการะขนส่งทรัพย์สินมีค่าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 06113.01 58223
06113 กำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า รายบุคคล 2อธิบายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมยานพาหนะและการใช้อาวุธได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 06113.02 58224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้และทักษะในการวางแผนกำลังคนในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าอย่างเหมาะสมกับลักษณะของทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อมในการขนส่ง ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางการขนส่งทรัพย์สินมีค่า ความรู้ในการประเมินความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะด้านการวางแผนกำลังพล การจัดวางตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสมกับเส้นทางการขนส่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- ทักษะการจัดหาพาหนะที่เหมาะสม และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับทรัพย์สินมีค่า
- ทักษะการรักษาความปลอดภัยระหว่างการเดินทางขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ทักษะการใช้อุปกรณ์การรักษาความปลอดภัย
- ทักษะการประสานงาน
- ทักษะการคุ้มกันรักษาทรัพย์สินมีค่าให้เกิดความปลอดภัย
- ทักษะการเฝ้าระวังทรัพย์สินมีค่าระหว่างการเดินทาง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ความรู้ในการวางแผนกำลังคนตรวจสอบความปลอดภัยพื้นที่ก่อนการส่งมอบทรัพย์สินมีค่า .
- ความรู้เกี่ยวกับการมอบหมายงานให้แก่พนักงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมกับการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
หลักฐานการคัดเลือกพนักงานรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
เอกสารแสดงจำนวนเครื่องมืออุปกรณ์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้าง
เอกสารแสดงการรับ-มอบเครื่องมือ อุปกรณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
  ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การตรวจนับทรัพย์สินมีค่า เช่น เครื่องนับเงินสด
ความรู้ในการจัดเตรียมพาหนะในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า แบ่งออกได้เป็น พาหนะรถยนต์ รถตู้ และรถกระบะชนิดพิเศษสำหรับการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
ความรู้ในการจัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุทรัพย์สินมีค่า ได้แก่ถุงบรรจุขนาดต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับทรัพย์สินมีค่า
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเหตุการณ์ไม่ปกติ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดของคดี และติดต่อกับประกันภัย
1.กำหนดจำนวนและคัดเลือกกำลังพลในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินของมีค่า
2. จัดเตรียมและบำรุงรักษาพาหนะและเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินของมีค่า
3. มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินของมีค่า
การจัดเตรียมพาหนะในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า แบ่งออกได้เป็น พาหนะรถยนต์ รถตู้ และรถกระบะชนิดพิเศษสำหรับการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
การจัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุทรัพย์สินมีค่า ได้แก่ ถุงบรรจุขนาดต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับทรัพย์สินมีค่า
(ก) คำแนะนำ
-
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
พนักงานรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า ประกอบด้วย
- หัวหน้าชุด เป็นผู้ที่มีความรู้ในขั้นตอนการขนส่งทรัพย์สินมีค่า ความสามารถในการควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน มีประสบการณ์ในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าอย่างน้อย 3 ปีและมีทักษะการใช้อาวุธ
- พนักงานขับรถ เป็นผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ประเภท 2 และมีทักษะการใช้อุปกรณ์พิเศษประจำรถขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- พนักงานคุ้มกัน เป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและบุคลิกภาพที่ดี มีปฏิภาณไหวพริบ และการสังเกตจดจำที่ดีและมีทักษะการใช้อาวุธ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.3 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ