หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาล

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-DIKO-1016A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผนการควบคุมความปลอดภัยในครัวอาหารฮาลาล ตลอดจนการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและคู่มือการปฏิบัติงานในครัวอาหารฮาลาล การตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาลให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย รวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ.2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202.01 วางแผนและบริหารความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในครัวอาหารฮาลาล ตามคู่มือปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย 1. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์งานครัวได้รับการออกแบบอย่างปลอดภัย 20202.01.01 225569
20202.01 วางแผนและบริหารความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในครัวอาหารฮาลาล ตามคู่มือปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับการออกแบบอย่างปลอดภัย 20202.01.02 225570
20202.01 วางแผนและบริหารความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในครัวอาหารฮาลาล ตามคู่มือปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย 3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์งานครัวชนิดพิเศษได้รับการออกแบบอย่างปลอดภัย 20202.01.03 225571
20202.01 วางแผนและบริหารความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในครัวอาหารฮาลาล ตามคู่มือปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย 4. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้ระบบก๊าซได้รับการออกแบบอย่างปลอดภัย 20202.01.04 225572
20202.02 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาลให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย 1. เครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องครัวที่ใช้ในครัวอาหารฮาลาลได้รับการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ 20202.02.01 225573
20202.02 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาลให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย 2. สถานที่ (ครัวอาหารฮาลาล) ได้รับการตรวจสอบให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ 20202.02.02 225574
20202.03 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1. ยาสามัญได้รับการเลือกใช้อย่างถูกต้องกับโรคหรืออาการที่เป็น 20202.03.01 225575
20202.03 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. อุปกรณ์การปฐมพยาบาลได้รับการเลือกใช้อย่างถูกต้องกับอุบัติเหตุ 20202.03.02 225576
20202.03 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3. ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 20202.03.03 225577
20202.03 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 4. ยาและอุปกรณ์การปฐมพยาบาลได้รับการจัดเก็บอย่างถูกต้องและปลอดภัย 20202.03.04 225578

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทย และคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นที่ใช้ในงานอาชีพ

-    มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือเบื้องต้นในกระบวนการประกอบอาหารฮาลาล

-    มีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะแสดงถึงการเข้าใจมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 

2. ความสามารถในการทำเอกสารแสดงรายละเอียดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงานมาใช้ในการปฏิบัติงาน และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการปฏิบัติงานครัวอาหารฮาลาลที่กำหนดให้มา

3. ความสามารถในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการใช้อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

4. ความสามารถในการทำเอกสารหรือคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

6. ทักษะในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานอุบัติเหตุ

4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และเครื่องป้องกันอันตราย

5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้และการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องป้องกันอันตราย

6. ความรู้ในการเลือกใช้ยาสามัญที่ถูกต้องกับโรคหรืออาการที่เป็น

7. ความรู้ในการจัดเก็บยา อุปกรณ์การปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ใบรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านความปลอดภัยอาหาร (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     - ใบรับรองการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ประเมินสมรรถนะของ ผู้ประกอบอาหารฮาลาล ชั้น 1 – ชั้น 6

2. ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละชั้น โดยการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

3. การผ่านการประเมินสมรรถนะ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นหลักฐานด้านความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะ

4. การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน มีเครื่องมืออุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    การควบคุมความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานครัวฮาลาล ครอบคลุมถึง การวางแผนการออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ การใช้ระบบก๊าซ อย่างปลอดภัย การตรวจสอบสภาพเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องครัวที่ใช้ในครัว รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การใช้ยาสามัญ การใช้อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และการจัดเก็บยาและอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1)  อุปกรณ์ และเครื่องมือ:

-  อุปกรณ์:  มีด เขียง ถุงมือกันน้ำ ตะกร้า/กระบะ/ถังพลาสติก ถาด/กะละมัง/โต๊ะสแตนเลสเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปั่น

-  เครื่องมือ: เครื่องชั่ง เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องวัดค่าความหวาน-ความเค็ม 

-  เครื่องมือและอุปกรณ์งานครัวพิเศษ ตู้อบแบบผสม (Combi oven)

2)  สถานที่: 

-  สถานที่รับวัตถุดิบ 

-  สถานที่เก็บรักษาวัตถุดิบ

3)  ส่วนผสม ประกอบด้วย เกลือ น้ำตาล กรด สี กลิ่นปรุงแต่ง

4) มาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน 

        4.1 5ส คือ แนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นในวงการการผลิตและวงการงานบริการเป็นต้น โดยการปฏิบัติตามหลัก 5ส ที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยในญี่ปุ่นเรียกกันว่า 5S ซึ่งได้แก่

        - สะสาง คือ การแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป

        - สะดวก คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งานและปลอดภัย

        - สะอาด คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และ สถานที่ทำงาน

        - สุขลักษณะ คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดี ตลอดไป

        - สร้างนิสัย คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัยข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

        การควบคุม 5ส ตามพื้นฐานในการควบคุมการทำงาน เรียกว่า กิจกรรม 5ส แท้ที่จริงแล้วประสิทธิภาพของ 5ส. มีความงดงามต่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานในตัวของมันเอง และเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับพนักงานอีกด้วย ทำ 5ส. ให้ถึงที่สุดผลที่ได้รับทางอ้อมก็คือ ระบบประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น, ป้องกันการเกิดสิ่งที่ไม่ดีเข้าสู่ขบวนการอื่น, เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้มั่นคง สิ่งเหล่านี้ในสถานที่ทำงานเราจะเห็นเป็นประจำก็คือ สะสาง, สะดวก และจุดที่เป็นปัญหาสามารถทำให้จับต้องได้เห็นอย่างต่อเนื่อง 

        4.2 Safety First หมายถึง ปลอดภัยไว้ก่อน เป็นหลักการที่ไม่ว่าจะกระทำการใดก็แล้วแต่  ให้ยึดหลักความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ โดยสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ได้จากความไม่ประมาทเลินเล่อ มีสติ และระมัดระวัง ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใด เหล่านี้จะสามารถป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้

5) การใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์งานครัว มีดปอก มีดหั่น

6) ระบบก๊าซ การปิด-เปิด หัวเตา

7) จัดรวบรวมข้อมูล มาจัดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในครัวอาหารฮาลาล

8) ปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับอันตรายจากสัตว์ การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับอันตรายจากพืช การปฐมพยาบาลในผู้ถูกน้ำร้อนลวก

-  ยาสามัญ ยาดมแก้หวัดยาธาตุน้ำแดง (แก้ปวดท้อง) ยาแก้ไอน้ำดำยาหยอดตายาลดกรดยาใส่แผลสดโซดามินท์เม็ด (ลดกรด) แอสไพรินเม็ด (แก้ปวด) ทิงเจอร์ฝิ่น การบูร (แก้ท้องเสีย) เหล้าแอมโมเนียหอม (แก้อาการเป็นลม) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวมด่างทับทิม (สำหรับล้างแผล)

-  อุปกรณ์ทำแผล พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้าพันแผล เทปปิดแผล

-  จัดเก็บยาสามัญได้และสะดวกต่อการใช้งาน  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์  

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์

 



ยินดีต้อนรับ