หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาตำรับอาหารฮาลาลใหม่

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-IUTH-1010A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาตำรับอาหารฮาลาลใหม่

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างตำรับอาหารฮาลาลใหม่ การคำนวณต้นทุนอาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่ รวมถึงการทดสอบการยอมรับตำรับอาหารฮาลาลที่พัฒนาขึ้นใหม่ และถ่ายทอดความรู้และทักษะการประกอบอาหารที่พัฒนาใหม่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10402.01 สร้างตำรับอาหารฮาลาลใหม่ 1. ตำรับอาหารมาตรฐาน ได้รับการจัดทำอย่างถูกต้อง โดยมีคำแนะนำและขั้นตอนการประกอบอาหาร 10402.01.01 225511
10402.01 สร้างตำรับอาหารฮาลาลใหม่ 2. ชั่ง ตวง วัด และการเปรียบเทียบมาตราส่วนในระบบต่างๆ ได้ 10402.01.02 225512
10402.01 สร้างตำรับอาหารฮาลาลใหม่ 3. ตำรับอาหารที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้รับการเตรียม ปรุง จัดเสิร์ฟ และจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ตามรูปแบบมาตรฐานอย่างถูกต้อง 10402.01.03 225513
10402.02 คำนวณต้นทุนอาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่

1. วัตถุดิบและเครื่องปรุง ได้รับการประมาณการใช้ ตามตำรับมาตรฐานที่กำหนดอย่างถูกต้อง

10402.02.01 225514
10402.02 คำนวณต้นทุนอาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่ 2. ต้นทุนอาหารได้รับการคิดและวิเคราะห์อย่างถูกต้องตามตำรับมาตรฐานที่กำหนด 10402.02.02 225515
10402.02 คำนวณต้นทุนอาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่ 3. อาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่ ได้รับการกำหนดราคาขายอย่างถูกต้อง 10402.02.03 225516
10402.03 ทดสอบการยอมรับตำรับอาหารฮาลาลที่พัฒนาขึ้นใหม่ 1. ตำรับอาหารที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้รับการทดสอบการยอมรับตามขั้นตอนของการทดสอบการยอมรับอย่างถูกต้อง 10402.03.01 225517
10402.03 ทดสอบการยอมรับตำรับอาหารฮาลาลที่พัฒนาขึ้นใหม่ 2. ตำรับอาหารที่พัฒนาขึ้นได้รับการปรับปรุง แก้ไข ให้เป็นตำรับมาตรฐาน 10402.03.02 225518
10402.04 ถ่ายทอดความรู้และทักษะการประกอบอาหารที่พัฒนาใหม่ 1. ขั้นตอนการพัฒนาตำรับอาหารฮาลาลได้รับการกำหนดและจัดทำอย่างถูกต้อง 10402.04.01 225519
10402.04 ถ่ายทอดความรู้และทักษะการประกอบอาหารที่พัฒนาใหม่ 2. ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาอาหารใหม่ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 10402.04.02 225520
10402.04 ถ่ายทอดความรู้และทักษะการประกอบอาหารที่พัฒนาใหม่ 3. ปัญหาในเรื่องความปลอดภัยในอาหาร ได้รับการปรับปรุง แก้ไข อย่างทันท่วงที 10402.04.03 225521

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการชั่ง ตวง วัด และเปรียบเทียบมาตราส่วนในระบบต่างๆ

2. ทักษะในความแม่นยำและความถูกต้องในการประกอบอาหาร

3. ทักษะในการจัดตกแต่ง การนำเสนออาหาร

4. ทักษะความเข้าใจในการจัดการธุรกิจอาหาร

5. ทักษะในการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การชั่ง ตวง วัด และมาตราส่วนในระบบต่างๆ

2. ความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบในการประกอบอาหาร 

3. คุณลักษณะและเอกลักษณ์ของอาหารดั้งเดิมในแต่ละตำรับ

4. การเขียนตำรับอาหารมาตรฐาน

5. โภชนศาสตร์เบื้องต้นของวัตถุดิบ

6. การทดสอบทางประสาทสัมผัส  

7. การจัดตกแต่ง การนำเสนออาหาร

8. การคำนวณต้นทุน

9. ราคาสินค้าข้อมูลราคาวัตถุดิบ

10. การจัดการธุรกิจอาหาร

11. ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

.    1. ใบรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการร้านอาหารรูปแบบต่าง ๆ

    2. Portfolio

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการชั่ง ตวง วัด และมาตราส่วน (ถ้ามี)

2. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบ (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณลักษณะ เอกลักษณ์ของอาหารดั้งเดิม และการเขียนตำรับอาหารมาตรฐาน (ถ้ามี)

4. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทดสอบทางประสาทสัมผัส (ถ้ามี)

5. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดตกแต่ง การนำเสนออาหาร (ถ้ามี)

6. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุน การสำรวจข้อมูลวัตถุดิบ (ถ้ามี)

7. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจอาหาร (ถ้ามี)

8. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร (ถ้ามี)

9. ใบรับรองการฝึกอบรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ประเมินสมรรถนะของ ผู้ประกอบอาหารฮาลาลชั้น 5 – ชั้น 6

2. ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละชั้น โดยการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

3. การผ่านการประเมินสมรรถนะ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นหลักฐานด้านความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการ ทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 (ก) คำแนะนำ 

       การพัฒนาตำรับอาหารฮาลาลใหม่นั้นครอบคลุมถึงการสร้างตำรับอาหารมาตรฐานที่ประกอบด้วยคำแนะนำ ขั้นตอนการประกอบอาหาร มีรายละเอียดของการเตรียม ปรุง และการจัดเสิร์ฟ การจดรายละเอียดบันทึกต่าง ๆ ตามรูปแบบมาตรฐาน รวมทั้งการครอบคลุมไปถึงการประมาณการใช้วัตถุดิบ และเครื่องปรุงตามตำรับมาตรฐานที่กำหนด การคิดต้นทุน และการกำหนดราคาขายอาหาร มีกระบวนการทดสอบการยอมรับตามขั้นตอนที่ถูกต้อง การปรับตำรับที่พัฒนาขึ้นนั้นให้เป็นมาตรฐาน โดยมีสามารถเขียนขั้นตอนการพัฒนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในอาหารเพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาในกรณีที่เกิดปัญหาได้

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ตำรับอาหารมาตรฐาน อาจประกอบด้วย

1.1    รายการอาหารและปริมาณของส่วนผสม

1.2    รายละเอียดขั้นตอนวิธีการเตรียมและการประกอบอาหาร

1.3    คำแนะนำในการใช้ภาชนะที่ใช้ในการปรุงและเสิร์ฟอาหาร

1.4    การกำหนดจำนวนหรือปริมาณเสิร์ฟที่ได้จากตำรับ

1.5    ภาพถ่ายอาหาร 

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการชั่ง-ตวง-วัดอาหาร ประกอบด้วย ช้อนตวง ถ้วยตวง เครื่องชั่ง เทอร์โมมิเตอร์

3. คิดต้นทุนอาหารฮาลาลที่พัฒนาใหม่ต่อหน่วยได้ และกำหนดราคาขายอาหารต่อหน่วยได้ โดยมีกำไรได้ตามที่หน่วยงานกำหนด

4. การพัฒนาตำรับอาหารฮาลาลใหม่ หมายถึง การพัฒนา หรือปรับปรุงตำรับอาหาร โดยมีแนวคิดมาจากความต้องการลูกค้า หรือแนวคิดของผู้ประกอบอาหาร    

5. ทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่ออาหารที่พัฒนาขึ้น ในด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส ความชอบโดยรวม

6. ตำรับอาหารที่พัฒนาขึ้น เป็นตำรับอาหารมาตรฐานที่มีรายละเอียด ได้แก่ รายการและปริมาณของวัตถุดิบและส่วนผสม รายละเอียดขั้นตอนวิธีการเตรียม การประกอบอาหาร การใช้ภาชนะที่ใช้ในการปรุงและเสิร์ฟอาหาร และภาพถ่ายอาหาร 

7. กำหนดจำนวนหรือปริมาณเสิร์ฟที่ได้จากตำรับอาหาร 

8. ขั้นตอนการพัฒนาตำรับอาหารฮาลาล เขียนและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อธิบายการพัฒนาตำรับอาหารเป็นลำดับขั้นตอนตามแบบที่กำหนด

9. รูปแบบการสื่อสารกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อีเมลล์ ไลน์ โทรศัพท์ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์  

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์

 



ยินดีต้อนรับ