หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำกับดูแลครัวอาหารฮาลาล

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-TXVE-1014A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำกับดูแลครัวอาหารฮาลาล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการกำกับดูแลครัวอาหารฮาลาล เพื่อให้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนในการผลิตอาหารฮาลาล มีความถูกต้องตามหลักการฮาลาล-ฮารอม โดยต้องจัดให้มีการอบรมพนักงานและจัดทำคู่มือปฏิบัติงานที่สามารถทวนสอบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
- ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ.2558

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20104.01 ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ฮาลาล-ฮารอม 1. กำหนดเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานในครัวได้ 20104.01.01 225544
20104.01 ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ฮาลาล-ฮารอม 2. ประเมินผลการฝึกอบรมได้ 20104.01.02 225545
20104.02 จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับครัวฮาลาล 1. กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับครัวอาหารฮาลาล 20104.02.01 225546
20104.02 จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับครัวฮาลาล 2. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับครัวอาหารฮาลาล 20104.02.02 225547
20104.02 จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับครัวฮาลาล 3. ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับครัวฮาลาล 20104.02.03 225548
20104.03 ทวนสอบระบบครัวฮาลาล 1. กำหนดตัวชี้วัดของระบบครัวอาหารฮาลาล 20104.03.01 225549
20104.03 ทวนสอบระบบครัวฮาลาล 2. ติดตาม และประเมินผลการทวนสอบระบบครัวอาหารฮาลาล 20104.03.02 225550

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทย และคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นที่ใช้ในงานอาชีพ

-    มีความรู้เกี่ยวกับหลักการฮาลาล-ฮารอมตลอดกระบวนการประกอบอาหารฮาลาล

-    มีความรู้เกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมบุคลากร

-    มีความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาหารฮาลาล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่พนักงาน

2. ทักษะในการประเมินความรู้ของพนักงาน

3. ทักษะในการจัดการประกอบอาหารฮาลาล ประกอบด้วย

-    การจัดการวัตถุดิบและส่วนผสม

-    การจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและส่วนผสม

-    การจัดเก็บวัตถุดิบและส่วนผสม

-    การล้างทำความสะอาดตามหลักฮาลาล-ฮารอม

-    การจัดตกแต่งอาหารฮาลาล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของการประกอบอาหารฮาลาล

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการประเมินผลการฝึกอบรม

3. ความรู้เกี่ยวกับระบบการทวนสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการทำงาน

2. แฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการประกอบอาหารฮาลาล

2. ประวัติการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการฮาลาล-ฮารอม (ถ้ามี)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

    - การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

    - การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน

    - เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้ อย่างน้อย 2 ปี หรือ ประสบการณ์ในการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล อย่างน้อย 5 ปี

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

กำกับดูแลครัวอาหารฮาลาล ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนในครัวอาหารฮาลาลให้เป็นไปตามหลักการฮาลาล-ฮารอม ซึ่งประกอบด้วยพนักงานทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการประกอบอาหารฮาลาล และเพื่อสร้างความมั่นใจในระบบการทำงาน ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลครัวอาหารฮาลาลจะต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน จัดให้มีระบบควบคุมการปฏิบัติงาน และสามารถทวนสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) หลักสูตรฝึกอบรม

2) หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม

1.  ฮาลาล หมายถึง สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

ผลิตภัณฑ์ฮาลาล หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ศาสนาอนุมัติให้ใช้หรือบริโภคได้ รวมถึงสิ่งอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกัน และมีคุณสมบัติครบถ้วน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค การบริการอาหาร เครื่องดื่มและครัวฮาลาล ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ เวชภัณฑ์ เวชสำอาง บรรจุภัณฑ์ โลจิสติกส์ และอื่น ๆ ตามความเห็นชอบของฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

2. ฮารอม หมายถึง สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

ผลิตภัณฑ์ฮารอม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และสิ่งที่ได้จากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้

(1) สุกร หมูป่า และสุนัข

(2) งู และลิง

(3) สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารที่ทีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

(4) นกล่าเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้งและนกอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

(5) สัตว์ทำลายและสัตว์มีพิษ เช่น หนู ตะขาบ แมงป่อง และสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

(6) สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน และนกฮูโป้

(7) สัตว์ที่น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด ไร เหา แมลงวัน หนอน และสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

(8) สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เช่น กบ จระเข้ เต่า และสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

(9) ลาและฬ่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงใช้งาน

(10) สัตว์น้ำที่มีพิษหรือเป็นอันตรายทุกชนิด เว้นแต่พิษหรืออันตรายดังกล่าวได้ถูกกำจัดออกระหว่างกระบวนการผลิตแล้ว

(11) สัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์ประเภทนกที่ไม่ได้เชือดถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

(12) เลือดที่มาจากการเชือดหรือไหลออกจากร่างกาย

(13) อาหารที่ได้จากพืชที่มีพิษ หรือทำให้มึนเมา หรือเป็นอันตราย เว้นแต่พิษหรืออันตรายดังกล่าวได้ถูกกำจัดออกระหว่างกระบวนการผลิตแล้ว

(14) อาหารและเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดความมึนเมา

(15) เครื่องดื่มแร่ธาตุจากธรรมชาติและวัตถุดิบเคมีทุกชนิดที่เป็นพิษและอยู่ในปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตราย

(16) อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบอาหารที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms, GMOs)

(17) วัตถุเจือปนอาหารหรือส่วนผสมอาหารที่มาจากแหล่งข้างต้น (1) – (16)

3) นยิส หมายถึง สิ่งสกปรกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ซึ่งมี ๓ ประเภท ได้แก่ นยิสชนิดเบา (มุค็อฟฟะฟะฮฺ) นยิสชนิดปานกลาง (มุสตะวัสสิเฏาะฮฺ) และ นยิสชนิดหนัก (มุฆ๊อลละเฆาะฮฺ) รวมถึงอาหารที่ปนเปื้อนหรือสัมผัสกับนยิส เว้นแต่จะได้ขจัดนยิสนั้นออกไปแล้ว

4) ประเภทของวัตถุดิบในการผลิตอาหารฮาลาล ได้แก่ วัตถุดิบที่มาจากพืช วัตถุดิบที่มาจากสัตว์และสัตว์น้ำ ต้องไม่อยู่ในประเภทผลิตภัณฑ์ฮารอม

5) ที่มาของวัตถุดิบและส่วนผสม ต้องมาจากแหล่งที่ประจักษ์ชัดว่าไม่มีการปนเปื้อนกับนยิสและผลิตภัณฑ์ฮารอม หรือต้องมีเครื่องหมาย และ/หรือเอกสารรับรองฮาลาลจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้กำกับมากับวัตถุดิบและส่วนผสมนั้น

6) คู่มือปฏิบัติงาน

- คู่มือหลักการปฏิบัติตามหลักการฮาลาล-ฮารอม ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

- คู่มือการประกอบอาหาร

- คู่มือการจัดเก็บวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ

7) การทวนสอบระบบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์  

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์

 



ยินดีต้อนรับ