หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เบิกจ่ายวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-VCNP-1027A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เบิกจ่ายวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล และตรวจสอบการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20603.01 เบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล 1. วัตถุดิบในแต่ละวันถูกวางแผนการใช้โดยคำนวณจากยอดประมาณการลูกค้าที่มาใช้บริการ 20603.01.01 225649
20603.01 เบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล 2. วัตถุดิบอาหารฮาลาล ถูกเบิกจ่ายตามรายการอาหาร เวลา และปริมาณที่ต้องการตามหลักมาก่อนใช้ก่อน (FIFO) 20603.01.02 225650
20603.02 ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล 1. วัตถุดิบอาหารฮาลาลได้รับการตรวจสอบปริมาณก่อนการนำไปใช้ในครัวอาหารฮาลาล 20603.02.01 225651
20603.02 ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล 2. วัตถุดิบอาหารฮาลาลได้รับการตรวจสอบคุณภาพก่อนการนำไปใช้ในครัวอาหารฮาลาล 20603.02.02 225652

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะแสดงถึงการรู้จัก เข้าใจในระบบการเบิกจ่ายวัตถุดิบ

2. ความสามารถในการทำเอกสารการปฏิบัติงานหรือเอกสารการตรวจสอบการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม

2. ความรู้ด้านคุณลักษณะของวัตถุดิบ

3. ความรู้ด้านการทำตำรับอาหารมาตรฐาน

4. ความรู้ด้านการจัดการคลังสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการร้านอาหารรูปแบบต่างๆ

2. Portfolio 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม (ถ้ามี)

2. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณลักษณะของวัตถุดิบ (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำตำรับอาหารมาตรฐาน (ถ้ามี)

4. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยในอาหารเบื้องต้น (ถ้ามี)

5. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทั่วไปในการทำงานและห้องปฏิบัติการณ์ครัว (ถ้ามี)

6. ใบรับรองการฝึกอบรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ประเมินสมรรถนะของ ผู้ประกอบอาหารฮาลาล ชั้น 4 – ชั้น 5

2. ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละชั้น โดยการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

3. การผ่านการประเมินสมรรถนะ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นหลักฐานด้านความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    การเบิกจ่ายวัตถุดิบ ครอบคลุมถึง การวางแผนการใช้วัตถุดิบในแต่ละวัน การเบิกจ่ายวัตถุดิบตามรายการอาหาร และปริมาณที่ต้องการ โดยเน้นการใช้ระบบ FIFO รวมทั้งการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบอาหารฮาลาล ก่อนการนำไปใช้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาลตามใบเบิกได้

2. ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารฮาลาล จำนวนวัตถุดิบที่เบิกตรงกับใบเบิก

3. วัตถุดิบอาหารฮาลาล ต้องพิจารณาถึง หลักการด้านศาสนาและหลักการด้านความปลอดภัยอาหาร

4. หลักการ FIFO (First In First Out) หมายถึง สินค้าใดที่เข้าคลังสินค้าก่อนก็หมุนเวียนออกไปก่อน เพื่อลดความเสื่อมจากการจัดเก็บเป็นเวลานาน  การเข้าก่อนออกก่อน FIFO First in First out เป็นวิธีที่ใช้ในการวัดต้นทุนของสินค้าโดยตั้งอยู่ในสมมติฐานว่าสินค้าหรือวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาใช้ก่อนจะต้องถูกนำออกขายหรือนำมาใช้ก่อนเช่นกัน การเข้าก่อนออกก่อนมีแนวคิดเป็นไปตามการค้าโดยปกติที่บริษัทมักจะต้องขายหรือใช้ของเก่าก่อนเสมอ ดังนั้นด้วยระบบการเข้าก่อนออกก่อน ต้นทุนของวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาก่อนจะใช้เป็นต้นทุนสินค้าที่ผลิตออกมาก่อนด้วยเช่นกัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์  

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์

 



ยินดีต้อนรับ