หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจรับวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-EQOJ-1026A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจรับวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

กลุ่มอาชีพ ภัตตาคาร บาร์ และโรงอาหาร (TSIC : H5520)

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเขียนเกณฑ์หรือข้อกำหนดในการรับวัตถุดิบอาหารฮาลาล ตลอดจนการตรวจรับวัตถุดิบอาหารฮาลาล ตามข้อกำหนด การตรวจสอบการรับวัตถุดิบอาหารฮาลาล และการตรวจสอบสินค้าคงคลัง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20602.01 ตรวจรับวัตถุดิบอาหารฮาลาล ตามรายการสั่งซื้อ 1. วัตถุดิบถูกตรวจสอบปริมาณและคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรายการสั่งซื้อ 20602.01.01 225642
20602.01 ตรวจรับวัตถุดิบอาหารฮาลาล ตามรายการสั่งซื้อ 2. ผลการตรวจรับวัตถุดิบได้รับการรายงานต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง 20602.01.02 225643
20602.02 จัดเก็บวัตถุดิบอาหาร 1. วัตถุดิบอาหารฮาลาลได้รับการจำแนกตามประเภทออกเป็นหมวดหมู่  20602.02.01 225644
20602.02 จัดเก็บวัตถุดิบอาหาร 2. สินค้าและวัตถุดิบถูกจัดเก็บภายในสโตร์ของครัวอาหารฮาลาล ในสภาวะที่เหมาะสมตามประเภทวัตถุดิบได้อย่างเป็นระบบ 20602.02.02 225645
20602.02 จัดเก็บวัตถุดิบอาหาร 3. สินค้า และวัตถุดิบถูกจัดวางได้สะดวกต่อการใช้งานตามหลักเก็บก่อนใช้ก่อน (FIFO) 20602.02.03 225646
20602.03 ตรวจสอบการเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาล 1. วัตถุดิบอาหารฮาลาลได้รับการตรวจสอบปริมาณการเก็บตามเอกสารที่กำหนดไว้ (ก่อนการสั่งซื้อ)  20602.03.01 225647
20602.03 ตรวจสอบการเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาล 2. วัตถุดิบอาหารฮาลาลได้รับการตรวจสอบคุณภาพการเก็บตามเอกสารที่กำหนดไว้ (ก่อนการสั่งซื้อ) 20602.03.02 225648

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะแสดงถึงการเข้าใจในการตรวจรับวัตถุดิบ

2.    ความสามารถในการทำเอกสารการปฏิบัติงานหรือเอกสารรายงานการตรวจรับและจัดเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาล

3.    ทักษะแสดงถึงการรู้จัก เข้าใจในระบบการจัดเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาล 

4.    ทักษะการเลือกวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาล

5.    ความสามารถในการแยกประเภทวัตถุดิบอาหารฮาลาลออกเป็นหมวดหมู่

6.    ความสามารถในการจัดการสถานที่และสภาวะในการเก็บวัตถุดิบอาหารฮาลาลให้เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม

2.    ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของวัตถุดิบ

3.    สภาวะที่เหมาะสมกับการจัดเก็บวัตถุดิบแต่ละประเภท

4.    ความรู้ในการจัดการคลังสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการร้านอาหารรูปแบบต่างๆ

2. Portfolio

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม (ถ้ามี)

2. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณลักษณะของวัตถุดิบ (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับสภาวะที่เหมาะสมกับการจัดเก็บวัตถุดิบแต่ละประเภท

4. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยในอาหารเบื้องต้น (ถ้ามี)

5. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทั่วไปในการทำงานและห้องปฏิบัติการณ์ครัว (ถ้ามี)

6. ใบรับรองการฝึกอบรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

1. หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ประเมินสมรรถนะของ ผู้ประกอบอาหารฮาลาล ชั้น 4 – ชั้น 6

2. ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละชั้น โดยการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

3. การผ่านการประเมินสมรรถนะ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นหลักฐานด้านความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    การตรวจรับวัตถุดิบ ครอบคลุมถึง การตรวจสอบปริมาณและคุณภาพวัตถุดิบในรายการสั่งซื้อ การแยกประเภทและการจัดเก็บวัตถุดิบตามสภาวะที่เหมาะสมกับวัตถุดิบ รวมทั้งตรวจสอบการจัดเก็บวัตถุดิบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เกณฑ์หรือข้อกำหนดในการรับวัตถุดิบ เวลาในการส่งวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบตามคุณภาพ สี กลิ่น ความสด ความสมบูรณ์

2. ตรวจรับวัตถุดิบตามปริมาณที่นำมาส่ง สอดคล้องกับปริมาณวัตถุดิบที่สั่งซื้อ โดยมีการชั่งน้ำหนัก หรือการนับอย่างละเอียด

3. ตรวจสอบการตรวจรับวัตถุดิบตามคุณภาพที่กำหนดไว้ เป็นการตรวจสอบการตรวจรับวัตถุดิบอาหารตามรายละเอียดที่กำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบอาหารตามที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อได้ โดยอาจจะใช้การสุ่มตรวจ 

4. ประเภทของสินค้าคงคลังในครัวอาหารฮาลาล ประกอบด้วย อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูป อุปกรณ์เครื่องมือในการประกอบอาหาร

5. แผนผังแสดงการจัดเก็บวัตถุดิบภายในสโตร์ได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุดิบแต่ละประเภท

6. วิธีการจัดเก็บวัตถุดิบ ต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิ ความชื้น ภาชนะจัดเก็บ เป็นต้น

7. หมวดหมู่ของวัตถุดิบอาหารฮาลาล ประกอบด้วย

- อาหารสด (เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้) 

- อาหารแห้ง (อาหารกระป๋อง เครื่องเทศ เครื่องปรุง)

-  อื่นๆ

8. สโตร์ หมายถึง สถานที่จัดเก็บวัตถุดิบ ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่จัดเก็บอาหารแห้ง ห้องเย็น (แช่เย็น แช่แข็ง) เป็นต้น 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์  

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์

 



ยินดีต้อนรับ