หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ตามหลักการฮาลาล-ฮารอม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-TYFM-1012A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ตามหลักการฮาลาล-ฮารอม

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ ทักษะทางความคิด ความสามารถในการเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในครัวอาหารฮาลาล สามารถ ได้ถูกต้องตามหลักการฮาลาล-ฮารอม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ.2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.01 ล้างทำความสะอาดวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทั้งก่อนและหลังการผลิตอาหาร 1. สภาพที่ไม่ปลอดภัยหรือสิ่งผิดปกติที่หากพบเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในการเตรียมอาหาร จะต้องรายงานผู้เกี่ยวข้องทราบตามลำดับขั้นความรับผิดชอบ 20102.01.01 225528
20102.01 ล้างทำความสะอาดวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทั้งก่อนและหลังการผลิตอาหาร
2. ของสารทำความสะอาด ต้องถูกกำหนดชนิดให้สอดคล้องตามหลักการฮาลาล-
ฮารอม
20102.01.02 225529
20102.01 ล้างทำความสะอาดวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทั้งก่อนและหลังการผลิตอาหาร 3. วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้รับการล้าง ทำความสะอาดถูกต้อง ตามหลักการฮาลาล-ฮารอม 20102.01.03 225530
20102.02 จัดเก็บวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารฮาลาลได้ถูกจัดเก็บตามหลักการปฏิบัติด้านฮาลาล-ฮารอม ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม 20102.02.01 225531
20102.02 จัดเก็บวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ 2. พื้นที่การจัดเก็บวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ได้ถูกกำหนดให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน 20102.02.02 225532

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทย และคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นที่ใช้ในงานอาชีพ

-    มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือเบื้องต้นในกระบวนการประกอบอาหารฮาลาล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่างๆ 

2.    ทักษะในการจัดเก็บอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับประเภทของอุปกรณ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

. หลักการพื้นฐานของการผลิตอาหารฮาลาล

2. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของนยิส

3. ความรู้เกี่ยวกับการล้างทำความสะอาดตามหลักฮาลาล-ฮารอม

4. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สารเคมีในการล้างทำความสะอาด



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการผลิตอาหารฮาลาล

- ประวัติการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการฮาลาล-ฮารอม (ถ้ามี)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

    - การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

    - การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน

    - เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้ อย่างน้อย 2 ปี หรือ ประสบการณ์ในการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล อย่างน้อย 5 ปี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

การจัดการวัตถุดิบเบื้องต้นตามหลักการฮาลาล-ฮารอม ครอบคลุมถึงการจำแนกวัตถุดิบและส่วนผสมระบุแหล่งที่มาและกำหนดวิธีการขนส่งของวัตถุดิบและส่วนผสมในลำดับแรกที่นำวัตถุดิบและส่วนผสมเข้ามาในครัวอาหารฮาลาล โดยต้องจัดการวัตถุดิบและส่วนผสมเหล่านั้นให้เป็นไปตามกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล รวมทั้งตรวจสอบการขนส่งวัตถุดิบและส่วนผสมก่อนเข้าสู่สถานที่ผลิตอาหารฮาลาลและกำหนดพื้นที่ตรวจรับจัดเก็บวัตถุดิบและส่วนผสมให้เป็นไปตามหลักการฮาลาล-ฮารอม

การจำแนกวัตถุดิบ แยกประเภทวัตถุดิบเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนข้ามทั้งในหลักการด้านความปลอดภัยของอาหาร และหลักการฮาลาล-ฮารอม

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1)  วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์

อุปกรณ์ :  ฟองน้ำ ผ้า 

สารทำความสะอาด : สารทำความสะอาด (cleaning agent) หมายถึงสารที่ใช้เพื่อการล้าง เพื่อทำความสะอาดวัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้แปรรูปอาหาร 

2)  สถานที่: 

-  สถานที่เก็บอุปกรณ์

- อ่างสำหรับล้าง

3) หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับฮาลาล-ฮารอม

ฮาลาล หมายถึง สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม 

ผลิตภัณฑ์ฮาลาล หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ศาสนาอนุมัติให้ใช้หรือบริโภคได้ รวมถึงสิ่งอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกัน และมีคุณสมบัติครบถ้วน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค การบริการอาหาร เครื่องดื่มและครัวฮาลาล ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ เวชภัณฑ์ เวชสำอาง บรรจุภัณฑ์ 

โลจิสติกส์ และอื่น ๆ ตามความเห็นชอบของฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ฮารอม หมายถึง สิ่งของหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งได้รับการห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

นยิส หมายถึง สิ่งสกปรกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ซึ่งมี ๓ ประเภท ได้แก่ นยิสชนิดเบา (มุค็อฟฟะฟะฮฺ) นยิสชนิดปานกลาง (มุสตะวัสสิเฏาะฮฺ) และ นยิสชนิดหนัก (มุฆ๊อลละเฆาะฮฺ) รวมถึงอาหารที่ปนเปื้อนหรือสัมผัสกับนยิส เว้นแต่จะได้ขจัดนยิสนั้นออกไปแล้ว

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสัมภาษณ์

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์



 



ยินดีต้อนรับ