หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-JWOX-997A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร 

สาขาผู้ประกอบอาหาร อาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้สำหรับการล้างวัตถุดิบ รวมถึงวิธีการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบแต่ละประเภทสำหรับการประกอบอาหารฮาลาลได้ตามข้อบ่งชี้ที่กำหนด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01 ล้างทำความสะอาด ผักและผลไม้ 1. ผักและผลไม้ ถูกคัดแยกส่วนที่เน่าเสียหรือไม่ต้องการได้อย่างเหมาะสมกับชนิดและประเภทของผักและผลไม้  10101.01.01 225355
10101.01 ล้างทำความสะอาด ผักและผลไม้ 2. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการล้าง ทำความสะอาด ผักและผลไม้ถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและเหมาะสม 10101.01.02 225356
10101.01 ล้างทำความสะอาด ผักและผลไม้ 3. ผักและผลไม้ ถูกล้างได้อย่างสะอาด  ปราศจากสิ่งปนเปื้อนและสารพิษ  10101.01.03 225357
10101.01 ล้างทำความสะอาด ผักและผลไม้ 4. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการล้าง ทำความสะอาด ผักและผลไม้ ทุกประเภท ถูกล้างทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเหมาะสมภายหลังการใช้งาน 10101.01.04 225358
10101.02 ล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องใน 1. เนื้อสัตว์และเครื่องใน ถูกคัดแยกส่วนที่ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของเนื้อสัตว์และเครื่องใน 10101.02.01 225359
10101.02 ล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องใน 2. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องในถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและเหมาะสม  10101.02.02 225360
10101.02 ล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องใน 3. เนื้อสัตว์และเครื่องใน ถูกล้างได้อย่างสะอาด  ปราศจากสิ่งปนเปื้อน 10101.02.03 225361
10101.02 ล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องใน 4. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการล้าง ทำความสะอาด เนื้อสัตว์และเครื่องใน ทุกประเภท ถูกล้างทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเหมาะสมภายหลังการใช้งาน 10101.02.04 225362
10101.03 ล้าง ทำความสะอาด ไข่ 1. ไข่ ทุกประเภท ถูกกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนการล้าง  10101.03.01 225363
10101.03 ล้าง ทำความสะอาด ไข่ 2. ไข่ทุกประเภท ถูกล้างหรือเช็ดทำความสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน 10101.03.02 225364
10101.04 ทำความสะอาด ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ 1. ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ ถูกคัดแยกสิ่งแปลกปลอม ได้อย่างเหมาะสม 10101.04.01 225365
10101.04 ทำความสะอาด ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ 2. ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ ถูกทำความสะอาด ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  10101.04.02 225366

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้อุปกรณ์ในการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

2. คัดแยกส่วนที่เน่าเสียหรือไม่ต้องการของผักและผลไม้ เนื้อสัตว์และเครื่องใน และธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ ได้อย่างเหมาะสม

3. ล้างผักและผลไม้ เนื้อสัตว์และเครื่องใน และไข่ ได้อย่างสะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อน

4. ทำความสะอาด ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศได้อย่างสะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ชนิด ประเภท และคุณลักษณะของวัตถุดิบ

2. ชนิด ประเภทและการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือ

3. วิธีการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบแต่ละประเภท

4. การเตรียมเนื้อสัตว์และเครื่องใน และ ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ ก่อนการล้างและทำความสะอาด

5. สารที่ใช้ล้างทำความสะอาดผักผลไม้ให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และ ควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการร้านอาหารรูปแบบต่างๆ 

2. Portfolio 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับชนิด ประเภท และการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือครัว (ถ้ามี)    

2. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับชนิด และประเภทของวัตถุดิบแต่ละประเภท ในการล้างทำความสะอาดให้เหมาะสม (ถ้ามี)

3. ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการด้านความ ปลอดภัยในอาหาร หลักสุขาภิบาลอาหาร (ถ้ามี)

4. ใบรับรองการฝึกอบรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

1. หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ประเมินสมรรถนะของ ผู้ประกอบอาหารฮาลาลชั้น 1- ชั้น 4

2. ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละชั้น โดยการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

3. การผ่านการประเมินสมรรถนะ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นหลักฐานด้านความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้

4. การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน มีเครื่องมืออุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน

5. การประเมินโดยการสาธิตการปฏิบัติงาน สำหรับผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะในแต่ละชั้นจะมีให้สาธิตการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบที่สอดคล้องกับรายการอาหารที่ใช้ประเมินสมรรถนะ ปรุงอาหารคาว และ ปรุงอาหารหวาน

6. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำอุปกรณ์ของตนเองมาใช้ระหว่างการประเมินได้ตามความเหมาะสม 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ  

    การประเมินการล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ ครบคลุมถึงการคัดแยกส่วนที่เน่าเสียหรือไม่ต้องการ การจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้สำหรับการล้างทำความสะอาดให้ถูกต้องเหมาะสม การล้าง เช็ด ทำความสะอาดให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อนและสารพิษ การล้างทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องเครื่องใช้ ภายหลังการใช้งานได้อย่างเหมาะสม

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเตรียมและการล้าง ทำความสะอาดวัตถุดิบอาหาร

- มีดขนาดต่างๆ ได้แก่ มีดหั่น มีดปอก มีดปาด มีดฟันเลื่อย มีดคว้าน มีดแกะสลัก

- อ่างชนิดต่างๆ ได้แก่ อ่างผสม อ่างสแตนเลส อ่างแก้ว

- ที่ไส สำหรับไสผัก หรือผลไม้ให้เป็นเส้นๆ

- ที่เปิดกระป๋อง 

- ที่ร่อน ได้แก่ ชนิดหยาบ ชนิดละเอียด

- ที่สำหรับพักของให้สะเด็ดน้ำ ได้แก่อ่างอลูมิเนียมที่ก้นอ่างมีรูเล็กๆ หรือไม้ไผ่สานเป็นตะแกรง

- กระดาน และไม้คลึงแป้ง เป็นไม้แผ่นเกลี้ยงสำหรับวางแป้ง ไม้มีรูปทรงกลม

- ไม้พายกวนขนม ไม้พายใช้สำหรับคน ตี หรือผสม

- เครื่องผสมอาหาร แบบมือถือ แบบมีขาตั้ง ชามผสมอาหาร แบบแก้วใส แก้วทึบ โลหะ

- เครื่องบดอาหาร ได้แก่ แบบใบมีดใหญ่แต่ไม่คมสำหรับบดหรือผสมอาหารที่มีลักษณะเหนียว ข้น 

แบบใบมีดเล็กและคม เหมาะสำหรับใช้บดอาหารละเอียดต่างๆ

2. เนื้อสัตว์ และเครื่องใน

- เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์บก ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ

- เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์ปีก ได้แก่ เนื้อเป็ด เนื้อห่าน เนื้อไก่ เนื้อนก

- เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา

- เครื่องในสัตว์ ได้แก่ เครื่องในไก่ เครื่องในวัว 

3. ประเภทของผัก และผลไม้

- ใบ และยอด ได้แก่ ใบตำลึง ใบมะกรูด ใบมะขามอ่อน ใบเล็บครุฑ ใบโหระพา ใบกระเพรา

- ดอกของผัก และดอกไม้ ได้แก่ ดอกแค ดอกสโน ดอกสะเดา ดอกขี้เหล็ก ดอกขจร

- ผักที่เป็นฝัก ได้แก่ สะตอ มะรุม ฝักกระถิน ฝักเพกา ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแปบ

- ผักที่เป็นผล ได้แก่ น้ำเต้า แตงร้าน ฟักเขียว มะเขือชนิดต่างๆ เช่น มะเขือพวง 

มะเขือเปราะ มะเขือยาว

- ผักที่เป็นหัว ราก และหน่อ ได้แก่ ขิง ข่า กระชาย กะทือ ไหลบัว รากบัว ขมิ้นขาว 

ขมิ้นชัน หัวมัน มันฝรั่ง หัวหอม หัวกระเทียม หน่อหวาย

- ผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่ องุ่น เงาะ มะม่วง มะขาม พุทรา กล้วย กล้วยดิบ กระท้อน ขนุน

5. ไข่ต่างๆ ได้แก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นก 

6. ธัญพืช แป้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และเครื่องเทศ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเหนียว พริกไทย ใบกระวาน อบเชย กานพลู ลูกจันทน์ ลูกผักชี ยี่หร่า โป๊ยกั๊ก 

7. หลักความปลอดภัยอาหาร

- Good Manufacturing Practice เรียกย่อว่า GMP คือการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติในการผลิตอาหาร เพื่อให้ เกิดความปลอดภัย และมั่นใจต่อการบริโภค หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene)

- ความปลอดภัยอาหาร (food safety) หมายถึง การจัดการให้อาหาร และสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์มีความปลอดภัย โดยไม่มีลักษณะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากอันตรายที่มาจากอาหาร ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางกายภาพ

- อาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean Food Good Taste หมายถึง ร้านอาหารหรือแผงลอยที่ผ่านข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร และผ่านการตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารด้วย 

SI-2

- การสุขาภิบาลอาหาร  หมายถึง การจัดการและควบคุมเพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค พยาธิ และสารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย  สุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรือกล่าวอย่างย่อคือ "การทำให้อาหารสะอาดและปลอดภัยรับประทานแล้วไม่ทำให้เกิดโรค"

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน  

18.2 การสัมภาษณ์

18.3 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.4 เอกสารหลักฐานการเทียบโอนประสบการณ์



 



ยินดีต้อนรับ