หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-PTCV-990A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องตามประเภทของวัตถุดิบโดยคำนึงถึงหลักสุขาภิบาล และความปลอดภัยในอาหารที่มีอยู่ตามฤดูกาลหน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ และเทคนิค ภายใต้การควบคุมดูแลช่วยเหลือจากผู้ที่มีตำแหน่งงานที่สูงกว่า 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร2. พระราชบัญญัติอาหาร 25223. กฎหมายอาหารตามมาตรฐานสากล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 1. กำหนดรายการการจัดซื้อวัตถุดิบ 20121.01 225293
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 2.  เลือกแหล่งวัตถุดิบได้ 20121.02 225294
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 3. ประมาณการใช้วัตถุดิบได้ตามที่กำหนดไว้ในตำรับอาหารมาตรฐาน 20121.03 225295
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 4. กำหนดขั้นตอนการสั่งซื้อวัตถุดิบอาหารได้ 20121.04 225296
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 5.  กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบได้เหมาะสมกับอาหารที่ผลิต 20121.05 225297
20121 วางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ 6.  เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น 20121.06 225298
20122 ควบคุมการจัดซื้อวัตถุดิบ 1.  กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบได้เหมาะสมกับอาหารที่ผลิต 20122.01 225299
20122 ควบคุมการจัดซื้อวัตถุดิบ 2.  เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น 20122.02 225300
20122 ควบคุมการจัดซื้อวัตถุดิบ 3.  ควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบ 20122.03 225301
20123 ตรวจสอบวัตถุดิบตามมาตรฐานที่กำหนด 1. จำแนกคุณภาพของวัตถุดิบอาหารได้ 20123.01 225302
20123 ตรวจสอบวัตถุดิบตามมาตรฐานที่กำหนด 2. บอกคุณลักษณะของวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้ 20123.02 225303
20123 ตรวจสอบวัตถุดิบตามมาตรฐานที่กำหนด 3.  ตรวจรับวัตถุดิบตามปริมาณ คุณภาพตามที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ 20123.03 225304

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. ทักษะการดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

3. ทักษะการนับเลข  เพื่อประมาณการในเรื่องน้ำหนัก  ขนาด จำนวน

4. ทักษะการแยกประเภทของวัตถุดิบ

5. ทักษะการกำจัดของเสียที่เหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้คุณสมบัติของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

2. รู้วิธีการแยกประเภทของวัตถุดิบ

3. รู้วิธีการคัดแยกขยะของเสีย

4. รู้หลักการประกอบอาหาร

5. รู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารแสดงการจัดรายการอาหาร

2. เอกสารรายงานการจัดซื้อวัตถุดิบอาหาร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักการจัดอาหารในโอกาสต่างๆ

2. ตำรับอาหาร

3. หลักการตลาด

4. หลักการจัดทำรายการอาหาร

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

คณะกรรมการประเมินสัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับการประเมินได้แสดงผลงาน ที่แสดงว่ามีความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน

2. ตรวจสอบผลงานจริง

3. แฟ้มสะสมผลงาน หลักฐานเอกสารต่าง ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบ หมายถึง งบประมาณทุกชนิดที่เกี่ยวข้องได้แก่ ค่าจ้างในการจัดซื้อจัดส่งค่าพาหนะ ค่าภาษีและค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

- กำหนดรายการการจัดซื้อวัตถุดิบ

- เลือกแหล่งวัตถุดิบได้

- ประมาณการใช้วัตถุดิบได้ตามที่กำหนดไว้ในตำรับอาหารมาตรฐาน

- กำหนดขั้นตอนการสั่งซื้อวัตถุดิบอาหารได้

- กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบได้เหมาะสมกับอาหารที่ผลิต

- เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น

- กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบได้เหมาะสมกับอาหารที่ผลิต

- เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น

- ควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบ

- จำแนกคุณภาพของวัตถุดิบอาหารได้

- บอกคุณลักษณะของวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้

- ตรวจรับวัตถุดิบตามปริมาณ คุณภาพตามที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ

(ก) คำแนะนำ

คณะกรรมการประเมินควรสัมภาษณ์เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รับการประเมินได้แสดงผลงานที่แสดงถึง ความรู้  ทักษะ  เจตคติในงานประมาณการจัดซื้อวัตถุดิบที่ใช้ตามรายการอาหารที่ออกแบบ

- หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ประเมินใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ประเมินต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงานในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าและนำไปแก้ไข

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงรูปแบบของธุรกิจ  ขนาดของธุรกิจ  เอกลักษณ์ของรายการอาหาร ร้านอาหาร  เครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุดิบในการประกอบอาหาร และระยะเวลาในการสอบ

- กำหนดรายการการจัดซื้อวัตถุดิบ เขียนรายการแยกประเภทอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส ปริมาณที่จัดซื้อให้ชัดเจน เช่นเนื้อหมู 5 กิโลกรัม

- เลือกแหล่งวัตถุดิบได้ สามารถเปรียบราคาขายของตลาดที่จัดซื้อได้

- ประมาณการใช้วัตถุดิบได้ตามที่กำหนดไว้ในตำรับอาหารมาตรฐาน

- กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบได้เหมาะสมกับอาหารที่ผลิต เช่น ขนาดของวัตถุดิบต้องมีความสม่ำเสมอ มีขนาดและน้ำหนักที่เท่ากัน

- ควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบ คือการจัดซื้อวัตถุดิบตามปริมาณที่ต้องการโดยอยู่ภายในกรอบงบประมาณที่กำหด

- บอกคุณลักษณะของวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้ เช่น การเลือกซื้อปลาสด ได้แก่ ตาใส เหงือกแดง เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็น

- ตรวจรับวัตถุดิบตามปริมาณ คุณภาพตามที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ สามารถเช็คปริมาณของตามใบสั่งซื้อ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสอบถามปากเปล่า / การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน

2.  ตรวจสอบผลงานจริง   แฟ้มสะสมผลงาน  (Portfolio)  หลักฐานเอกสารต่าง ๆ



 



ยินดีต้อนรับ